ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

นอนไม่หลับ (Insomnia) รักษายังไง

อาการนอนไม่หลับแบ่งง่ายๆ ออกเป็นชนิดหลับยาก (Sleep onset insomnia), ตื่นบ่อย (Sleep Maintenance insomnia) และ อาการง่วงนอนแม้จะนอนหลับเพียงพอ (Nonrestorative Sleep)

 
นอกจากนี้ระยะเวลาของอาการนอนไม่หลับ ก็มีความสำคัญต่อการประเมินหาสาเหตุและการรักษา เช่น
 
1. อาการนอนไม่หลับชั่วคราว (Transient insomnia) มักพบในช่วงเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวัน หรือสิ่งแวดล้อม  หรือ Jet lag เป็นต้น
 
2. อาการนอนไม่หลับระยะสั้น (Short-term insomnia) มักเป็นแค่ 2-3 วัน จนถึง 3 สัปดาห์  อาจพบได้ในภาวะเครียด เช่น ผู้ป่วยหลังผ่าตัด เป็นต้น
 
3. อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง เป็นเดือน หรือเป็นปี (longterm or chronic insomnia)
 
อาจเป็นผลจากการใช้ยา ,การเจ็บป่วยเรื้อรังไม่ว่าทางกายหรือทางจิตใจ หรือเป็นแบบไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งพบได้หลายสาเหตุ เช่น
 
  • จากสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ ในห้องนอน แสงสว่าง, เสียงที่อาจไม่เหมาะสม
  • การนอนกลางวัน
  • อาหารมื้อหนักก่อนนอน
  • การดื่มกาแฟ
  • ยาหรือสารที่กระตุ้นระบบประสาท
  • อารมย์และความเครียดทางจิตใจ
 


การรักษา
 
  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกสุขลักษณะ
  • การออกกำลังกายที่เหมาะสม และสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลกระตุ้นระบบประสาทเหล่านี้ จะทำให้อาการนอนไม่หลับของคุณดีขึ้น
  • สำหรับการใช้ยานอนหลับ ควรให้อยู่ดุลยพินิจและคำแนะนำของแพทย์
 
 
 
ข้อมูลโดย thaiclinic.com 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด