ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เปิดข้อมูล 20 จุดอันตรายในกทม. เกิดอุบัติเหตุมากสุด ตายมากสุด รัชดาแชมป์

เปิดข้อมูล 20 จุดอันตรายในกทม. เกิดอุบัติเหตุมากสุด ตายมากสุด รัชดาแชมป์ HealthServ.net
เปิดข้อมูล 20 จุดอันตรายในกทม. เกิดอุบัติเหตุมากสุด ตายมากสุด รัชดาแชมป์ ThumbMobile HealthServ.net

ข้อมูลจากคลัสเตอร์อุบัติเหตุ 100 จุดในกทม.มาดูกันจะจะว่าจุดไหนเสี่ยงสุดๆ ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งหรือทำให้มีผู้เสียชีวิตมาก เป็นข้อมูลมีประโยชน์มาก เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนในกทม.ได้ระมัดระวังและมีความปลอดภัยมากขึ้น

เปิดข้อมูล 20 จุดอันตรายในกทม. เกิดอุบัติเหตุมากสุด ตายมากสุด รัชดาแชมป์ HealthServ
เปิดข้อมูล 20 คลัสเตอร์อุบัติเหตุ ในกทม. ที่มีผู้เสียชีวิต ในรอบ 2 ปี รวบรวม/อ้างอิงข้อมูลพิกัดอุบัติเหตุย้อนหลัง 2020-2022 จากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย และ ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ ThaiRSC โดยใช้ การแปลงพิกัดเป็นที่อยู่จริง (reverse geocoding) จาก Longdo Map

*ข้อมูล ณ 27 กรฏาคม 2565
** ข้อมูลคัดจากทั้งหมด 100 คลัสเตอร์
 
 

ข้อมูลจาก จาก iTIC - มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย

*รวมเคสบาดเจ็บและเสียชีวิต

1.ถนนรัชดาภิเษก แยกประชานุกูล - วงศ์สว่าง 500 เคส
2.สี่แยกเกษตร 328 เคส
3.แยกรัชวิภา (ถ.รัชดาภิเษก - ถ.วิภาวดีรังสิต) 308 เคส
4.สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน 301 เคส
5.โค้งรัชดาภิเษก ใกล้ศาลอาญาฯ​, คปภ. 265 เคส
6.ถนนบรมราชชนนี ช่วงสาย 3 - ทางขึ้นทางยกระดับ 175 เคส
7.สี่แยกรัชโยธิน (ถ.รัชดาภิเษก - ถ.พหลโยธิน) 170 เคส
8.แยกห้วยขวาง (ถ.รัชดาภิเษก - ถ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ) 161 เคส
9.แยกรัชดา-ลาดพร้าว 160 เคส
10.แยกหลักสี่ (ถ.วิภาวดีรังสิต - ถ.แจ้งวัฒนะ) 142 เคส
11.แยกเกษตร (ถ.วิภาวดีรังสิต - ถ.งามวงศ์วาน) 141 เคส
12.ห้าแยกลาดพร้าว 115 เคส
13.แยกบางหว้า (ถ.ราชพฤกษ์ - ถ.เพชรเกษม) 107 เคส
14.แยกรัชดา-สุทธิสาร 104 เคส
15.ถนนรัชดาภิเษก ช่วงใกล้ทางขึ้นลงทางด่วนฯ 101 เคส
16.แยกสายใต้เก่า (ถ.บรมราชชนนี - ถ.สิรินธร) 96 เคส
17.สี่แยกบางพลัด  87 เคส
18.แยกประเสริฐมนูกิจ - ประดิษฐ์มนูธรรม 81 เคส
19.แยกพงษ์เพชร 80 เคส
20.ถ.พระราม 4 ช่วงคลองเตย 80 เคส


รวมเฉพาะใน 20 อันดับ   3,502 เคส 
 


ข้อสังเกตเฉพาะใน 20 อันดับนี้ 
  • ใน 20 คลัสเตอร์ เกี่ยวข้องกับ ถนนรัชดา 8 คลัสเตอร์  รวม 1,769 เคส  คิดเป็น ประมาณ 50% ของเคศใน 20 อันดับแรก 
  • ถนนรัชดาที่เกิดเหตุมากที่สุด อยู่ในเขต 3 เขต คือ ดินแดง (3 คลัสเตอร์) จตุจักร (4 คลัสเตอร์) และ บางซื่อ (1 คลัสเตอร์)
  • ถนนวิภาวดีรังสิต มีอุบัติเหตรองลงมา จำนวน 591 เคส (ราว 16%)
  • สี่แยกเกษตร จุดเดียว เกิดเคสมากถึง 328 เคส (เกือบ 10%)  ถือว่าหนาแน่นที่สุด ณ บริเวณเดียว แม้จำนวนเคสจะน้อยกว่า อันดับ 1 ถนนรัชดาภิเษก แยกประชานุกูล - วงศ์สว่าง  แต่กรณีเป็นช่วงถนนที่มีความยาว และเหตุเกิดกระจายตลอดทั้งช่วงนั้น 
  • เขตจตุจักร เป็นเขตที่มีอุบัติเหตุมากที่สุด เพราะเป็นเขตที่รวมเอาคลัสเตอร์เกิดเหตุไว้มากที่สุด ได้แก่   - รวมถนนรัชดา 4 คลัสเตอร์ สี่แยกเกษตร แยกเกษตร-วิภาวดี  และ ห้าแยกลาดพร้าว 
  • ฝั่งธนบุรี เกิด 766 เคส ราว 21%

นายชัชชาติเคยกล่าวถึงเหตุที่ทำให้ ถนนรัชดา เกิดอุบัติเหตุเป็นประจำ ว่า 
“ผมว่าหลายองค์ประกอบด้วยกัน ลักษณะทางกายภาพ ความเร็วเกินกำหนด และเรื่องฝน 3 ปัจจัย ผมว่าอาจจำกัดความเร็วที่ชัดเจนขึ้น ที่ป้ายบอกแค่ให้ลดความเร็วแต่ไม่ได้บอกให้ลดความเร็วเหลือเท่าไร ดังนั้นอาจต้องกำหนดลงไปเลยว่า ตรงนี้จะต้องลดความเร็วลงจากความเร็วปกติ อาจจะมีตรวจจับความเร็ว”  [มติชน]



 

 
 

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ ThaiRSC


จำแนก 3 เคส คือ รวมทั้งหมด ผู้บาดเจ็บ  และเสียชีวิต


1. คลัสเตอร์ ที่มีเคสอุบัติเหตุรวม มากที่สุด (ทั้งบาดเจ็บและเสียชีวิต)

 
1.ถนนเพชรเกษม บริเวณซอย 74 1990 เคส
2.ถนนพระราม 4 (โลตัส พระราม 4) 736 เคส
3.ถนนพุทธบูชา (ใกล้ มจธ.) 512 เคส
4.แยกพัฒนาการ (ถ.พัฒนาการ - ศรีนครินทร์) 480 เคส
5.ถนนประชาธิปก (ใกล้วงเวียนใหญ่) 464 เคส
6.วัดบางโพโอมาวาส 444 เคส
7.ถนนสุคนธสวัสดิ์ (โค้งหักศอก) 435 เคส
8.สี่แยกวงศ์สว่าง (ถ.วงศ์สว่าง - ถ.กรุงเทพ-นนทบุรี) 418 เคส
9.สี่แยกบางหว้า 401 เคส
10.อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 391 เคส
11.ถนนสุขสวัสดิ์ บริเวณซอย 27 389 เคส
12.ถนนจรัญสนิทวงศ์ บริเวณซอย 28 366 เคส
13.ถนนเอกชัย ซอย 97 - 99 363 เคส
14.สี่แยกมไหสวรรค์ 352 เคส
15.ถนนเจริญนคร บริเวณซอย 47 345 เคส
16.แยก ถ.เชื่อมต่อพัฒนาการ - ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 321 เคส
17.ถนนหัวหมาก (ซอยรามคำแหง 24) 300 เคส
18.ถนนทองหล่อ บริเวณซอย 18 (โพธิบุตร) 288 เคส
19.ถนนกัลปพฤกษ์ บริเวณข้ามคลองบางประทุน 282 เคส
20.สามแยกบางบอน 282 เคส


 

2. คลัสเตอร์ ที่มีเคส ผู้บาดเจ็บ มากที่สุด


1.ถนนเพชรเกษม บริเวณซอย 74 1778 เคส
2.ถนนพระราม 4 (โลตัส พระราม 4) 733 เคส
3.ถนนพุทธบูชา (ใกล้ มจธ.) 511 เคส
4.ถนนประชาธิปก (ใกล้วงเวียนใหญ่) 464
5.แยกพัฒนาการ (ถ.พัฒนาการ - ศรีนครินทร์) 458 เคส
6.วัดบางโพโอมาวาส 444 เคส
7.ถนนสุคนธสวัสดิ์ (โค้งหักศอก) 433 เคส
8.สะพานข้ามแยกวงศ์สว่าง 416 เคส
9.ถนนเพชรเกษม 393 เคส
10.ถนนสุขสวัสดิ์ 389 เคส
11.ถนนดินสอ 384 เคส
12.ถนนจรัญสนิทวงศ์ 366 เคส
13.ถนนเอกชัย 354 เคส
14.ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน 350 เคส
15.เจริญนคร 47 (ซอยปรีชาศิลป์) 343 เคส
16.ถนนเชื่อมต่อพัฒนาการ - เฉลิมพระเกียรติร.9 310 เคส
17.ถนนหัวหมาก (ซอยรามคำแหง 24) 297 เคส
18.ซอยทองหล่อ 18 (ซอยโพธิบุตร) 288 เคส
19.ถนนบางขุนเทียน 281 เคส
20.ถนนกัลปพฤกษ์ 279 เคส

 

3. คลัสเตอร์ ที่มีเคส ผู้เสียชีวิต มากที่สุด

 
1.ถนนเชื่อมต่อพัฒนาการ - เฉลิมพระเกียรติร.9 11  เคส
2.ถนนเอกชัย 8 เคส
3.ซอยหมู่บ้านการเคหะแห่งชาติฉลองกรุงโครงการ 7 เคส
4.ถนนประชาสงเคราะห์ 6 เคส
5.สะพานข้ามแยกพัฒนาการ 5 เคส
6.ถนนเลียบคลองสอง 5 เคส
7.ถนนราชพฤกษ์ 5 เคส
8.ลาซาล 21 5 เคส
9.ถนนรัชดาภิเษก 5 เคส
10.ปรีดีพนมยงค์ 10 (ซอยศรีนคร) 5 เคส
11.ถนนพระราม 2 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35) 5
12.ถนนเทอดไท 4 เคส
13.ถนนฉลองกรุง 4 เคส
14.ถนนกรุงธนบุรี 4 เคส
15.พหลโยธิน 6 (ซอยเฉลิมลาภ) 4
16.ถนนเอกชัย หน้าซอยเอกชัย 119 4 เคส
17.ถนนพระราม 3 4 เคส
18.ถนนสิรินธร 4 เคส
19.ถนนบรมราชชนนี 3 เคส
20.ถนนสุขสวัสดิ์ 3 เคส
 

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ Thai Rsc LINK

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ Thai Rsc เปิดข้อมูล 20 จุดอันตรายในกทม. เกิดอุบัติเหตุมากสุด ตายมากสุด รัชดาแชมป์
ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ Thai Rsc เปิดข้อมูล 20 จุดอันตรายในกทม. เกิดอุบัติเหตุมากสุด ตายมากสุด รัชดาแชมป์
Thai RSC เป็นศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน จัดทำโดย บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ประสงค์ให้เป็น ศูนย์วิชาการความปลอดภัยทางถนน เก็บข้อมูลอุบัติหตุต่างๆ จัดทำเป็นสถิติแยกตามประเภทรถ ช่วงอายุ แยกตาม Ranking ระดับจังหวัด สถิติชาวต่างชาติ ฯลฯ ให้มีการนำข้อมูลไปบริหารจัดการ และเพื่อสร้างความปลอดภัยทางถนนให้เกิดขึ้นกับคนไทย

มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย Thai Traffic Foundation (iTIC) LINK

มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย Thai Traffic Foundation (iTIC) เปิดข้อมูล 20 จุดอันตรายในกทม. เกิดอุบัติเหตุมากสุด ตายมากสุด รัชดาแชมป์
มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย Thai Traffic Foundation (iTIC) เปิดข้อมูล 20 จุดอันตรายในกทม. เกิดอุบัติเหตุมากสุด ตายมากสุด รัชดาแชมป์
“มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย” หรือ “Intelligent Traffic Information Center” (iTIC) เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ได้รับอนุมัติการจดทะเบียนจากกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2553  ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 5 แสนบาท โดยได้รับการสนับสนุนจาก “สมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย” หรือ “Thai ITS Association”
 
มูลนิธิฯ ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมข้อมูลจราจรจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อพัฒนาคุณภาพข้อมูลจราจรให้มีความถูกต้อง ทันต่อสถานการณ์มากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยลดปัญหาจราจร เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน ตลอดจนพัฒนาประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ของประเทศ โดยมูลนิธิฯ จะทำหน้าที่เป็นองค์กรที่มุ่งสร้างประโยชน์ให้กับสังคมโดยมิได้หวังผล กำไร ภายใต้ความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ
 
มูลนิธิฯ ได้เชิญบุคลากรที่เกี่ยวข้องในระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย(ITS) เข้ามาช่วยบริหารภายใต้วัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ โดยนำข้อมูลจราจรสาธารณะจากภาครัฐ (CCTV) เข้ามาผสมกับข้อมูลจาก Probe ของภาคเอกชน ซึ่งได้แก่ Taxi Probe, Bus Probe, Logistic Probe และ Mobile Phone Probe แล้วประมวลผลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ก่อนนำไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ
 
การจัดหาทุนของมูลนิธิฯ มาจากการบริจาค และการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อใช้ในการบริหารข้อมูลจราจรสู่สาธารณะ ตลอดจนพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ โดยจะไม่มีการจัดสรร หรือแบ่งปันผลกำไรให้กับผู้เกี่ยวข้องแต่อย่างใด
 
วัตถุประสงค์ของมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย
เป็นศูนย์รวมของข้อมูลจราจรที่นำไปเผยแพร่ให้กับสาธารณะเพื่อประโยชน์สูงสุด ในการที่จะลดปัญหาจราจร และเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน
 
ประโยชน์ต่อสังคมไทย
เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการนำข้อมูลจราจรมาเผย แพร่ให้ประชาชนนำไปใช้ประโยชน์ในการเดินทาง และการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อคลี่คลายปัญหาจราจร และเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทาง
เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยบนท้องถนน 

โหลดแอพ iTIC

ฝนตก!!!
น้ำท่วม!!!
รถติด!!!
เช็คสภาพการจราจรแบบ Real-TIme ก่อนออกเดินทางได้ง่าย ๆ เพียงดาวน์โหลดแอพ iTIC 
ดาวน์โหลด ได้ที่  Apple Store   และ  Google Play store
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด