ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อย.ลงดาษโฆษณาถั่งเช่าโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง

อย.ลงดาษโฆษณาถั่งเช่าโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง HealthServ.net

อย.ลงดาษโฆษณาถั่งเช่าโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง

อย.ลงดาษโฆษณาถั่งเช่าโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ThumbMobile HealthServ.net

อย. ลงดาบโฆษณาผลิตภัณฑ์ถั่งเช่าโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ดำเนินคดีผู้ผลิต ผู้โฆษณา ทั้งดารา-พรีเซ็นเตอร์ ผู้ทำคอนเทนต์ และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด มีโทษทั้งจำและปรับ เตือนประชาชนอย่าได้หลงเชื่อ อาจเสียโอกาสในการรักษาโรค ย้ำ ผลิตภัณฑ์ถั่งเช่าที่ อย. อนุญาต มีสรรพคุณเพียงบำรุงร่างกาย ไม่สามารถรักษาโรคได้แต่อย่างใด

เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) บูรณาการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์ถั่งเช่ารายหนึ่งที่มีดารา นักร้อง เป็นพรีเซนเตอร์ อวดอ้างสรรพคุณรักษาโรคทางสื่อต่างๆ ทำให้ประชาชนเสียโอกาสในการรักษาโรคอย่างถูกต้องนั้น ในส่วนของ อย. ได้ตรวจสอบสื่อโฆษณาดังกล่าว พบการโฆษณาที่ฝ่าฝืน พรบ. อาหาร พ.ศ. 2522 ดังนี้
 
  1. การโฆษณาผลิตภัณฑ์ถั่งเช่า ผสม มัลติวิตามิน บี (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) และ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารสกัดถั่งเช่า ผสม ยูซี-ทู (เครื่องหมายการค้า ลีฟเนส) ทางเว็บไซต์บริษัทผู้ผลิต ด้วยข้อความ เช่น “...สรรพคุณของถั่งเช่าต่อร่างกาย ลดระดับน้ำตาลในเลือด เสริมสมรรถภาพทางเพศ...ฟื้นฟูระบบการทำงานของไต...ไตวายเรื้อรัง...รักษามะเร็งปอด... ภูมิแพ้...ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งไม่ให้แพร่กระจาย กำจัดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส...”
  2. การโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารสกัดถั่งเช่า ผสม ยูซี-ทู (เครื่องหมายการค้า ลีฟเนส) ทางช่องโทรทัศน์ที่ กสทช. ตรวจพบ ออกอากาศในลักษณะรายการสัมภาษณ์ มีแขกรับเชิญที่เป็นพรีเซ็นเตอร์มาเล่าประสบการณ์การใช้ผลิตภัณฑ์ว่า ทำให้สดชื่น หลับเต็มอิ่ม หายจากอาการปวดข้อเข่า กลับมานั่งพับเพียบได้ แนะนำให้ผู้สูงอายุที่มีโรคข้อเข่ารับประทาน และสัมภาษณ์ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีโรคประจำตัว เช่น นอนหลับไม่สนิท ปวดตามข้อ เมื่อรับประทานผลิตภัณฑ์แล้วอาการที่เป็นอยู่ดีขึ้น”
 
โดยโฆษณาทั้ง 2 ช่องทาง เป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต และโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณอันเป็นเท็จ หลอกลวงให้หลงเชื่อโดยไม่สมควร มีบทลงโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่ง อย. ได้สั่งระงับการโฆษณา พร้อมดำเนินมาตรการทางปกครองกับบริษัทผู้ผลิตอาหาร ผู้ทำการโฆษณารวมถึงพรีเซนเตอร์ และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด และมีหนังสือถึงตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายแล้ว ในส่วนของ กสทช. อย. ได้รับการประสานจาก พลโท ดร. พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการ กสทช. ว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มีมติลงโทษปรับทางปกครองต่อสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม 2 ช่อง กรณีโฆษณาผลิตภัณฑ์ถั่งเช่าโอ้อวด หลอกลวง เกินจริง รายละ 5 แสนบาท และตรวจสอบพบสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมอีก 1 ช่อง ที่จะเข้าสู่การพิจารณาลงโทษปรับ 5 แสนบาท เช่นกัน ทั้งนี้สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมกว่า 10 ราย และสถานีวิทยุอีกกว่า 150 ราย ที่ได้รับคำสั่งเตือนให้ระงับการโฆษณาไปแล้ว กสทช. จะเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด หากตรวจพบว่าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งก็จะถูกลงโทษปรับอีก แม้จะเปลี่ยนไปโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น หากเข้าลักษณะโอ้อวด หลอกลวง เกินจริง ก็ถือได้ว่าไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง มีสิทธิ์ถูกพิจารณาลงโทษปรับได้ และขอเตือนไปยังผู้ให้บริการโครงข่ายกล่องดาวเทียมต่าง ๆ ด้วยว่า หากช่องรายการที่อยู่ในโครงข่ายนั้นมีความผิด ทางโครงข่ายจะต้องรับโทษไปด้วย ซึ่งมีตั้งแต่การเตือนและโทษปรับแบบเดียวกับช่องรายการ เพื่อมิให้เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อสังคมต่อไป
 
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า ผลิตภัณฑ์ถั่งเช่าที่ อย. อนุญาตมี 2 กลุ่ม ได้แก่ ยาแผนโบราณ และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีถั่งเช่าเป็นส่วนประกอบ สรรพคุณเพื่อบำรุงร่างกายเท่านั้น ดังนั้น การโฆษณาในลักษณะข้างต้นขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ผู้ที่รับประทานผลิตภัณฑ์ถั่งเช่าอย่าคาดหวังว่าจะช่วยรักษาโรคได้ นอกจากจะเสียเงินโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังอาจเสียโอกาสในการรักษาโรคอย่างถูกวิธีอีกด้วย หากพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์โอ้อวดเกินจริง หรือไม่ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค สามารถแจ้งร้องเรียนมาได้ที่สายด่วน อย. 1556
 
สำนักงานอาหารและยา
29 มกราคม 2564
อย.ลงดาษโฆษณาถั่งเช่าโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด