ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหลอดเลือดหัวใจ หมายถึง โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีที่ตีบแคบอุดตันทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบแคบลง จากไขมันคอเลสเตอรอลจับบริเวณเซลล์กล้ามเนื้อเรียบในหลอดเลือด ทำให้เกิดการอุดตัน จะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
ความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน
โรคอ้วน
สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
กรรมพันธุ์
ความเครียด
ภาวะหมดประจำเดือน
ไม่ค่อยออกกำลังกาย
ผู้ชายอายุ > 45 ปี ผู้หญิงอายุ > 55 ปี
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
จำกัดไขมันและอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง
การควบคุมอาหารประเภทไขมันจะช่วยลดและชะลอการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจได้
1.1 รับประทานอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวลดลง กรดไขมันอิ่มตัวพบมากในไขมันสัตว์ และไขมันจากพืชบางชนิด เช่น ปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ และพบได้ในนม เนยชนิดต่างๆ และผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีไขมันสูง เช่น ไส้กรอก เบคอน หมูยอ แฮม กุนเชียง
1.2 รับประทานกรดไขมันไม่อิ่มตัวให้เพียงพอ ควรจะรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด
1.3 รับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงลดลง อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงมักพบในไขมันสัตว์ ขาหมู ข้าวมันไก่ หนังสัตว์ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารแปรรูป ไข่แดง อาหารทะเลบางชนิด เช่น กุ้ง ปลาหมึก หอยนางรม ยกเว้นปลาทะเล เนื่องจากไขมันต่ำ อาหาร Fast food เช่น พิซซ่า เบอร์เกอร์ รวมถึงเบเกอรี่ต่างๆ เช่น คุ้กกี้ เค้ก
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็มจัด หวานจัด โดยการเลี่ยงหรืองดอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ผงชูรส ซอสปรุงรส อาหารรสจัด หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดองเค็ม เช่น เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง กะปิ ปลาเค็ม ผักดองเค็ม ผลไม้ดอง
รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูงเป็นประจำ อาหารที่มีกากหรือใยอาหารสูง มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เนื่องจากช่วยลดการดูดซึมไขมัน ป้องกันท้องผูก ช่วยลดการเกิดโรค มะเร็งลำไส้ใหญ่ และการเกิดโรคหัวใจ ข้าวที่มีใยอาหารมาก ได้แก่  ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท จมูกข้าว
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทชา-กาแฟ น้ำอัดลม เนื่องจากมีสารคาเฟอีน ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น
งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด