ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เทคนิคผ่าตัดข้อ ผ่านกล้อง

เทคนิคผ่าตัดข้อ...ผ่านกล้อง
กลายเป็นเรื่องเล็กไปซะแล้ว สำหรับผู้ที่มีปัญหาจากการบาดเจ็บ ภายในข้อ ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุ การเล่นกีฬา หรือภาวะ การอักเสบของเยื่อบุข้อก็ตาม

กลายเป็นเรื่องเล็กไปซะแล้ว สำหรับผู้ที่มีปัญหาจากการบาดเจ็บ ภายในข้อ ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุการเล่นกีฬา หรือภาวะ การอักเสบของเยื่อบุข้อก็ตาม




ในอดีตการผ่าตัดข้อไม่ว่าจะเป็นข้อไหล่ข้อมือ ข้อเท้าหรือแม้แต่การผ่าตัด โรคข้อเสื่อมต่างๆ ถือเป็นเรื่องใหญ่ แผลจากการผ่าตัดมีขนาดใหญ่ใช้เวลาในการฟื้นตัวนาน บางครั้งหลังการผ่าตัดคนไข้ยังต้องใช้อุปกรณ์ช่วยในการพยุงตัวไปอีกระยะเวลาหนึ่ง



แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ ที่มีความก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างมาก มีการนำเทคโนโลยี ที่เรียกว่าอาร์โทรสโคปี้ (Arthroscopy)ซึ่งเป็นเทคนิคการผ่าตัดข้อแบบใหม่ มาใช้ ช่วยให้การผ่าตัดข้อ กลายเป็นเรื่องเล็ก ทั้งขนาดของแผลผ่าตัดที่มีขนาดเล็กลง ผู้ป่วยเจ็บปวดน้อยลง ฟื้นตัวได้เร็ว ลดค่าใช้จ่าย และลดถาวะการติดเชื้อ แทนการผ่าตัดแบบเดิมๆ

นพ.สมศักดิ์ปัตยะกร ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อโรงพยาบาลวิภาวดีอธิบายว่าจริงๆแล้วการผ่าตัดผ่านกล้องเป็นการผ่าตัดที่มีมานานแล้ว แต่สำหรับ อาร์โทรสโคปี้ (Arthroscopy)ถือเป็นเทคโนโลยีที่ใช้เครื่องมือผ่าตัดพิเศษขนาดเล็ก แพทย์สามารถตรวจหาความผิดปกติของข้อโดยการใช้เครื่องมือเล็กๆ เจาะรูใส่เข้าไปในข้อ แล้วมองผ่านจอภาพที่ต่อออกมาจากวิดีโอ ซึ่งสามารถมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน ทำให้การวินิจฉัย ถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้นที่สำคัญ คือ การผ่าตัดรักษาได้ผลดีกว่าวิธีผ่าตัดแบบเดิมๆ

คุณหมอสมศักดิ์ ยังบอกด้วยว่าโดยทั่วไปแล้ว ภาวะผิดปกติในข้อ ที่นิยมรักษาโดยการส่องกล้อง แบ่งออกเป็น3ส่วนใหญ่ๆคือ

1.ภาวะการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น ข้อเข่าพลิกบิดบวมหลังจากอุบัติเหตุ หรือ จากการเล่นกีฬา มีการฉีกขาดของเอ็น หรือ หมอนรองกระดูกข้อเข่าข้อไหล่ หลุด ช้ำ หลวม หรือ เอ็นภายในข้อไหล่ฉีกขาดหรือ ข้อเท้าที่บวม ปวดหลังจากข้อพลิก ซึ่งเป็นมาเป็นระยะเวลานาน หรือ เรื้อรัง

2.ภาวะที่เกิดจากความเสื่อมของข้อเช่นข้อเข่าเสื่อมมีอาการปวด บวมขัดหรือเสียว ขณะเดินโดยเฉพาะขึ้นลงบันไดนั่งพับขา หรือ ข้อไหล่ ซึ่งมีการปวดขยับไม่สุด (ข้อติด) นอนทับข้อไหล่ ข้างที่ปวดไม่ได้ หรือ มีอาการปวดมากเวลากลางคืน

3.ภาวะที่เกิดการอักเสบของเยื่อบุข้อเช่นโรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์มีเยื่อบุข้อที่อักเสบมากแม้ควบคุมด้วยยาแล้ว อาการก็ยังไม่ดีขึ้น

“ในจำนวนทั้งหมดนี้ ข้อเข่าเป็นอวัยวะที่มีการผ่าตัดส่องกล้องมากที่สุด และได้ผลดีมาก เมื่อเทียบกับการผ่าตัดเปิดข้อ ซึ่งเป็นวิธีผ่าตัดที่ใช้น้อยลงในปัจจุบัน” คุณหมอสมศักดิ์บอก สำหรับวิธีการผ่าตัดส่องกล้องด้วยวิธี อาร์โทรสโคปี้ที่ใช้กันมาก คือ การรักษาหมอนรองกระดูกข้อเข่าขาดกระดูกอ่อนแตกการผ่าตัดสร้างเอ็นในข้อเข่าข้อหัวไหล่ผ่าตัดซ่อมเอ็นหัวไหล่ขาดข้อหัวไหล่หลุด ผ่าตัดซ่อมเยื่อหุ้มข้อผ่าแก้ไขข้อหัวไหล่ติด ข้อมือ รวมไปถึงนำการส่องกล้องไปใช้วินิจฉัยผ่าตัดรักษาอาการปวดข้อมือเรื้อรัง ข้อเท้าตรวจวินิจฉัยอาการปวดข้อเท้าเรื้อรัง กระดูกอ่อนแตก ส่วนกรณีของเยื่อหุ้มข้ออักเสบ ข้อสะโพกข้อศอกมีการผ่าตัดส่องกล้องบ้างแต่น้อยกว่าข้ออื่น

คุณหมอสมศักดิ์อธิบายว่า การผ่าตัดส่องกล้อง จัดเป็นการตรวจวินิจฉัยและการรักษาในเวลาเดียวกัน ซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้ยาชาเฉพาะที่การดมยาสลบ หรือทำให้ผู้ป่วยชาเฉพาะบริเวณ โดยผู้ป่วยจะได้รับการเตรียมข้อที่ผ่าเช่นเดียวกับการผ่าตัดใหญ่ทั่วไป เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

วิธีการผ่าตัดแพทย์จะเจาะรูเข้าไปในข้อ ทำให้มีบาดแผลเล็กๆขนาด0.8 – 1.0ซ.ม. ซึ่งเพียงพอที่จะใส่กล้องเข้าไป เพื่อตรวจดูภายในข้อหากพบความผิดปกติที่สามารถผ่าตัดได้แพทย์จะเจาะรูเพิ่มอีก เพื่อใส่เครื่องมือผ่าตัดขณะผ่าตัดสามารถต่อกล้องเข้ากับจอภาพและบันทึกภาพได้ หลังผ่าตัดเย็บแผลปิด1เข็ม บางรายแผลเล็กมากอาจไม่ต้องเย็บแผลความก้าวหน้าของเทคโนโลยีนี้ที่สำคัญก็คือ แผลผ่าตัดขนาดเล็กมาก บางครั้งมองเกือบไม่เห็นแผลผ่าตัด ไม่ต้องตัดเยื่อหุ้มข้อ เนื้อเยื่อรอบๆข้อการบาดเจ็บจากแผลผ่าตัดน้อยลง การเคลื่อนไหวของข้อหลังผ่าตัดทำได้เร็วขึ้น สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพของกล้ามเนื้อ กลับคืนสู่สภาพปกติได้เร็ว ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดน้อยมาก วินิจฉัยได้ถูกต้องแม่นยำ และรักษาได้ทันที หรือ วางแผนผ่าตัดในอนาคตได้แต่ที่แน่ๆ ก็ คือ เทคโนโลยีที่ทันสมัยและก้าวหน้า ทำให้การผ่าตัดข้อ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ต่อไป

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด