ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อย.อนุญาตให้คลินิกเวชกรรม จัดหา-กระจาย ยารักษาโควิด-19 ได้แล้ว

อย.อนุญาตให้คลินิกเวชกรรม จัดหา-กระจาย ยารักษาโควิด-19 ได้แล้ว HealthServ.net
อย.อนุญาตให้คลินิกเวชกรรม จัดหา-กระจาย ยารักษาโควิด-19 ได้แล้ว ThumbMobile HealthServ.net

ยารักษาโควิด กลุ่มยาต้านไวรัส ปัจจุบันได้มีการขึ้นทะเบียนกับ อย. โดยบริษัทเอกชน ได้แก่
ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ยาเรมเดซีเวียร์ (Remdesivir) ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ผู้นำเข้าสามารถจำหน่ายยานี้ ให้กับ โรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้ง คลินิกเวชกรรม ที่อย.ได้อนุญาตเพิ่มเติมครั้งนี้ มีเงื่อนไขว่า จะต้องจ่ายยาโดยแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เท่านั้น


20 กรกฎาคม 2565 นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกประกาศเพิ่มเติม จากเดิมที่ผู้ขึ้นทะเบียนสามารถจำหน่ายยาให้กับโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนได้เท่านั้น  ให้สามารถกระจายยาโมลนูพิราเวียร์และยาต้านไวรัสอื่น ๆ ไปในระดับคลินิกเวชกรรมตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล 2541 ได้

แต่ยังจำกัดว่า จะต้องจ่ายยาโดยแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เท่านั้น ตามแนวทางการใช้ยาของกระทรวงสาธารณสุข และใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล

ทั้งนี้ คลินิกเวชกรรมสามารถจัดหายาได้เองจากบริษัทเอกชนที่นำเข้าและขึ้นทะเบียนกับ อย. แล้ว
 
 
นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวเพิ่มเติมว่า การรักษาโรคโควิด-19 มีการใช้ยาที่เกี่ยวข้องหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งปัจจุบันได้มีการขึ้นทะเบียนกับ อย. จำนวนหลายทะเบียน โดยเกือบทั้งหมดเป็นบริษัทเอกชน ได้แก่
1. ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) 3 ทะเบียน
2. ยาเรมเดซีเวียร์ (Remdesivir) 5 ทะเบียน
3. ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) 1 ทะเบียน
4. ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) 2 ทะเบียน

และมียาที่นำเข้าโดยองค์การเภสัชกรรม เพื่อสนับสนุนภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข


ทั้งนี้ บริษัทเอกชนทั้งหมดที่มาขึ้นทะเบียนและเป็นผู้นำเข้ายา จะสามารถจำหน่ายยาให้กับโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนได้ เช่น ยาเรมเดซีเวียร์ที่ขึ้นทะเบียนโดยบริษัทเอกชน 5 บริษัท ได้มีการจำหน่ายยาให้กับโรงพยาบาลเอกชนสำหรับผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยไม่มีการปิดกั้นหรือผูกขาดการนำเข้ายาแต่อย่างใด

ล่าสุด ทาง อย. ยังได้มีประกาศเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถจำหน่ายยาไปยังคลินิกเวชกรรมได้อีกด้วยเป็นการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงการรักษาและการรับยาเพิ่มเติมของประชาชน

 

ปลัดสธ.สั่งการ

 
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการเข้าถึงยารักษาโควิด 19 ว่า ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสทุกราย โดยกรณีมีอาการเล็กน้อย สามารถใช้ยารักษาตามอาการ หรือใช้ฟ้าทะลายโจรได้ ส่วนกรณีมีอาการที่ต้องได้รับยาต้านไวรัส ทั้งยาฟาวิพิราเวียร์ โมลนูพิราเวียร์ เรมเดซิเวียร์ แพกซ์โลวิด รวมถึงแอนติบอดี LAAB ที่จะเข้ามาในสัปดาห์หน้า จะขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ตามแนวทางและข้อบ่งชี้ของกรมการแพทย์ ซึ่งยาเหล่านี้ต้องสั่งใช้โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเท่านั้น การหาซื้อยารับประทานเองอาจได้รับยาปลอมและเป็นอันตรายได้
 
         ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าหมายให้โรคโควิด 19 เป็นโรคประจำถิ่นที่ผู้ติดเชื้อสามารถดูแลตนเองได้ ซึ่งกรณียาโมลนูพิราเวียร์ เป็นยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้ผู้ป่วยนำกลับไปรับประทานที่บ้านได้ โดยโรงพยาบาลเอกชนได้รับการสนับสนุนยาโมลนูพิราเวียร์จากกระทรวงสาธารณสุขสำหรับดูแลผู้ป่วยโควิด 19 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถจัดซื้อยาโมลนูพิราเวียร์มาให้บริการผู้ป่วยโควิด 19 เองเพิ่มเติมได้

         ดังนั้น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาโมลนูพิราเวีย์มากขึ้น ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคโควิด 19 (EOC) จึงเตรียมการให้คลินิกเอกชนสามารถจัดซื้อยาโมลนูพิราเวียร์มาใช้ดูแลผู้ป่วยโควิดได้ด้วยเช่นกัน
 
         “ที่ประชุมได้มอบหมายให้ นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพจัดทำแผนดำเนินการและกรอบระยะเวลาในเรื่องนี้ของโรงพยาบาลและคลินิกเอกชน โดยให้องค์การเภสัชกรรมร่วมจัดหายาเพิ่มเติม ซึ่งในอนาคตอาจขยายให้ร้านขายยาสามารถจ่ายยาโมลนูพิราเวียร์ได้ด้วย แต่ยังต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกรมการแพทย์ คือ เป็นผู้ป่วยอาการสีเหลืองขึ้นไป สำหรับยาโมลนูพิราเวียร์ขณะนี้มีบริษัทที่ขึ้นทะเบียนกับ อย.แล้ว 3 บริษัท” นพ.เกียรติภูมิกล่าว


 

แรงกดดันจากหลายฝ่าย


ก่อนหน้านี้ มีการกล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนยารักษาโควิด ทั้งยาโมลนูพิราเวียร์และแพกซ์โลวิด ขณะที่สถานการณ์การระบาดและจำนวนผู้ติดเชื้อเร่งตัวสูงขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม แต่เมื่อประชาชนติดต่อหน่วยงานรัฐที่ดูแลการรักษาและจ่าย กลับไม่ได้รับการช่วยเหลือ ไม่ได้รับยา อ้างว่ายาขาดตลาดและเป็นปัญหาที่พบได้ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ  ชมรมแพทย์ชนบท ได้ออกมาแสดงความเห็น ให้ทางการ "เลิกผูกขาดการผลิตและจัดหายาฟาวิเพื่อแก้ปัญหายาโควิดขาดตลาด

ขณะที่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้สะท้อนภาพปัญหาการขาดแคลนและทางออกไว้ในทิศทางเดียวกัน โดยระบุว่า "ตรงนี้เป็นปัญหาสำคัญ เพราะว่าในระบบที่เรามีอยู่ตอนนี้ มันมีกฎเกณฑ์ และระเบียบค่อนข้างเยอะ ขณะเดียวกัน เราพยายามจะทำให้ประเทศมองดูเหมือนโควิดเป็นโรคธรรมดา เพื่อให้เศรษฐกิจเดินไปได้ ที่เราเสนอไปหลายครั้งแล้ว คือ จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่การทำให้การเข้าถึงยาไปซื้อที่ร้านขายยาเลย ในเมื่อเราไปโรงพยาบาล คนที่ติดเชื้อ หรือสงสัยว่าติดเชื้อ เดินทางไม่ว่าจะแท็กซี่ หรือรถโดยสารประจำทาง ก็มีสิทธิที่จะแพร่เชื้อให้คนอื่น ในโรงพยาบาลเอง ก็ต้องไปนั่งรอ ก็มีโอกาสแพร่เชื้อได้ ขั้นตอนต่อไปต้องมีการประเมินโดยคุณหมอ หมอเองก็มีอยู่จำนวนจำกัด ก็ต้องใช้เวลารวมทั้งหมดไหนจะนั่งรอ ตรวจประเมิน พอประเมินเสร็จเรียบร้อย ก็มีกฎเกณฑ์ค่อนข้างเข้มงวด ถ้าไม่ใช่ 608 ก็ไม่ให้ ได้แต่พาราฯ หรือฟ้าทะลายโจน ในเมื่อเรายังมีปัญหาอยู่ โรคยังไม่สงบ แต่เราอยากเปิดประเทศ ตรงนี้เองต้องทำให้เข้าถึงยาได้เร็วที่สุด และยาก็มีราคาถูก ซึ่งสามารถที่จะทำกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้หลวมขึ้นมาหน่อย คือ การที่เภสัชกรสามารถจ่ายยาได้เป็นขั้นตอน เราอาจจะใช้ยาเยอะขึ้น แต่ความสำคัญคือเราไม่ต้องให้คนไข้ไปแออัดที่โรงพยาบาล" - อ่านทั้งหมดได้ที่นี่
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด