ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

หลักสูตรเรียนออนไลน์ฟรี ปี 65 ของจุฬา (Chula MOOC) เนื้อหาสุขภาพ น่าสนใจ

หลักสูตรเรียนออนไลน์ฟรี ปี 65 ของจุฬา (Chula MOOC) เนื้อหาสุขภาพ น่าสนใจ HealthServ.net
หลักสูตรเรียนออนไลน์ฟรี ปี 65 ของจุฬา (Chula MOOC) เนื้อหาสุขภาพ น่าสนใจ ThumbMobile HealthServ.net

คอร์สเรียนออนไลน์ฟรี ของจุฬาฯ (Chula MOOC) แบ่งเป็น 5 หมวด ได้แก่ ภาษา เทคโนโลยี การจัดการ ศิลปะและการพัฒนาตนเอง และสุขภาพ สมัครเข้าเรียนได้ฟรี ที่ mooc.chula.ac.th

หลักสูตรเรียนออนไลน์ฟรี ปี 65 ของจุฬา (Chula MOOC) เนื้อหาสุขภาพ น่าสนใจ HealthServ
 
ความรู้มีไม่รู้จบ ต้องหมั่นเติม เสริมทักษะและพัฒนาความรู้กันเป็นประจำ เพราะความรู้ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำงาน สร้างสรรค์งาน การประกอบอาชีพ และสามารถต่อยอดเป็นงานอื่นๆได้อีกมาก ความรู้นี่ก็แปลก คนรู้และชอบรู้จะรู้และเข้าใจ แต่คนไม่ชอบรู้ ยังไงก็ไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำคัญ 
 
 

คอร์สสุขภาพน่าสนใจ


จุฬาฯ MOOC จัดคอร์สใหม่ๆ น่าสนใจเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ การดูแลตนเอง และอื่นๆ มาฝากเราหลายเรื่องมากๆ  
 
  • สมัครเรียนก็ง่ายนิดเดียว ไปที่นี่ได้เลย  https://mooc.chula.ac.th/
 
 
 
ลดน้ำหนักด้วยอาหารและวิธีการหลากหลาย (Weight loss by diet and various approaches) 
 
  • ศ.ดร.ภญ.จงจิตร อังคทะวานิช
  • เนื้อหา 13 บทเรียน
  • mooc.chula.ac.th/courses/273
     
ลดน้ำหนักด้วยอาหารและวิธีการหลากหลาย (Weight loss by diet and various approaches) เนื้อหาวิชาจะนำเสนอเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการลดน้ำหนัก ตั้งแต่นิยามและเกณฑ์ตัดสินความอ้วน ปัจจัยด้านอาหารชนิดต่าง ๆ ที่อาจจะเพิ่มน้ำหนักหรือช่วยลดน้ำหนัก รวมทั้งวิธีการลดความอ้วนแบบต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่ มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเป็นอย่างไร บางผลิตภัณฑ์อาจก่อผลเสียต่อสุขภาพขั้นรุนแรงได้ วิชานี้จะช่วยให้ผู้เรียนรู้เท่าทัน และลดน้ำหนักได้อย่างไม่ทำร้ายสุขภาพและเกิดผลยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
 
 
 
 
Music Therapy ดนตรีบำบัด
 
วิชา Music Therapy ดนตรีบำบัด เนื้อหาวิชานี้จะมุ่งเน้นความรู้เกี่ยวกับดนตรีบำบัดเบื้องต้น โดยผู้เรียนจะได้เข้าใจความหมาย ความเป็นมาของดนตรีบำบัด เรียนรู้วิธีการทำงานของนักดนตรีบำบัดที่ได้มาตรฐาน ได้เห็นภาพในการทำงานดนตรีบำบัดโดยรวม ได้เรียนรู้เทคนิคการใช้ดนตรีและเครื่องดนตรีในทางการบำบัด เข้าใจถึงทักษะต่าง ๆ ที่สำคัญในการเป็นนักดนตรีบำบัด และสามารถนำดนตรีไปใช้เพื่อการดูแลตนเองเบื้องต้นได้



 
 
สังคมผู้สูงอายุและการดูแลสุขภาพช่องปาก (Aging Society and The Oral Health Care)



รายวิชา Aging Society and The Oral Health Care จะนำเสนอเกี่ยวกับสภาวะการเข้าสู่ของสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ความสำคัญของการเตรียมตัวรับมือของของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในฐานะบุคคลากรที่ทำงานด้านสาธารณสุข การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสภาพจิตใจ ที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพองค์รวม การเปลี่ยนแปลงของสุขสภาวะในช่องปาก การตรวจและการดูแลรักษา ในเรื่องของการให้การรักษาจะกล่าวถึงเนื้อหาทางทันตกรรมด้านต่าง ๆ ตลอดจนการออกแบบปรับปรุงสถานที่พักอาศัย การเปลี่ยนแปลงที่ให้บริการทางสาธารณสุข เพื่อให้ใช้งานได้ระยะยาว การอำนวยความสะดวกแก่สภาพร่างกายที่เปลี่ยนไป
 
 
 
แนวทางการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Design guidelines for energy saving and eco friendly house)
 
 
แนวทางการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะมีเนื้อหาวิชาให้ความรู้แก่ นิสิต นักศึกษา นักออกแบบและประชาชนทั่วไป ด้านความเข้าใจในเรื่องบ้านประหยัดพลังงานอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แนวทางการออกแบบ และตัวอย่างการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานที่ได้จากการประกวด ตลอดจนให้ประชาชนสามารถ download แบบก่อสร้างบ้าน เอกสารแนะนำด้านการประหยัดพลังงานและราคากลางเพื่อนำไปพัฒนาใช้ได้จริง
 
 
 
 
 
 
คนรักสุนัข: Dog Lover

  • คณาจารย์จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 10 บทเรียน
  • mooc.chula.ac.th/courses/11


วิชา คนรักสุนัข : Dog Lover เป็นวิชาที่เริ่มต้นจากคนที่รักสุนัขและลงท้ายด้วยความเข้าใจว่าจะต้อง ดูแลสุนัขอย่างไร โดยเนื้อหาวิชานี้เปรียบเสมือนคู่มือการเลี้ยงสุนัขเบื้องต้นเพราะว่าจะนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับ วิธีการเลือกสุนัข การเข้าใจพฤติกรรมของสุนัข การดูแลสุขภาพเบื้องต้น การเลือกอาหาร การสังเกตอาการป่วย ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อต่างๆ การคุมกำเนิด รวมถึงการดูแลสุนัขในช่วงอายุต่างๆ
 
 
 
 
รอบรู้ สู้มะเร็งเต้านม


วิชา รอบรู้ สู้มะเร็งเต้านม เป็นวิชาที่จะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับโรคเต้านม ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม โดยผู้เรียนสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้มาตรวจสอบร่างกายของตนเองเบื้องต้นว่า เราอยู่ในประเภทใดบ้าง มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ และเพื่อให้ผู้เรียนได้รับทราบแลมีความรู้ถึงขั้นตอนการตรวจคัดกรอง การวินิจฉัย วิธีการรักษาด้วยวิธีต่างๆ เช่น การรักษาด้วยการผ่าตัด การรักษาด้วยการให้ยา การฉายแสง หรือการใช้รังสีรักษา
 
 
 
 
ผลิตภัณฑ์สำหรับดวงตา (Eye Care Products)

  • อ.สพ.ญ.ดร.วุฒิพร ลิ้มประสูตร, ผศ.ภญ.ดร.รัชนี รอดศิริ, รศ.ภญ.ดร.วริษา พงศ์เรขนานนท์ และ ภก.ดนุพล เชวงกิจสกล
  • 6 บทเรียน
  • mooc.chula.ac.th/courses/242

วิชา ผลิตภัณฑ์สำหรับดวงตา (Eye Care Products) โดยเนื้อหาวิชานี้จะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์หลักการทางกายวิภาคและสรีรวิทยา เพื่อใช้อธิบายการใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับดวงตาต่าง ๆ ซึ่งจะเอื้อให้ผู้เรียนมีความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการเลือกใช้ รู้วิธีที่ถูกต้องในการใช้งาน รวมทั้งวิธีการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับดวงตาในท้องตลาด ได้แก่ ขนตาปลอม คอนแทคเลนส์ นำ้ยาล้างคอนแทคเลนส์ นำ้ตาเทียม และยาหยอดตา สำหรับทักษะที่ผู้เรียนจะได้พัฒนาเมื่อเรียนวิชานี้ คือ ผู้เรียนจะทราบถึงหลักการทำงานของดวงตาและการมองเห็น สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องปลอดภัย และเก็บรักษาได้อย่างถูกวิธี
 
 
 
 
 
การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support)

  • อ.นพ.ธนดล โรจนศานติกุล และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 6 บทเรียน
  • mooc.chula.ac.th/courses/272

การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานเป็นความรู้และทักษะพื้นฐานที่ประชาชนทั่วไปพึงมี และสามารถทำได้ ซึ่งการเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุฉุกเฉินสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสังคมใหญ่ที่ประกอบด้วยนิสิต คณาจารย์ และบุคลากรจำนวนมาก ดังนั้นหากนิสิต คณาจารย์ และบุคลากรทุกท่านมีความรู้และทักษะในการแจ้งเหตุฉุกเฉิน การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์เบื้องต้นได้นั้น จะเป็นการเพิ่มโอกาสรอดชีวิตและลดภาวะทุพพลภาพแก่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินได้ ดังนั้นหากผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาการแจ้งเหตุฉุกเฉิน การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน การปฐมพยาบาลเหตุฉุกเฉินการแพทย์เบื้องต้น จะส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะสามารถนำไปใช้ช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว เพื่อนร่วมงานและผู้ประสบเหตุในสังคมได้ต่อไป
 
 
 
 
 
การดูแลตนเองเพื่อการเป็นผู้สูงวัยสุขภาพดีมีความสุข


วิชา การดูแลตนเองเพื่อการเป็นผู้สูงวัยสุขภาพดีมีความสุข เป็นการนำเสนอความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีและมีความสุขในทุกช่วงวัย โดยจะมุ่งเน้นการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในมิติต่าง ๆ ตามแนวทางการบูรณาการดูแลผู้สูงอายุขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นผลผลิตจากการประชุมผู้เชี่ยวชาญ และความร่วมมือกับกรมอนามัย กรมการแพทย์ สำนักอนามัย สสส. ภายใต้โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย (จุฬาอารี) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ สำหรับเนื้อหาวิชาจะประกอบด้วย ความรอบรู้ และการตระหนักรู้ตนเองด้านสุขภาพ กิจกรรมทางกาย โภชนาการเพื่อสุขภาพดี การได้ยิน และการมองเห็น การดูแลตนเองเพื่อชะลอสมองเสื่อม การดูแลสุขภาพช่องปาก และการดูแลสุขภาพจิต เป็นต้น
 
 
 
 
กินอย่างไรห่างไกลมะเร็ง


วิชา กินอย่างไรห่างไกลมะเร็ง จะมีเนื้อหาทั้งหมด 6 บทเรียน โดยจะนำเสนอเกี่ยวกับการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของอาหารกับโรคมะเร็ง โดยการให้ข้อมูลสถานการณ์ความเจ็บป่วย ชี้แนะเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การก่อโรคมะเร็ง ให้ความกระจ่างในประเด็นปัญหาความสับสนเรื่องอาหารกับโรคมะเร็ง ทั้งยังสร้างความตระหนักในการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ก่อนส่งให้ผู้อื่น แนะนำและอธิบายวิธีการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับอาหารกับการเกิดโรคมะเร็ง และสรุปรวบยอด อาหารที่เสี่ยง และอาหารที่ช่วยปกป้องจากโรคมะเร็ง เป็นต้น เป็นการให้ความรู้แก่ผู้เรียนเพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
 
 
 
วิธีการดูแลตนเองเบื้องต้นในผู้ป่วยโรคกระจกตาและผิวดวงตา

  • คณาจารย์จากภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 10 บทเรียน
  • mooc.chula.ac.th/courses/223


วิชา วิธีการดูแลตนเองเบื้องต้นในผู้ป่วยโรคกระจกตาและผิวดวงตา เนื้อหาวิชาจะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการดูแลตนเองอย่างถูกต้องในผู้ป่วยโรคกระจกตา และผิวดวงตา โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทักษะและสามารถดูแลตนเองในเบื้องต้นเมื่อมีโรคของกระจกตาและผิวดวงตา สามารถประเมินความผิดปกติที่ต้องเข้าพบแพทย์ได้เองในเบื้องต้น ตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคของกระจกตาและผิวดวงตาได้อย่างเหมาะสม
 
 


 
 
อาหารสุขภาพ รู้ทัน รู้จริง

 
วิชาอาหารสุขภาพ รู้ทัน รู้จริง จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลตนเองให้มีสุขภาพดีห่างไกลจากโรค ด้วยข้อแนะนำการกินอาหารที่ถูกต้อง สำหรับกรใช้ชีวิตในสังคมยุคดิจิทัล และสื่อโซเชียลที่มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารมากมาย ทำอย่างไรจึงจะรู้เท่าทัน ทำอย่างไรจึงจะไม่ตกเป็นเหยื่อ ข่าวลวงมากมายที่ทำให้ผู้คนไขว้เขว สับสน กับข้อมูลอาหารที่ทำให้มีสุขภาพดี ซึ่งนำไปสู่การแชร์จนมีการปฏิบัติตาม และสามารถนำไปสู่ผลเสียต่อสุขภาพได้
 
 
 
 
 
สุขภาพดีในภาวะโลกร้อน: Health in Global Warming

  • คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 5 บทเรียน
  • mooc.chula.ac.th/courses/52


รายวิชา สุขภาพดีในภาวะโลกร้อน: Health in Global Warming จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเผยแพร่าความรู้เรื่อง สาเหตุโลกร้อน และผลกระทบต่อสุขภาพ การป้องกันการแพร่ระบาดของพาหะนำโรค เชื้อโรคที่มีผลจากภาวะโลกร้อน ปัญหาสุขภาพกับภาวะโลกร้อน และกาจัดการ ภาวะอาหารเป็นพิษ การสร้างสุขภาพกายและสุขภาพจิต การจัดการด้านอารมณ์และจิตใจ การดูแลเรื่องสุขาภิบาลอาหาร และสุขอนามัย และสุดท้ายเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณขยะ และสารพิษตกค้าง
 
 
 


ความรู้เรื่องตาสำหรับประชาชน Eye for all
 
  • ความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
  • 8 บทเรียน
  • mooc.chula.ac.th/courses/185
 
คณาจารย์ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชาความรู้เรื่องดวงตาสำหรับประชาชน (Eye for all) เป็นการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ การตรวจคัดกรองโรคตา ความรู้เรื่องโรคเกี่ยวกับตา ไม่ว่าจะเป็น ต้อกระจก ต้อหิน ต้อเนื้อ ต้อลม ตาขี้เกียจ และอื่นๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้ถึงสาเหตุ อาการของโรค และวิธีการรักษาที่ถูกต้อง และถูกวิธี รวมถึงการป้องกันเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำ
 
 


การฟอกไตและการปลูกถ่ายไต (Dialysis and Kidney Transplantation)


รายวิชา การฟอกไตและการปลูกถ่ายไต (Dialysis and Kidney Transplantation) เป็นการนำเสนอความรู้เรื่องโรคไต ให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงความจำเป็นและสำคัญเนื่องจากปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีประชากรที่ป่วยเป็นโรคไตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ความรู้ที่นำเสนอจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคไต ญาติที่ต้องดูแลผู้ป่วย นิสิต/นักศึกษาแพทย์ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ โดยเนื้อหาจะนำเสนอเกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคไตวาย อาการ สาเหตุ ความรุนแรง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การฟอกไตผ่านหน้าท้อง โดยจะกล่าวถึงขั้นตอน วิธีปฏิบัติ ข้อควรระวัง การปลูกถ่ายไต ขั้นตอนการเปลี่ยนถ่าย วิธีการดูแลรักษาหลังจากเปลี่ยนไต ซึ่งความรู้ที่กล่าวมาทั้งหมดหากผู้เรียนได้ศึกษาอย่างถูกต้องก็จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแน่นอน
 
 

 
 
ไตวายเฉียบพลันสำหรับประชาชน
 
  • ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคไตในภาวะวิกฤต ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 11 บทเรียน
  • mooc.chula.ac.th/courses/147

รายวิชา ไตวายเฉียบพลันสำหรับประชาชน จะเป็นการนำเสนอความรู้เรื่องโรคไตวายที่มีความสำคัญสำหรับประชาชนทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป โดยจะเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคไตวาย โดยเริ่มตั้งแต่ ไตคืออะไร หน้าที่ของไตคือ ไตมีความสำคัญอย่างไร โรคไตมีกี่ประเภท ความแตกต่างของโรคไต การสังเกตอาการ สาเหตุการเกิดโรคไต และวิธีการรักษา รวมถึงข้อแนะนำในการรับประทานยาสำหรับคนป่วยโรคไต เป็นต้น

 
 
 
 
 
สุขภาพดีด้วยการออกกำลังกาย ลดโรค ลดเสี่ยง ชีวิตยืนยาว

วิชา สุขภาพดีด้วยการออกกำลังกาย ลดโรค ลดเสี่ยง ชีวิตยืนยาว จะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับทำไมต้องออกกำลังกาย ความสำคัญของการออกกำลังกาย หลักการของการออกกำลังกาย รูปแบบการออกกำลังกาย และท่าบริหารง่ายๆ โดยผู้สอนเห็นว่า การดำรงชีวิตในปัจจุบันของคนเมืองส่วนใหญ่กิจกรรมในแต่ละวันก็จะมุ่งเน้นไปที่การทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ ทำให้คนเหล่านั้นมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย และทำให้ป่วยเป็นโรคเพิ่มจำนวนผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น เนื่องจากคนกลุ่มวัยทำงานไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย และบางคนคิดว่าการรับประทานอาหารที่ดีก็เพียงพอแล้วไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายและบางกลุ่มก็คิดว่าการออกกำลังกาย คือการที่จะต้องไปเข้าฟิตเนสเท่านั้น จริงๆ แล้วการออกกำลังกายสามารถทำได้ทุกที่ ไม่ว่าจะในที่ทำงาน หรือที่บ้าน เพราะฉะนั้นเราควรมาออกกำลังกาย แค่วันละ 30 นาทีก็จะทำให้การออกกำลังกายนั้นสัมฤทธิ์ผลและมีประโยชน์ต่อร่างกาย

 
 
 
 
Health Insurance System: ระบบประกันสุขภาพ

  • คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 3 บทเรียน
  • mooc.chula.ac.th/courses/69

ประเทศไทยมี พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตั้งแต่ พ.ศ. 2545 โดยประชาชนทุกคนล้วนอยู่ภายใต้หลักประกันสุขภาพแบบใดแบบหนึ่ง แต่ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงและทราบถึงหลักการเบื้องต้นของหลักประกันสุขภาพนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และครบถ้วน รวมถึงไม่เข้าใจวิธีการ ขั้นตอนการขอรับการบริการ ภายใต้ระบบประกันสุขภาพเหล่านั้นด้วยเช่นกัน สำหรับวิชา Health Insurance System: ระบบประกันสุขภาพ จะมีเนื้อหานำเสนอเกี่ยวกับหลักการประกันสุขภาพ การแบ่งประเภทของประกันสุขภาพ องค์ประกอบในการประกันสุขภาพ และการเข้าถึงการประกันสุขภาพในประเทศไทย การตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล ขั้นตอนการเข้ารับการรักษาพยาบาล และสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนต่อไป
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด