ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เรื่องน่ารู้ในการดูแลฟันเด็ก เพื่อสร้างทัศนคติและนิสัยที่ดีในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก

เรื่องน่ารู้ในการดูแลฟันเด็ก เพื่อสร้างทัศนคติและนิสัยที่ดีในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก HealthServ.net
เรื่องน่ารู้ในการดูแลฟันเด็ก เพื่อสร้างทัศนคติและนิสัยที่ดีในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก ThumbMobile HealthServ.net

เป็นการสร้างทัศนคติและนิสัยต่างๆให้เด็กในการสนใจที่จะดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของตัวเองต่อไปในอนาคต

 เรื่องน่ารู้ในการดูแลฟันเด็ก 
 
ในปัจจุบันถึงแม้ว่าผู้คนจะให้ความสนใจและใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้นแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากที่ไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของเด็ก และถ้าท่านเป็นคนหนึ่งในนั่นแล้วละก็ ผมขอเตือนให้เปลี่ยนความคิดนั้นเสียใหม่โดยเร็ว พร้อมทั้งหันกลับมาให้ความใส่ใจสุขภาพช่องปากของเด็กหรือลูกหลานของท่านให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากทัศนคติและนิสัยต่างๆ ของเด็ก จะเริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่แรกเกิดเลยทีเดียว และจะเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้เด็กผู้นั้นสนใจที่จะดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของตัวเองต่อไปในอนาคต จนตลอดชีวิต
 
ประโยชน์ของฟลูออไรด์ 
ฟลูออไรด์ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายว่า มีส่วนช่วยในการป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันตแพทย์อาจจะแนะนำหลายๆหนทาง ในการให้ฟลูออไรด์ในเด็กดังนี้
 
 
ดื่มน้ำดื่มที่มีฟลูออไรด์ 
  • รับประทานฟลูออไรด์ชนิดเม็ดหรือชนิดน้ำ ในกรณีที่ในชุมชนนั้นมีค่าฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม ต่ำกว่ามาตรฐาน 
  • การเคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์ 
  • การแปรงฟันด้วย ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบ 
  • การใช้น้ำยาบ้วนปาก ที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบในเด็กที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป 
จากผลการวิจัยพบว่าฟลูออไรด์ จะช่วยลดการเกิดฟันผุได้มากกว่า 50% ในเด็กทีเดียวครับ
 
 
 ฟันผุจากขวดนม (Baby Bottle Tooth Decay) 
 
การเกิดฟันผุจากขวดนม จะทำให้ฟันน้ำนมได้รับความเสียหาย และถูกทำลายได้ สาเหตุของฟันผุจากขวดนมเกิดขึ้นมาจาก การที่ฟันของเด็กสัมผัสกับของเหลว ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่เป็นประจำ เช่น นมขวด รวมถึงนมแม่ด้วย , น้ำผลไม้ และน้ำหวานต่างๆ
 
สมาคมทันตแพทย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำให้กระทำสิ่งต่างๆต่อไปนี้เพื่อป้องกันการเกิดฟันผุในเด็ก เริ่มทำความสะอาดช่องปากให้เด็กทารกที่มีอายุเพียง 2-3 วันหลังจากการดูดนมแม่ทุกครั้ง โดยการใช้ผ้าชุบน้ำหรือผ้าก๊อซเช็ดตามบริเวณเหงือกของเด็ก ทั้งนี้เพื่อขจัดคราบต่างๆออกไป อย่าให้เด็กอมขวดนมหรือดูดนมแม่ติดต่อกันนานมากเกินไป ห้ามให้เด็กดูดนมหรือน้ำหวานต่างๆจนกระทั่งเด็กหลับคาขวดนม ถ้าเด็กติดขวดนมจริงๆก็ให้ใช้น้ำเปล่าใส่ขวดนมให้เด็กดูดแทน พยายามให้เด็กเลิกดูดขวดนมโดยเร็วที่สุด และดื่มนมจากถ้วยแทนเมื่อเด็กเริ่มถือถ้วยเองได้แล้ว 
ปลูกฝังให้เด็กรู้จักการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และสอนให้เด็กมีสุขลักษณะนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร 
 
การเคลือบร่องฟัน 
การเคลือบร่องฟัน จะสามารถช่วยป้องกันฟันผุที่จะเกิดบนด้านบดเคี้ยว ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ที่สุดในการเกิดฟันผุในเด็กได้
 
วัสดุที่ใช้จะเป็นพลาสติกใสหรือมีสีอื่นๆก็ได้ โดยจะเคลือบไปบนด้านบดเคี้ยว อุดปิดหลุมและร่องบนตัวฟันของฟันหลัง ซึ่งเป็นที่ที่จะเกิดฟันผุได้บ่อยมาก
 
เด็กชอบดูดนิ้ว 
ในทารกหรือเด็กเล็กการดูดนิ้วถือเป็นสิ่งปกติ อย่างไรก็ตามเมื่อฟันแท้เริ่มขึ้นมาในช่องปาก และถ้าเด็กยังคงติดนิสัยดูดนิ้วอยู่แล้วละก็ เด็กอาจจะมีความผิดปกติในการเจริญเติบโต ของอวัยวะในช่องปาก รวมทั้งการเรียงตัวของฟันก็อาจจะผิดปกติไปด้วย 
 
เรื่องนี้ทางสมาคมทันตแพทย์ แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้คำแนะนำเอาไว้ว่า
 
  • ควรให้เด็กเลิกดูดนิ้วโดยเด็ดขาด ในทันทีที่ฟันแท้ซี่แรกขึ้นมาในช่องปาก ซึ่งปกติจะเมื่อเด็กอายุประมาณ 6-7 ขวบ 
  • พ่อแม่ควรจะให้รางวัลเด็ก เมื่อเด็กสามารถ หยุดหรือเลิกจากการดูดนิ้วได้ 
  • ถ้าการตักเตือนดีๆ เช่น การให้รางวัลหรือใช้เหตุผลไม่ได้ผล พ่อแม่อาจจะผ้าพันแผลพันที่ นิ้วเด็กเอาไว้เมื่อเด็กเข้านอน หรือจะใช้ถุงเท้าสวมมือเด็กเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กดูดนิ้วได้ 
 
 
 ฟันยางป้องกัน 
ในเด็กที่ชอบออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเสมอๆ เช่น ฟุตบอล , ขี่จักรยาน , Roller Blade , Skate ควรจะใส่ฟันยางเอาไว้เพื่อป้องกันการกระแทกกันของฟัน ซึ่งจะทำอันตรายต่อฟัน เหงือกและช่องปากได้ 
 
ฟันยางแบบสำเร็จรูป สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านค้าทั่วๆไป และทำไว้หลายขนาดให้เลือกตามขนาดของช่องปาก อย่างไรก็ตามถ้าต้องการฟันยางที่สามารถใส่ได้พอดี กับช่องปากของเด็กแต่ละคน ทันตแพทย์ก็สามารถทำให้ได้ ปรึกษาทันตแพทย์ของท่านถึงฟันยางป้องกันได้ครับ 
 
 
ภาวะฉุกเฉินต่างๆ 
การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินในทางทันตกรรมในเด็ก จะเป็นจุดตัดสินว่า เด็กจะสามารถเก็บรักษาฟันเอาไว้ได้ต่อไปหรือไม่ ทางสมาคมทันตแพทย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำแนะนำต่างๆเมื่อเกิด ภาวะฉุกเฉินทางทันตกรรมในเด็กไว้ดังนี้
 
ฟันหลุดออกมาจากช่องปากเนื่องจากอุบัติเหตุ ถ้าฟันสกปรกหรือมีฝุ่นผงติดอยู่ ให้ล้างฟันด้วยน้ำก๊อกที่ไหลเบาๆ ห้ามขัดถูเพื่อเอาเศษเนื้อที่ติดอยู่ออก จากนั้นให้ใส่ฟันซี่นั้นกลับไป ในที่ที่มันหลุดออกมา แล้วจึงพาเด็กไปพบทันตแพทย์ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ให้นำฟันใส่ลงในถ้วยที่มีน้ำเย็นอยู่ แล้วพาเด็กพร้อมกับฟันซี่นั้น ไปพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด ถ้าเป็นไปได้ควรไปพบทันตแพทย์ภายใน 30 นาที 
ปวดฟัน ให้เด็กบ้วนปากด้วยน้ำอุ่น เพื่อทำให้ช่องปากสะอาด จากนั้นให้ใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดเศษอาหาร ที่อาจจะติดอยู่บริเวณซอกฟัน ห้ามใช้ยาแก้ปวดไปแปะติด ตรงบริเวณที่ปวดฟันเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดแผลไหม้ได้ จากนั้นให้พาเด็กมาพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด 
 
เท่านี้หลายๆท่านคงจะสามารถดูแลฟันเด็กได้ดียิ่งขึ้นแล้วนะครับ ที่สำคัญคือ อย่าลืมพาเด็กไปตรวจสุขภาพฟันกับทันตแพทย์ทุก 6 เดือนครับ 
 
เอกสารอ้างอิง : ADA News Release ; Feb 1996 ; American Dental Association 
แหล่งที่มา http://www.siamdental.com/indexconf.htm
 
บริการทันตกรรมเด็กรพ.วิภาวดี  โดยทันตแพทย์ สาขาเด็กโดยเฉพาะ
(ดูรายละเอียด ที่ medical services
 
- บริการขัดและเคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์ เพื่อป้องกันฟันผุ
- การเคลือบหลุมร่องฟัน เพื่อป้องกันฟันผุตามร่องฟัน
- การอุดฟัน การรักษารากฟันในฟันเด็กที่ผุ ถึงโพรงประสาทฟัน
- การจัดฟัน 
- การถอนฟัน  การรักษารากฟันเด็ก
 
ศูนย์ทันตกรรม รพ.วิภาวดี 
โทร : 0-2561-1111 , 0-2941-2800 กด 1
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด