ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เป้าหมาย การบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น

เป้าหมาย การบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น HealthServ.net

การปรับให้โควิด-19 เข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น เป็นแผนที่ ศบค.ได้กำหนดไว้ล่วงหน้ามาระยะหนึ่งแล้ว และได้มีการเตรียมการและแผนปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ภายในปี 2565 นี้ เพื่อเปิดประเทศและนำเศรษฐกิจสังคมกลับสู่ภาวะปกติ

เป้าหมาย การบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น ThumbMobile HealthServ.net
 
เป้าหมาย การบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น คำนึงถึงปัจจัย 4 ด้านหลัก พร้อมๆ กัน ได้แก่ ด้านสาธารณสุข ด้านการแพทย์ ด้านกฎหมายและสังคม และด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์

กรอบเป้าหมาย กำหนดไว้ว่า 
 
1.การเข้าถึงการดูแลรักษาได้อย่างรวดเร็ว มีคุณภาพอัตราป่วยตายไม่เกินร้อยละ 0.1
2. ความครอบคลุมวัคซีนเข็มกระตุ้น 2 ร้อยละ 60
3. สร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และความร่วมมือของประชาชน ในการรับมือ และปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับโควิด 19 จาก Pandemic สู่ Endemic อย่างปลอดภัย


โดยกำหนดกรอบเวลา 4 ระยะ ได้แก่ 
ระยะที่ 1 Combatting หรือก่อตัว กำหนดช่วงเวลาตั้งแต่ 12 มี.ค. - ต้น เม.ย. 
ระยะที่ 2 Plateau หรือควบคุมการระบาด กำหนดช่วงเวลาตั้งแต่ เม.ย.-พ.ค.
ระยะที่ 3 Declining หรือลดระดับการระบาด กำหนดเป้าไว้ตั้งแต่ช่วงปลาย พ.ค. ถึง ปลาย มิ.ย. 
ระยะที่ 4 Post-pandemic หรือภาวะพ้นการระบาด สู่โรคประจำถิ่น กำหนดกรอบไว้ตั้งแต่ 1 ก.ค. เป็นต้นไป 
 

 
เป้าหมาย การบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น HealthServ
 


ปัจจัยแต่ละมีแผนงานและเป้าหมายที่กำหนดไว้ชัดเจน ดังนี้

 
 
ด้านสาธารณสุข
 
  • เร่งการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น 260%
  • ปรับระบบการเฝ้าระวัง เน้นการระบาดเป็นกลุ่มก้อนและผู้ป่วยปอดอักเสบ
  • ผ่อนคลายมาตรการสำหรับผู้เดินทางจากต่างประเทศ
  • ปรับแนวทางแยกกักผู้ป่วย และกักกันผู้สัมผัส
 
 
ด้านการแพทย์
 
  • ปรับแนวทางการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD)
  • ดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงอาการรุนแรง และมีอาการรุนแรงรวมทั้งภาวะ Long COVID
 

ด้านกฎหมายและสังคม
 
  • บริหารจัดการด้านกฎหมายในทุกหน่วยงาน ให้สอดคล้องกับการปรับตัวเข้าสู่ Post pandemic
  • ผ่อนคลายมาตรการทางสังคม ลดการ "จำกัดการเดินทางและการรวมตัวของคนหมู่มาก"
  • ทุกภาคส่วนส่งเสริมมาตรการ UP, COVID Free Setting
 
 
ด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์
 
  • ทุกภาคส่วนร่วมสร้างความรู้ความเข้าใจ และพฤติกรรม ให้ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตร่วมกับโควิด 19 อย่างปลอดภัย (Living with COVID-19)
  • สื่อสารประชาสัมพันธ์ เชิงรุก อย่างครอบคลุม ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และสร้างความร่วมมือของประชาชนในแต่ละช่วงเวลา
 
เป้าหมาย การบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด