ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คกก.โรคติดต่อฯ เห็นชอบยกเลิกเขตติดโรคติดต่ออันตราย "โควิด" นอกราชอาณาจักร และเพิ่ม "ฝีดาษวานร" เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังลำดับที่ 56

คกก.โรคติดต่อฯ เห็นชอบยกเลิกเขตติดโรคติดต่ออันตราย "โควิด" นอกราชอาณาจักร และเพิ่ม "ฝีดาษวานร" เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังลำดับที่ 56 HealthServ.net
คกก.โรคติดต่อฯ เห็นชอบยกเลิกเขตติดโรคติดต่ออันตราย "โควิด" นอกราชอาณาจักร และเพิ่ม "ฝีดาษวานร" เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังลำดับที่ 56 ThumbMobile HealthServ.net

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติมีมติเห็นชอบร่างประกาศยกเลิกท้องที่นอกราชอาณาจักรเป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย "โควิด" หลังแนวโน้มลดลงทั่วโลก ฉีดวัคซีนจำนวนมากมีการผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศ และร่างประกาศเพิ่ม "ฝีดาษวานร" เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังลำดับที่ 56 และรับทราบมาตรการควบคุมป้องกันโรคในสถานบันเทิง ผับบาร์ คาราโอเกะ อาบอบนวด

 
 
       7 มิถุนายน 2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2565 โดยมี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมประชุม
 
 
       นายแพทย์เกียรติภูมิ กล่าวว่า ที่ประชุมวันนี้มีการพิจารณาและเห็นชอบ 2 เรื่อง คือ 1. ยกเลิกท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 และ 2. ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เพิ่มชื่อโรคฝีดาษวานรหรือฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังลำดับที่ 56 ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558
 

รายละเอียดแต่ละประเด็นดังนี้
 
 
1. ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... 
 
       เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ทั่วโลกอยู่ในแนวโน้มลดลง สายพันธุ์โอมิครอนมีความรุนแรงลดลง และทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนแล้วจำนวนมาก ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่มีการผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางมากขึ้น โดยคนไทยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนระบบ Thailand Pass เพียงแสดงข้อมูลการฉีดวัคซีนและผลตรวจ professional-ATK หรือ RT-PCR ก็พบว่าผู้เดินทางเข้าประเทศวันละหลายหมื่นคน มีผู้ติดเชื้อโควิด 19 น้อยมาก หรือบางวันไม่พบผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศเลย ถือว่ามีความปลอดภัย จึงนำมาสู่การเห็นชอบประกาศยกเลิกเขตโรคติดต่ออันตรายนอกราชอาณาจักร
 
       "ประเทศไทยเองสถานการณ์ดีขึ้นเรื่อยๆ หลังจากเปิดภาคเรียน 3 สัปดาห์ และวันที่ 1 มิถุนายน ที่ผ่านมามีการผ่อนคลายมาตรการให้เปิดสถานบันเทิงในพื้นที่เฝ้าระวังและพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว 31 จังหวัด โดยต้องผ่านมาตรฐาน Thai Stop Covid 2 plus และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. จนถึงวันนี้ยังไม่พบสถานการณ์การระบาดมากขึ้น กระทรวงสาธารณสุขยังคงเน้นให้ทุกจังหวัดเตรียมพร้อมเข้าสู่ระยะ Post pandemic สำหรับการกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติของประชาชน โดยดำเนินการตามมาตรการ "2U" คือ Universal Prevention และ Universal Vaccination โดยให้กลุ่มเสี่ยง 608 คือผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี และโรคเรื้อรังรับวัคซีนเข็มกระตุ้นมากกว่า 60% และมาตรการ 3 พอ คือ เตียงพอ หมอพอ และยาเวชภัณฑ์พอ" นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าว
 
 
 
 
2. ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... โดยเพิ่มชื่อโรคฝีดาษวานรหรือฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังลำดับที่ 56 ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 
 
       ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการด้านวิชาการที่ประชุมหารือเรื่องนี้เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมาว่า โรคฝีดาษวานร ยังแพร่ระบาดในต่างประเทศ ประเทศไทยมีการเฝ้าระวัง และยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อในประเทศ  โดยกรมควบคุมโรคได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (EOC) กรณีโรคฝีดาษวานร และเตรียมความพร้อมเสริมมาตรการคุมเข้ม ทั้งที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่สนามบินนานาชาติ และสั่งการโรงพยาบาลในสังกัดรัฐและเอกชน เตรียมพร้อมเฝ้าระวัง สังเกตอาการกลุ่มเสี่ยง และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการติดเชื้อ ฝีดาษลิง"
 
 
 
       นอกจาก 2 ประเด็นหลัก ที่ประชุมยังรับทราบมาตรการควบคุมและป้องกันโรคในสถานบริการ ผับบาร์ หรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดโรคทั่วราชอาณาจักร มีรายละเอียดหลายข้อ ดังนี้
 
มาตรการด้านการบริการ 
- กำหนดให้เปิดบริการ จำหน่ายและบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เกิน 24.00 น. 
- งดบริการเครื่องดื่มที่ใช้แก้วร่วมกัน 
- งดกิจกรรมส่งเสริมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
- การให้บริการที่มีการคลุกคลีและสัมผัสใกล้ชิดกับลูกค้าจะต้องสวมหน้ากาก 
 
มาตรการสำหรับผู้ให้บริการ 
- พนักงาน นักร้อง นักดนตรี ต้องได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นตามเกณฑ์ 
- ตรวจคัดกรองความเสี่ยงทุกวัน 
- ตรวจ ATK ทุก 7 วัน 
- เมื่อมีอาการหรือความเสี่ยง ปฏิบัติตามมาตรการ Universal Prevention (UP)
 
ส่วนมาตรการสำหรับลูกค้า 
- ต้องแสดงหลักฐานรับวัคซีนเข็มกระตุ้นครบตามเกณฑ์ 
- ปฏิบัติตามมาตรการ UP เช่นกัน 
- กลุ่มเสี่ยง 608 ยังแนะนำให้งดหรือเลี่ยงการเข้ารับบริการ
 
 


สถานประกอบการต้องขออนุญาต

          สำหรับสถานประกอบการต้องขออนุญาตคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. ประเมินตนเองผ่าน Thai Stop COVID 2 Plus ซึ่งทั่วประเทศสถานบันเทิงที่ลงทะเบียน 760 แห่ง จากทั้งหมด 2,890 แห่ง ผ่านการประเมิน 100% เช่นเดียวกับสถานบันเทิงในพื้นที่เฝ้าระวังและนำร่องท่องเที่ยวที่มีการลงทะเบียน 688 แห่ง จากทั้งหมด 2,135 แห่ง ผ่านการประเมิน 100% เช่นกัน

          นอกจากนี้ ยังต้องทำตามมาตรการ COVID Free Setting จัดพื้นที่บริการมีระยะห่างระหว่างโต๊ะอย่างน้อย 1 เมตร มีการระบายอากาศที่เพียงพอ กรณีเป็นอาคารปิดและใช้เครื่องปรับอากาศควรเปิดพัดลมระบายอากาศตลอดเวลา อาจติดตั้งเครื่องฟอกอากาศตามความเหมาะสมและจัดให้มีการตรวจสอบผู้รับบริการว่ารับวัคซีนครบถ้วน ขณะที่ฝ่ายปกครองท้องถิ่นและคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. มีการติดตามกำกับอย่างใกล้ชิด โดยจัดตั้งทีมตรวจประเมิน ให้คำแนะนำ ตักเตือนสถานบริการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคและมาตรการทางกฎหมาย รวมถึงสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประสานข้อมูลทะเบียนรายชื่อสถานบริการ สถานบันเทิง ผับบาร์ คาราโอเกะ อาบอบนวดกับปกครองจังหวัดและ อปท.พื้นที่ จัดทำแผนสุ่มเฝ้าระวังสถานบริการในพื้นที่ทุกสัปดาห์ และรายงานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. และกระทรวงสาธารณสุข
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด