ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เขตสุขภาพที่ 7 เล็งยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่

เขตสุขภาพที่ 7 เล็งยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ HealthServ.net
เขตสุขภาพที่ 7 เล็งยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ ThumbMobile HealthServ.net

เขตสุขภาพที่ 7 คิกออฟ 30 บาทรักษาทุกที่ พร้อมเล็งยกระดับขั้นกว่า ไม่จำกัดแค่ รพ.สต. แต่ให้ผู้ป่วยย้ายไปรับบริการที่ไหนก็ได้ถึงระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ พร้อมรวมพลังเขตสุขภาพอื่นๆ เชื่อมข้อมูลผู้ป่วยครอบคลุมทั้งภาคอีสาน

 
 นพ.สมฤกษ์ จึงสมาน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 เปิดเผยว่า เขตสุขภาพที่ 7 ประกอบด้วย 4 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ได้เริ่มคิกออฟ 30 บาทรักษาทุกที่ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2564 ที่ผ่านมา โดยการดำเนินการดังกล่าวได้นำนโยบายของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มาสานต่อใน 4 ประเด็นคือ 1.ปฐมภูมิรักษาที่ไหนก็ได้ 2.ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว 3.มะเร็งรักษาทุกที่ที่พร้อม และ 4.ย้ายหน่วยบริการประจำได้สิทธิทันทีไม่ต้องรอ 15 วัน
 

"เรื่องการยกเลิกใบส่งตัวทางเขตสุขภาพที่ 7 ใช้ระบบไอทีเชื่อมต่อกันได้ การเบิกจ่ายค่าบริการก็แค่จัดระบบฐานข้อมูลของโรงพยาบาล ส่วนมะเร็งรักษาทุกที่ ทางกรมการแพทย์ก็กำลังดำเนินการพัฒนาระบบให้เชื่อมโยงข้อมูลถึงกันทั้งประเทศ ทำให้ผู้ป่วยไปรักษาที่ไหนก็ได้ และ สปสช.ก็ปรับกระบวนการให้ย้ายหน่วยบริการแล้วได้สิทธิทันทีอยู่ แต่เรื่องปฐมภูมิรักษาที่ไหนก็ได้ต้องจัดการมากหน่อยเพราะแต่เดิมทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือหน่วยบริการต่างๆ มีการจัดสรรงบประมาณไปตามพื้นที่ การรักษาข้ามพื้นที่ต้องมีระบบการตามจ่าย ซึ่งก็ได้มีการตกลงกันในผู้บริหารทุกจังหวัดของเขตสุขภาพที่ 7 เป็นการภายใน ในการอำนวยความสะดวกไม่ให้ประชาชนต้องแบ่งพื้นที่กัน และ สปสช.ก็จัดงบสนับสนุนไว้ โดยประชาชนนำบัตรประชาชนมาทุกครั้งที่เข้ารับบริการ" นพ.สมฤกษ์ กล่าว
 
 
 อย่างไรก็ดี ในช่วงต้นของการดำเนินการอาจมีความขลุกขลักบ้างเล็กน้อย ใน รพ.สต.ใหญ่อาจไม่มีปัญหา แต่ รพ.สต.เล็กๆ ที่ยังไม่มีความพร้อมในเรื่องระบบไอทีก็อาจมีปัญหาบ้าง อย่างไรก็ดี โดยธรรมชาติ รพ.สต. ขนาดเล็ก ไม่ค่อยมีคนข้ามเขตมารับบริการมากนักจึงไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งก็ได้มอบหมายให้สาธารณสุขนิเทศก์และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ลงไปตรวจเยี่ยมประเมินใน รพ.สต. ที่ยังไม่พร้อมและจัดให้มีการอบรมการใช้โปรแกรมต่างๆแก่บุคลากรแล้ว
 
นพ.สมฤกษ์ กล่าวด้วยว่า การยกระดับบริการบัตรทองในครั้งนี้ ไม่ได้มีเป้าหมายแค่ให้ไปรักษาในหน่วยบริการปฐมภูมิหรือ รพ.สต. ที่ไหนก็ได้ แต่ยังมองไปถึงการขยายข้ามไปถึงระดับทุติยภูมิและตติยภูมิที่ไหนก็ได้ จากเดิมที่มีการแบ่งพื้นที่และต้องใช้ใบส่งตัวก็ไม่ต้องใช้อีกต่อไป
 
"เรื่องขยายถึงระดับทุติยภูมิและตติยภูมิที่ไหนก็ได้ทางเขตสุขภาพที่ 9 ดำเนินการไปแล้ว พบว่าผู้ป่วยมีการย้ายหน่วยบริการไม่มากนัก แต่เรายังดูอยู่ว่าในเขตสุขภาพที่ 7 จะเกิดการไปแออัดในโรงเรียนแพทย์หรือไม่ แต่จากบทเรียนของทางเขตสุขภาพที่ 9 ดูแล้วพบว่าไม่เกิดการ Move หรือย้ายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งมากนัก นอกจากนี้แล้ว เป้าหมายการจัดระบบการเชื่อมข้อมูลผู้ป่วยระหว่างหน่วยบริการเราไม่ได้ทำแค่เขตสุขภาพที่ 7 ต้องการขยายไปทุกเขตในภาคอีสาน ทางเขตสุขภาพที่ 9 เริ่มก่อน ตามมาด้วยเขตสุขภาพที่ 7, 8 และ10 ตอนนี้พวกเราพยายามทำให้ไปที่ไหนก็ได้ทุกเขตในภาคอีสาน ถ้าทำได้ก็น่าจะมีการขยายไปทั่วประเทศในปีถัดไป" นพ.สมฤกษ์ กล่าว 


Gnews 17 มีนาคม 2564
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด