ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เกษตรกรเลี้ยงหมู ตรึงราคาหมูหน้าฟาร์มไม่เกิน 100 บาท

เกษตรกรเลี้ยงหมู ตรึงราคาหมูหน้าฟาร์มไม่เกิน 100 บาท HealthServ.net
เกษตรกรเลี้ยงหมู ตรึงราคาหมูหน้าฟาร์มไม่เกิน 100 บาท ThumbMobile HealthServ.net

นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ เผยหมูขาดตลาดผลกระทบจากโรค ASF ปลายปี 2564 ยืนยันเกษตรกรทั่วประเทศ ร่วมตรึงราคาหมูหน้าฟาร์มไม่เกิน 100 บาท ช่วยประชาชน ฟื้นเปิดเมือง ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

เกษตรกรเลี้ยงหมู ตรึงราคาหมูหน้าฟาร์มไม่เกิน 100 บาท HealthServ
 
 
นายสุนทราภรณ์ สิงห์รีวงศ์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ เปิดเผยถึงสถานการณ์สุกรในขณะนี้ว่า จากผลกระทบของภาวะโรค ASF เมื่อช่วงปลายปี 2564 ปรากฏผลชัดเจนในวันนี้ ตามรอบการผลิตหมู เป็นผลจากการที่เกษตรกรต้องเลิกเลี้ยงสุกรไปเป็นจำนวนมาก โดยเกษตรกรในภาคเหนือมากกว่า 80% จำเป็นต้องหยุดการเลี้ยง คงเหลือเพียง 20% ที่ยังสามารถเลี้ยงสุกรได้ต่อไป ส่งผลให้ปริมาณสุกรหายไปจากระบบและไม่เพียงพอต่อการบริโภค ทำให้พื้นที่ภาคเหนือต้องพึ่งพาชิ้นส่วนสุกร และสุกรขุนจากภูมิภาคอื่นๆ ส่งผลให้ราคาเนื้อหมูในภาคเหนือสูงกว่าพื้นที่อื่นเล็กน้อย


อย่างไรก็ตาม เกษตรกร  ผู้เลี้ยงสุกรทุกภูมิภาคเห็นพ้องกัน ในการร่วมสนองนโยบายรัฐบาล ด้วยการ “รักษาระดับราคาหน้าฟาร์มไม่เกิน 100 บาทต่อกิโลกรัม” ในช่วงที่ทุกฝ่ายกำลังพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว โดยจะเริ่มนโยบายเปิดประเทศ 1 พฤษภาคม 2565


สำหรับการปรับราคาสินค้าเป็นไปตามกลไกตลาด จากปริมาณผลผลิตที่ไม่เพียงพอกับการบริโภค โดยไม่มีการขึ้นราคาตามอำเภอใจ แต่เพียงเพื่อสะท้อนต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และให้เกษตรกรอยู่ได้บ้างเพราะต้นทุนสูงการผลิตสูงขึ้นกว่า 30-40%


ที่สำคัญปริมาณสุกรในขณะนี้มีไม่มากและอยู่ในมือเกษตรกรทั้งสิ้น
 
 
 
เกษตรกรเลี้ยงหมู ตรึงราคาหมูหน้าฟาร์มไม่เกิน 100 บาท HealthServ
 

เกษตรกรเลิกเลี้ยงหมูเกินครึ่ง


“ปัจจุบันทั้งแม่พันธุ์หมู ลูกหมูหย่านม และหมูขุน หายไปจากระบบมากกว่า 50% จากการที่เกษตรกรเลิกเลี้ยงและหยุดการเลี้ยงไปมากกว่าครึ่งของประเทศ จากเกษตรกร 2 แสนราย เหลือเพียง 8 หมื่นราย เพราะยังไม่มั่นใจในสถานการณ์ของอุตสาหกรรม ประกอบกับที่ต้องแบกรับภาระขาดทุนสะสมตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน ยังมีปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาธัญพืชที่นำมาผลิตอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์ที่ปรับสูงขึ้นมาตลอด เช่นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เวลานี้ราคาพุ่งไปถึงกิโลกรัมละเกือบ 13 บาท ซึ่งเกษตรกรทุกคนยังคงรอความชัดเจนจากภาครัฐ ในแนวทางแก้ปัญหาต้นทุนดังกล่าว และปัจจุบันอุตสาหกรรมหมูไทย ยังคงมีผู้เลี้ยงที่หลากหลาย ทั้งเกษตรกรรายเล็ก รายกลาง และรายใหญ่ ที่ต่างพร้อมใจกันร่วมประคับประคองอาชีพเลี้ยงหมูไว้ เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้บริโภคอย่างเด็ดขาด” นายสุนทราภรณ์ กล่าว
 
 
 

ธนาคารไม่ปล่อยกู้ วอนรัฐช่วย

นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า แม้ว่าเกษตรกรจะไม่สามารถเข้าเลี้ยงหมูได้ แต่ยังคงต้องลงทุนในการป้องกันโรคและกำจัดโรคให้หมดไปจากฟาร์ม เพื่อให้สามารถเลี้ยงหมูได้อีกครั้ง แต่ทุกคนต่างพบอุปสรรคด้านการประกอบอาชีพ เพราะสถาบันการเงินไม่อนุมัติเงินกู้ยืม เนื่องจากขาดหลักประกันว่าจะมีรายได้มาผ่อนชำระได้ตามที่กำหนด ซึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เกษตรกรขอเรียกร้องไปยังภาครัฐได้ออกมาตรการช่วยเหลือ อาทิ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ โดยเร็วที่สุดเพื่อให้มีแรงและกำลังในการเลี้ยงสุกรเพื่อเป็นหนึ่งในฐานสำคัญของความมั่นคงด้านอาหารโปรตีนแก่คนไทยต่อไป
 
 
เกษตรกรเลี้ยงหมู ตรึงราคาหมูหน้าฟาร์มไม่เกิน 100 บาท HealthServ





 
“จากกลไกตลาด ที่ปริมาณผลผลิตหมูไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคาสุกรเพิ่งจะปรับขึ้นมาในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเท่านั้น ราคาที่จำหน่ายในขณะนี้ที่ 98-100 บาทต่อกิโลกรัม เพียงให้เกษตรกรพอหนีต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 98.81 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อประคองอาชีพนี้ให้สามารถเลี้ยงหมูรุ่นต่อไปได้เท่านั้น เพราะต้นทุนการเลี้ยงต่างเพิ่มขึ้นหมด โดยเฉพาะค่าน้ำมันที่กำลังจะขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคม เช่นกัน ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงและการขนส่งพุ่งขึ้นแน่นอน โดยเกษตรกรร่วมกันรักษาระดับราคาสุกรหน้าฟาร์มไว้เช่นนี้ เพื่อช่วยลดค่าครองชีพของผู้บริโภคและช่วยให้ตลาดปรับตัวได้"


นอกจากนี้ เกษตรกร “ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดการนำเข้าเนื้อหมู” เนื่องจากเป็นการซ้ำเติมปัญหา และบิดเบือนกลไกตลาด และยังลดแรงจูงใจของผู้เลี้ยงที่กำลังจะกลับเข้าระบบ กลายเป็นอุปสรรคในการเพิ่มซัพพลายหมูดังที่ภาครัฐกำลังเร่งดำเนินการอยู่ และยังเพิ่มความเสี่ยงผู้บริโภครับสารเร่งเนื้อแดงที่อาจปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์นำเข้า เราขอเพียงปล่อยให้กลไกตลาดทำงาน ก็จะช่วยแก้ปัญหาทั้งหมดได้ อย่างที่เคยประสบความสำเร็จมาแล้วทุกครั้งที่ผ่านมา” นายสุนทราภรณ์ กล่าวทิ้งท้าย
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด