ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

แนวทางการใช้ Antigen Test Kit ในการตรวจหาเชื้อโควิด 19

แนวทางการใช้ Antigen Test Kit ในการตรวจหาเชื้อโควิด 19 HealthServ.net
แนวทางการใช้ Antigen Test Kit ในการตรวจหาเชื้อโควิด 19 ThumbMobile HealthServ.net

ปัจจุบันเเรียกชุด Antigen Test Kit แทนคำว่า Rapid Antigen Test เพื่อไม่ให้สับสน

แนวทางการใช้ Antigen Test Kit ในการตรวจหาเชื้อโควิด 19 HealthServ

12 กรกฎาคม 2564 นพ. ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้รายละเอียดและแนวทางการใช้ Antigen Test Kit ในการตรวจหาเชื้อโควิด 19 โดยเบื้องต้น ได้ชืี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับชื่อเรียกชุดตรวจ ที่เหมาะสม ไม่สบสน ดังนี้

"การใช้ชุด Antigen Test Kit ปัจจุบันเราไม่ได้เรียก Rapid Antigen Test เพราะจะเกิดความสับสนด้วยคำว่า Rapid ที่แปลว่าเร็ว จะคิดกันว่า เป็นการตรวจจับเชื้อไวรัสได้เร็ว ซึ่งไม่ใช่ ที่ถูกคือ รู้ผลการตรวจเร็ว ตรวจง่ายและรู้ผลเร็ว ปัจจุบันจึงหลีกเลี่ยงลดความสับสน โดยเรียกเป็น Antigen Test Kit แทน"

หลักการ Antigen Test Kit

ปัจจุบัน Antigen Test Kit มีขึ้นทะเบียนประมาณ 24 ยี่ห้อ เป็นการใช้แบบที่เรียกว่า Professional Use กล่าวคือต้องใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์ ไม่สามารถที่จะเอาไปใช้โดยใครก็ได้ หรือเอาไปใช้ตรวจเองได้  แต่ว่าในอนาคตอันใกล้ ทางอย.ได้เสนอให้มีการปลดล็อคตรงนี้ ก็จะสามารถวางจำหน่ายในร้านยาที่มีเภสัชกรแนะนำได้  ประชาชนก็จะสามารถซื้อไปตรวจเองได้
 

การเก็บตัวอย่างการตรวจ

เนื่องจาก Test Kit มี 2 แบบ  คือแบบตรวจภูมิคุ้มกัน จะใช้การเจาะเลือดปลายนิ้วหรือเจาะเลือดจากท้องแขน แต่อันที่กล่าวถึงอยู่นี้ เป็นชุดการตรวจหา Antigen คือ "องค์ประกอบของไวรัส"  เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะเอามาใช้ตรวจ จะเหมือนกับการตรวจ RT-PCR ก็คือ แหย่จมูกไปจนถึงคอหอย หรือว่าแหย่ทางช่องปาก หรือทางโพรงจมูกหรือน้ำลาย ขึ้นกับว่าชุดตรวจจะระบุไว้ว่า ให้เก็บสิ่งส่งตรวจจากไหนมาตรวจ 
 
พึงเข้าใจว่า การตรวจอันนี้เป็นการคัดกรองเบื้องต้น ความจำเพาะและความไว จะสู้ RT-PCR ที่เป็นวิธีมาตรฐานไม่ได้
 

ใช้ชุดตรวจนี้ในกรณีใด

สำหรับสถานพยาบาล-สถานบริการ ที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก คิวยาว อาจจะใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit นี้ ตรวจเบื้องต้นไปก่อนได้ หากใครพบว่าเป็นบวก ก็ไปตรวจด้วย RT-PCR เพื่อยืนยันผลอีกครั้งได้
 
ส่วนคนที่เป็นผู้ต้องสงสัยหรืออยากรู้ เนื่องจากมีโอกาสไปสัมผัสการติดเชื้อมา แต่ไม่มีอาการใดๆ เบื้องต้น อาจจะไปคลินิกหรือสถานบริการใกล้บ้านที่กำหนด ซึ่งจะมีครอบคลุมอยู่ในกรุงเทพฯ จำนวนมาก เพื่อร้องขอให้มีการใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit ตรวจก่อนในเบื้องต้นได้

ในการตรวจนี้ หากผลเป็นลบ (Negative) เนื่องจากชุด Antigen Test Kit นี้ มีข้อด้อยคือหากเชื้อไม่มากพอ อาจจะตรวจไม่เจอ (ให้ผลเป็นลบ) จึงอาจต้องมีการการตรวจซ้ำ แนะนำว่าถ้ายังไม่มีอาการใดๆ ให้ตรวจซ้ำใน 3-5 วัน แต่หากมีอาการให้ตรวจซ้ำได้เลย

การใช้ชุดตรวจ ถ้าในอนาคต มีการวางขายให้ท่านซื้อหา หรือจะร้องขอจากศูนย์บริการของทางการ แล้วเอาไปตรวจเอง จะต้องเป็นชุดตรวจที่สามารถจะเก็บตัวอย่างได้โดยง่าย และทำได้ด้วยตัวเอง เช่น เก็บจากโพรงจมูก หรือตรวจจากน้ำลาย เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ก็มีชุดตรวจอยู่จำนวนหนึ่ง ที่กำลังมาขอแจ้งต่อ อย. เพื่อจะปรับให้สามารถตรวจได้ตัวเองได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็จะมีทางเลือกให้ใช้ได้มากขึ้นในระยะต่อไป

ส่วนการตรวจด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้มีข้อห้ามแต่อย่างใด ในหลายๆ สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาล มีความพยายามจะเอาแนวทางการตรวจเทคนิคอื่น มาใช้ ซึ่งอาจจะช่วยลด เวลาลดการรอคอยลงได้ พวกนี้ก็เป็นเทคนิคการตรวจหาเชื้อที่อาจจะสู้มาตรฐานอาชีพ RT-PCR 100% ไม่ได้แต่ว่าก็จะช่วยในการที่จะวินิจฉัยได้ต่อไป
 
 
แนวทางการใช้ Antigen Test Kit ในการตรวจหาเชื้อโควิด 19 HealthServ

ข้อแนะนำการใช้ชุดตรวจด้วยตัวเอง

ถ้าในอนาคตหากสามารถจะมีวางขายหรือสามารถจะให้ท่านนำไปตรวจได้ด้วยตัวเอง มีคำแนะนำดังนี้
1. ตรวจสอบประเภทของตัวอย่างที่ใช้ทดสอบกับชุดตรวจได้  เช่น ชนิดที่ใช้ไม้แหย่จมูก หรือตรวจจากน้ำลาย 

2. ศึกษาขั้นตอนวิธีการการนำเอาไปใช้ ให้ดี วิธีการทดสอบ การแปลผล เอกสารกำกับต้องเขียนให้ชัด วิธีตรวจเป็นอย่างไรบ้าง เพราะทุกวันนี้เขาให้หมอพยาบาลใช้นะครับการแพทย์ใช้ การเขียนก็อาจจะซับซ้อน ต่อไปผู้จำหน่ายก็อาจจะต้องจัดให้มีความชัดเจน ให้ให้ประชาชนเข้าใจได้โดยง่าย
 
3. การเก็บตัวอย่างให้ถูกต้อง ถูกตำแหน่ง ถูกขั้นตอน
 
4.ข้อควรระวัง 
  • การเก็บชุดตรวจ ไม่ควรตากหรือโดนแดด จะทำให้ชุดตรวจสื่อมสภาพ เก็บรักษาในอุณหภูมิที่กำหนดก่อนนำมาใช้งาน
  • ต้องตรวจสอบวันหมดอายุ เครื่องมือแพทย์แบบนี้จะมีอายุไม่ยาวนาน
  • ต้องเตรียมพื้นที่ สถานที่ตรวจ ไม่ให้โดนผู้อื่นและไม่ให้แพร่เชื้อ ไม่ปนเปื้อน
  • อย่าเปิดหรือฉีกซองที่บรรจุตลับทดสอบ จนกว่าจะเริ่มทำการทดสอบ
  • อ่านผลตรงตามเวลาที่กำหนด ชุดตรวจกำหนดอย่างเคร่งครัด การอ่านผลเร็วหรือช้าเกินไป อาจเกิดความผิดพลาดได้
  • ไม่นำอุปกรณ์หรือตลับทดสอบอันเดิมมาใช้ซ้ำ
  • เมื่อตรวจเสร็จ อุปกรณ์ทั้งหมดต้องเก็บให้ดี ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อทำลายเชื้อ ไม่ให้กระจายเชื้อต่อไป
  • ทำความสะอาด ล้างมือหลังทดสอบ

กรณีตรวจแล้วให้ผลบวก

หากท่านตรวจแล้วให้ผลบวก ต้องรีบแจ้งสถานบริการ เช่น คลินิกชุมชนอบอุ่น หรือศูนย์บริการสาธารณสุขของกทม. หรือคลินิกที่อยู่ในเครือข่ายใดก็ตามที่มีการกำหนดไว้ เพื่อดำเนินการต่อ โดยอาจจะไปทำ Home isolation หรือเข้า Community isolation หรือหากมีอาการไม่ดี ก็จะนำเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลต่อไป
 
หากมีผลเป็นบวก แต่ไม่มีอาการอะไรเลย หลังจากไปแจ้งแล้ว อาจให้ท่านกักตัว ระหว่างรอสถานพยาบาล ในการดูแลป้องกันตัวเอง ไม่ให้แพร่เชื้อต่อไป
 
กรณีถ้าเป็นผลลบ และคิดว่ามีความเสี่ยงสูง อาจจะตรวจซ้ำได้ ในกำหนดประมาณ 3-5 วัน เพราะว่าเชื้ออาจจะเพิ่มขึ้นมีจำนวนเพิ่มขึ้น ก็จะมีโอกาสตรวจเป็นบวกได้มากขึ้น 
 
หากตรวจแล้ว ผลยังเป็นลบอีก หมายถึงโอกาสที่จะเป็นก็น้อยลง 
 
หากผลตรวจเป็นลบ แต่ในระหว่างรอตรวจซ้ำ แล้วมีอาการขึ้นมาชัดเจน ไม่สบาย เป็นไข้ เป็นหวัด ไอเจ็บคอ ก็สามารถตรวจซ้ำได้เลย หรือไปพบคลินิก
 

องค์ประกอบชุดตรวจ Antigen Test Kit

ประกอบด้วย
  • ตลับทดสอบตลับสีขาว
  • หลอดใส่น้ำยาสกัด
  • ฝาปิดหลอด หลอดหยด
  • ไม้ Swab พันสำลี 
  • เอกสารกำกับชุดตรวจ อธิบายขั้นตอนการตรวจเป็นอย่างไร
 
แนวทางการใช้ Antigen Test Kit ในการตรวจหาเชื้อโควิด 19 HealthServ

วิธีการใช้งานและแปลผล

1. การเก็บสิ่งส่งตรวจ
เมื่อแหย่จมูก ต้องวนประมาณอย่างน้อย 5 รอบ เพื่อให้ได้สิ่งคัดหลั่งที่บริเวณโพรงจมูกให้มามากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

2. ขั้นตอนทดสอบ 
2.1 จุุ่มไม้ swab ลงในหลอดที่มีน้ำยาสกัด หมุนและบีบ อย่างน้อย 5 รอบ เพื่อให้สิ่งคัดหลั่งได้สัมผัสกับน้ำยาที่อยู่ในหลอดนั้นให้มากที่สุด  แล้วนำไม้ออก แล้วปิดด้วยจุกฝาหลอดหยอด
2.2 หยดน้ำยาลงในตลับทดสอบตามจำนวนที่ชุดตรวจกำหนด 
2.3 รออ่านผลหลังหยดน้ำยาตามช่วงเวลาที่ชุดตรวจกำหนด โดยมากกำหนด 15-30 นาที ห้ามอ่านผลก่อนหรือหลังเวลาที่กำหนดไว้

3.การอ่านผลและแปลผลทดสอบ
การอ่านผล จะเส้นมีอยู่ 2 ส่วน คือ ตัว C กับตัว T
ตัว C คือ Control คือเส้นควบคุม
ถ้าเส้นนี้ไม่ขึ้นแสดงว่าวิธีการที่ตรวจมาทั้งหมดไม่ถูกต้อง ต้องหาชุดตรวจมาตรวจใหม่ แต่ถ้าขึ้นแสดงว่าใช้ได้

จากนั้นจึงมาดูผลจากตัว T
ถ้าตัว T มีเส้น แสดงว่า ผลเป็นบวก มีโอกาสมีติดเชื้อไวรัส
ถ้าตัว T ไม่ขึ้น คือ เป็นลบ ยังไม่มีการติดเชื้อไวรัสเกิดขึ้น

จะขอเครื่องตรวจได้ที่ใด
จะมีการกำหนดต่อไปว่าจะสามารถรับได้ที่สถานพยาบาลใด หรือที่ใดบ้าง  ในอนาคตหากมีการวางขายทั่วไป ราคาก็จะถูกลงมาก อาจจะซื้อหาไปตรวจเองได้ง่ายขึ้น
แนวทางการใช้ Antigen Test Kit ในการตรวจหาเชื้อโควิด 19 HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด