ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อาการแบบไหน ตรวจโควิดฟรี - กรุงเทพธุรกิจ

ใครสามารถไปตรวจโควิดฟรี ได้บ้าง แบบไหนจะได้ตรวจโควิด-19 ฟรี

จากกรณี "โควิด-19" กลับมาระบาดระลอกใหม่อีกครั้ง โดยมีศูนย์กลางการแพร่ระบาดเชื่อมโยงสถานบันเทิงทองหล่อ-เอกมัย หลายแห่ง ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อเฉพาะในกรุงเทพฯ พุ่งสูงถึง 216 ราย (ณ วันที่ 7 เม.ย.64) ทำเอาหลายคนหวั่นใจเพราะเพิ่งไปในพื้นที่เสี่ยงมา แบบนี้จะไป "ตรวจโควิดฟรี" ที่ไหนได้บ้างนะ?

 
เรื่องนี้ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์จะพาไปหาคำตอบด้วยกัน เพราะการจะ "ตรวจโควิดฟรี" นั้น ต้องพิจารณาจากเกณฑ์หลายๆ อย่างประกอบกัน ส่วนจะมีอะไรบ้าง? มาเช็คลิสต์กันเลย
 

1. เช็ค 4 เกณฑ์ก่อนไป "ตรวจโควิดฟรี"

เมื่อช่วงต้นปี 2564 ที่ผ่านมา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นนี้เอาไว้ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้จัดเตรียมมาตรการสนับสนุนต่างๆ เพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาด ซึ่งคนไทยทุกคนจะได้รับตรวจการคัดกรองโควิด-19 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (ตรวจฟรี!!) แต่ต้องเข้าข่ายอยู่ในกลุ่มเสี่ยงตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
  1.  มีประวัติเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาด (สถานบันเทิงทองหล่อ เอกมัย รัชดา จตุจักร)
  2. มีประวัติเคยติดต่อสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ 
  3. เคยติดต่อสัมผัสกับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง
  4. มีอาการไม่สบายที่เข้าข่าย คือ ไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจหอบเหนื่อย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส

2. นอกจากอาการป่วย ต้องมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ด้วย

โดยเกณฑ์การตรวจคัดกรองโควิด-19 เป็นไปตามหลักเกณฑ์ผู้สงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค หรือ PUI (Patient Under Investigation) ของกรมควบคุมโรค คือ ผู้สงสัยติดเชื้อที่มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ประวัติมีไข้ 37.5 องศาฯ ขึ้นไป ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หายใจลำบาก ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่
  • เดินทางไปยัง มาจาก หรืออยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงที่มี่รายงาน
  • สัมผัสกับผู้ป่วยต้องสงสัยหรือยืนยันโรคโควิด-19 
  • ไปตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ขนส่งสาธารณะ ที่มีผู้ป่วยสงสัยหรือยืนยันโรคโควิด-19 ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา
  • เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานกักกันโรค หรือทำงานสัมผัสผู้ติดเชื้อ
หากมีอาการเข้าข่ายตามหลักเกณฑ์นี้ รวมถึงกรณีที่ท่านสงสัยหรือไม่แน่ใจ สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองโควิด-19 ได้ที่โรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน ไม่เสียค่าใช้จ่าย

3. สปสช. จะดูแลเรื่องค่าตรวจโควิด

โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนั้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองโควิด-19 แก่คนไทยทุกคน ดังนั้น หากมีกลุ่มเสี่ยงตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ก็สามารถแจ้งให้ไปรับการตรวจคัดกรองได้ฟรีเช่นกัน และหากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่สายด่วน สปสช. 1330 หรือ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

4. ไปตรวจที่ โรงพยาบาลรัฐ ได้ที่ไหนบ้าง? (กรุงเทพฯ-ปริมณฑล)

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (แล็บอ้างอิง) 
ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคติดต่ออุบัติใหม่ สภากาชาดไทย (แล็บอ้างอิง) 
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล 
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี 
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โรงพยาบาลราชวิถี 
สถาบันบําราศนราดูร 
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล 
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายไทย) 
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายสหรัฐอเมริกา)
คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล 
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง 
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช 
โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) 
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า 
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายสหรัฐอเมริกา) แผนกเรโทรไวโรโลยี
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี 
โรงพยาบาลสมุทรปราการ 
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
ห้องปฏิบัติการหน่วยคุ้มครองสุขภาพโลก ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข 
โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ 
โรงพยาบาลตํารวจ 
โรงพยาบาลปทุมธานี 
โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า 
โรงพยาบาลสมุทรสาคร 
โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี 
ห้องปฏิบัติการกลางเพื่อการวิจัย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 
โรงพยาบาลตากสิน 
ห้องปฏิบัติการกลางและธนาคารเลือด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
โรงพยาบาลบางกรวย 
กลุ่มปฏิบัติการอ้างอิงชันสูตรวัณโรคแห่งชาติ กองวัณโรค กรมควบคุมโรค 
ห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 
โรงพยาบาลกลาง 
 สถาบันโรคทรวงอก
 

5. ไปตรวจที่ โรงพยาบาลเอกชน ได้ที่ไหนบ้าง?

โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ 
บริษัทไบโอโมเลกุลาร์ แลบอราทอรี่ส์
คลินิกเทคนิคการแพทย์ รามคําแหง 
หวนจียีนเทคโนโลยี คลินิกเทคนิคการแพทย์ 
บริษัท โปรเฟสชั่นแนล ลาโบราทอรี่ แมเนจเมนท์ จํากัด
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
โรงพยาบาลเวชธานี
บริษัท พีซีที่ ลาบอราทอรีส์ เซอร์วิส จํากัด 
โรงพยาบาลพระรามเก้า
โรงพยาบาลนครธน 
World Medical Hospital
บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์แห่งเอเชีย จํากัด (โรงพยาบาลลาดพร้าว)
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ 
โรงพยาบาลนนทเวช 
โรงพยาบาลเปาโลเกษตร 
โรงพยาบาลสินแพทย์ 
โรงพยาบาลเปาโลพหลโยธิน 
โรงพยาบาลมหาชัย 
โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ 
คลินิกเทคนิคการแพทย์แบงคอกจีโนมิกส์ 
บริษัท แอท-ยีนส์ จํากัด 
ห้องปฏิบัติการ นิวเจน ลาบอราทอรี่ คลินิกเทคนิคการแพทย์ 
โรงพยาบาลสุขุมวิท 
โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ 
โรงพยาบาลเสรีรักษ์ 
คลินิกเทคนิคการแพทย์ โปรแล็บ วิภาวดี 
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รามคําแหง
โรงพยาบาลเจ้าพระยา 
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น
โรงพยาบาลวิภาวดี 
โรงพยาบาลรามคําแหง 
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค 
โรงพยาบาลบางนา 5 
บริษัท ศูนย์แลบธนบุรี จํากัด 
บริษัทเอ็มบริโอ แพลนแนท จํากัด (สยามเฟอร์ทิลิตี้ คลินิก)
โรงพยาบาลซีจีเอช โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ 
บริษัท เมดิคอลไลน์แล็บ จํากัด 
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ 
โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล (สมุทรสาคร) 
บริษัท กรุงเทพ อาร์ไอเอ แล็บ จํากัด 
โรงพยาบาลการุญเวช ปทุมธานี 
โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
โรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิ 
โรงพยาบาลศิครินทร์ 
โรงพยาบาลเอกชัย องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน สาขากรุงเทพมหานคร (International Organization for Migration, IOM)
โรงพยาบาลวิภาราม
โรงพยาบาลเมดพาร์ค 
MIC Lab (บริษัทเมดิคอล อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จํากัด) 
โรงพยาบาลปิยะเวท 
โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์
บริษัทเนชั่นแนล เฮลท์แคร์ซิสเท็มส์ จํากัด
สาขาโรงพยาบาลพญาไท 2

กรุงเทพธุรกิจ 
7 เมย 64
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด