ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า (cholera) โรคระบาดรวดเร็วรุนแรง

อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า (cholera) โรคระบาดรวดเร็วรุนแรง HealthServ.net

สาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็วและรุนแรง

อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า (cholera) โรคระบาดรวดเร็วรุนแรง ThumbMobile HealthServ.net
อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า (cholera) โรคระบาดรวดเร็วรุนแรง HealthServ
อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า (cholera) เป็นโรคติดต่อรวดเร็ว รุนแรง และก่อการระบาดได้อย่างรวดเร็ว  มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย (Vibrio cholerae) เข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทาน กินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรค หรือพิษของเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่ เช่น อาหาร ที่มีแมลงวันตอม อาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารกระป๋องที่เสียแล้ว  เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว เชื้อจะเข้าไปอยู่บริเวณลำไส้ และจะสร้างพิษ ออกมาทำปฏิกิริยากับเยื่อบุผนังลำไส้เล็ก ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง อุจจาระเป็นน้ำสีซาวข้าว ร่างกายเสียน้ำและ เกลือแร่อย่างรวดเร็วและรุนแรง ถ้าไม่ได้รับ การ รักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้ เสียชีวิตได้
 
เชื้อที่ทำให้เป็นอหิวาตกโรค เกิดจากการติดเชื้อ Vibrio cholerae serogroup O (โอ)1 ซึ่งมี 2 biotypes คือ classical และ ElTor แต่ละ biotype แบ่งออก ได้เป็น 3 serotypes คือ Inaba, Ogawa และ  Hikojima เชื้อเหล่านี้จะสร้าง สารพิษเรียกว่า Cholera toxin ทำให้เกิดอาการป่วย คล้ายกัน
 
  •  ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ Vibrio cholerae O group 1 (ไบโอทัยป์ eltor หรือ classical)
  •  สายพันธุ์ Vibrio cholera non O group 1 จะทำให้เกิดอาการเหมือนโรคอหิวาต์ระบาด ได้อย่างจำกัด บางครั้งอาจจะมีไข้ และอุจจาระมีมูกปนเลือด แต่ไม่เคยเกิดการระบาดใหญ่
ระยะฟักตัว
ผู้ที่ได้รับเชื้อ จะเกิดอาการได้ตั้งแต่ 24 ชั่วโมง ถึง 5 วัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะเกิดอาการ ภายใน 1 - 2 วัน

โรคนี้พบเป็นโรคประจำถิ่นที่เกิดระบาดขึ้นเป็นครั้งคราวในอัฟริกา เอเชีย ยุโรปตะวันออกและอินเดียเป็นโรคนำเข้าของประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตก การระบาดไม่ค่อยเกี่ยวพันกับการเดินทางทางอากาศ

อาการเมื่อเป็นอหิวาตกโรค 

อาการไม่รุนแรง

พวกนี้มักหายภายใน 1 วัน หรืออย่างช้า 5 วัน มีอาการถ่ายอุจจาระ เหลวเป็นน้ำวันละหลายครั้ง แต่จำนวนอุจจาระ ไม่เกินวันละ 1 ลิตร ในผู้ใหญ่อาจมีปวดท้องหรือ คลื่นไส้อาเจียนได้

อาการรุนแรง

อาการระยะแรก มีท้องเดิน มีเนื้ออุจจาระมาก ต่อมามีลักษณะเป็นน้ำซาวข้าว เพราะว่ามีมูกมาก มีกลิ่นเหม็นคาว ถ่ายอุจจาระได้โดยไม่มีอาการปวดท้อง บางครั้งไหลพุ่งออกมา โดยไม่รู้สึกตัว มีอาเจียนโดยไม่คลื่นไส้ อุจจาระออกมากถึง 1 ลิตร ต่อชั่วโมง และจะหยุดเองใน 1 - 6 วัน ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ชดเชยอย่างเพียงพอ แต่ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ทดแทนไม่ทันกับที่เสียไป จะมีอาการขาดน้ำ อย่างมาก ลุกนั่งไม่ไหว ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีเลย อาจมีอาการเป็นลม หน้ามืด จนถึงช็อค ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้      



ข้อควรปฏิบัติเมื่อท้องเสีย

1. งดอาหารที่มีรสจัดหรือเผ็ดร้อน หรือ ของหมักดอง
2. ดื่มน้ำชาแก่แทนน้ำ บางรายต้องงดอาหารชั่วคราว เพื่อลดการระคายเคืองในลำไส้
3. ดื่มน้ำเกลือผง สลับกับน้ำต้มสุก ถ้าเป็นเด็กเล็กควรปรึกษาแพทย์
4. ถ้าท้องเสียอย่างรุนแรง ต้องรีบนำส่งแพทย์ด่วน


 
การป้องกัน

1.รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ และดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก ภาชนะที่ใส่อาหารควรล้างสะอาด ทุกครั้งก่อนใช้ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง สุก ๆ ดิบ ๆ อาหารที่ปรุงทิ้งไว้นาน ๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม

2.ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนกินอาหาร หรือก่อนปรุงอาหาร และหลังขับถ่าย

3.ไม่เทอุจจาระ ปัสสาวะและสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลอง หรือทิ้งเรื่ยราด ต้องถ่ายลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ และกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยการเผาหรือฝังดิน เพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อโรค

4.ระวังไม่ให้น้ำเข้าปาก เมื่อลงเล่นหรืออาบน้ำในลำคลอง

5.หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นอหิวาตกโรค

6.สำหรับผู้ที่สัมผัสโรคนี้ ควรรับประทานยาที่แพทย์ให้จนครบ


วัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค

ปัจจุบัน มีวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค เป็นวัคซีนชนิดกิน ที่ต้องกินอย่างน้อย 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 1 สัปดาห์ และภูมิคุ้ม กันจะเกิดขึ้นพอเพียงประมาณ 1 สัปดาห์หลังได้วัคซีนครบ และต้องได้รับวัคซีนกระตุ้นทุก 6 เดือน-2 ปี ขึ้นกับอายุ ซึ่งองค์การอนามัยโลก แนะนำการได้รับวัคซีน เฉพาะในประเทศที่มีการระบาดของโรคเป็นประจำ เฉพาะในคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง คือ เด็ก และผู้ป่วยโรคเอดส์ ส่วนสหรัฐอเมริกา แนะนำวัคซีน เฉพาะในผู้จะไปท่องเที่ยวในประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้เป็นประจำ ในประเทศไทย การใช้วัคซีนตัวนี้ ขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์ ดังนั้น เมื่อผู้อ่านสนใจ ควรปรึกษาแพทย์
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด