ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

แนวทางการใช้ยาตำรับหมอเดชา (ยาบัญชี 3) โดย กรมการแพทย์แผนไทยฯ

แนวทางการใช้ยาตำรับหมอเดชา (ยาบัญชี 3) โดย กรมการแพทย์แผนไทยฯ HealthServ.net
แนวทางการใช้ยาตำรับหมอเดชา (ยาบัญชี 3) โดย กรมการแพทย์แผนไทยฯ ThumbMobile HealthServ.net

น้ำมันหมอเดชา เป็นตำรับยาที่ได้รับการรับรองจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกให้เป็นตำรับที่ปรุงขึ นจากองค์ความรู้การแพทย์พื นบ้านของนายเดชา ศิริภัทร จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีส่วนผสมของกัญชา เป็นตำรับยาที่มีกรรมวิธีการผลิตที่สอดคล้องกับรูปแบบการปรุงยาตามวิธีโบราณ 28 วิธี คือ วิธีการหุงน้ำมัน และเป็นตำรับที่ระบุตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562 อีกทั้งได้มีการมอบตำรับยาน้ำมันกัญชาสูตรดังกล่าวให้เป็นตำรับยาแผนไทยของชาติ

 
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงจัดท้าโครงการติดตามลักษณะการใช้และคุณภาพชีวิตของน้ำมันกัญชาทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือกทางเลือก เพื่อศึกษาลักษณะการสั่งใช้ของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย/แพทย์แผนไทยประยุกต์และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับน้ำมันกัญชา ในโครงการนี ได้ติดตามคุณภาพชีวิต และผลการรักษาในผู้ป่วยที่ใช้น้ำมันกัญชาทางการแพทย์แผนไทย ที่มารับการรักษาครบ 3 เดือน โดยใช้แบบประเมิน Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) และ EQ-5D-5L และจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยโดยใช้โปรแกรม REDCap ของ Chula-Data Management Center (Chula-DMC) ซึ่งเป็นระบบจัดเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์ มีโรงพยาบาลที่ร่วมเป็นหน่วยวิจัยจำนวน 30 แห่ง ผลการด้าเนินการตั งแต่เดือน ตุลาคม 2562 – กรกฎาคม 2563 พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับน้ำมันกัญชาในภาพรวมมีคะแนนคุณภาพชีวิต ESAS และ EQ-5D-5L ดีขึ น และคะแนน ESAS ด้านอาการนอนไม่หลับอาการปวด และอาการเบื่ออาหารของผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็ง ไมเกรนและพาร์กินสันดีขึ นเช่นกันเดียวกัน
 


กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เล็งเห็นว่าน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) มีประสิทธิผลและความปลอดภัย และเพื่อให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการเพิ่มคุณภาพชีวิต เพิ่มความสามารถการปฏิบัติกิจวัตร
ประจำวันของผู้ป่วย ที่จะส่งผลต่อภาวะทางจิตใจและสังคมท้าให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข รวมถึงป้องกันการใช้น้ำมันกัญชาที่ผิดกฎหมาย ไม่ได้คุณภาพและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้น้ำมันกัญชาที่ผิดกฎหมาย ดังนั น จึงจัดท้าโครงการติดตามการใช้น้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) ในการบริการกัญชาทางการแพทย์เพื่อประเมินผลเพิ่มเติมจากการใช้ยาดังกล่าวในการนอนไม่หลับ ปวดเรื้อรังและเบื่ออาหาร ของผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็ง ไมเกรนและพาร์กินสัน ในการบรรจุน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) เป็นยาในบัญชี 3 ของยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ และคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในด้านลดค่าใช้จ่ายด้านยาและเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ รวมถึงสร้างมูลค่ายาไทยสู่นานาชาติต่อไปในอนาคต
 

 
 

วัตถุประสงค์

 
1. เพื่อติดตามประสิทธิผลการใช้น้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) ด้านอาการนอนไม่หลับ ของผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็ง ไมเกรนและพาร์กินสัน
2. เพื่อติดตามประสิทธิผลการใช้น้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) อาการปวดเรื้อรัง ของผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็ง ไมเกรนและพาร์กินสัน
3. เพื่อติดตามประสิทธิผลการใช้น้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) อาการเบื่ออาหารของผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็ง ไมเกรนและพาร์กินสัน
4. เพื่อติดตามคุณภาพการผลิตน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา)
5. เพื่อติดตามความปลอดภัยของการใช้น้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา)
6. เพื่อติดตามความร่วมมือของผู้ป่วยในการมารับน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา)
 
แนวทางการใช้ยาตำรับหมอเดชา (ยาบัญชี 3) โดย กรมการแพทย์แผนไทยฯ HealthServ
 

แนวทางการสั่งจ่ายน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) 

 
 
แนวทางการสั่งจ่ายน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) ภายใต้โครงการติดตามการใช้น้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) ในการบริการกัญชาทางการแพทย์ (ยาบัญชี 3)
 
ชื่อยา : น้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา)

ส่วนประกอบ : น้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) ปริมาตร 10 มิลลิลิตร สารสกัดกัญชาในน้ำมันมะพร้าว ความเข้มข้น 10% ของน้ำหนักช่อดอกกัญชาแห้ง (THC 2.0 mg/ml)

รูปแบบยา : น้ำมัน ใช้สำหรับรับประทาน

ข้อบ่งใช้ : ใช้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็ง หรือไมเกรน หรือพาร์กินสันที่มีอาการนอนไม่หลับ ปวดเรื้อรังเบื่ออาหาร

ขนาดบรรจุ : 10 ml

อายุของผลิตภัณฑ์ : 1 ปี
 
 
วิธีเก็บรักษา :
 
  1. ควรเก็บให้พ้นแสง/ความร้อน แนะน้าให้เก็บอุณหภูมิต่้ากว่า 30 องศาเซลเซียส
  2. เก็บยานี้ ให้พ้นมือเด็ก
 
ที่มาของตำรับยา : น้ำมันกัญชาจากตำรับยาหมอพื้นบ้านที่ได้รับการรับรองโดยคณะกรรมการรับรอง ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสม กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

เงื่อนไขการใช้ยา : ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการยาเสพติดให้โทษ โดยให้ใช้ในรูปแบบ Special Access Scheme (SAS)

รหัสยาแผนไทย 24 หลัก :

วิธีเก็บรักษา : ควรเก็บให้พ้นแสง/ความร้อน แนะน้าให้เก็บอุณหภูมิต่้ากว่า 30 องศาเซลเซียส เก็บยานี ให้พ้นมือเด็ก

ที่มาของตำรับยา : น้ำมันกัญชาจากตำรับยาหมอพื นบ้านของนายเดชา ศิริภัทร จังหวัดสุพรรณบุรีที่ได้รับการรับรองโดยคณะกรรมการรับรอง ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสม กรมการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก

เงื่อนไขการใช้ยา : ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการยาเสพติดให้โทษ โดยให้ใช้ในรูปแบบ Special Access Scheme (SAS)

รหัสยาแผนไทย 24 หลัก : 420000015059501094241200

รหัสยา TTMTID : 9395047
 
 
 
 

ข้อบ่งใช้และขนาดยา

 
1. นอนไม่หลับ 
ขนาดยาเริ่มต้น : 1 หยด ก่อนนอน หรือ ตามดุลพินิจของแพทย์แผนไทย/แพทย์แผนไทยประยุกต์/แพทย์แผนปัจจุบันที่สั่งใช้ยาน้ำมันกัญชา
 
2. ปวดเรื้อรัง
ขนาดยาเริ่มต้น : 1 หยด ก่อนนอน หรือ ตามดุลพินิจของแพทย์แผนไทย/แพทย์แผนไทยประยุกต์/แพทย์แผนปัจจุบันที่สั่งใช้ยาน้ำมันกัญชา
 
3. เบื่ออาหาร
ขนาดยาเริ่มต้น : 1 หยด วันละ 3 ครั้งก่อนอาหารหรือ ตามดุลพินิจของแพทย์แผนไทย/แพทย์แผนไทยประยุกต์/แพทย์แผนปัจจุบันที่สั่งใช้ยาน้ำมันกัญชา
 
 
 

การปรับขนาดยา

 
หากอาการไม่ดีขึ น จาการติดตามอาการและประเมินผลให้ปรับขนาดยาเพิ่มขึ น ครั้งละ 1-2 หยด ทุก 1 สัปดาห์หรือระยะเวลาตามแพทย์แผนไทย/แพทย์แผนปัจจุบันพิจารณา** ขนาดสูงสุดไม่เกิน 20 หยด/วัน
 
หากอาการดีขึ น จากการติดตามอาการและประเมินผลให้ปรับขนาดยาลดลง ครั้งละ 1 หยด ทุก 1 สัปดาห์ หรือเป็นระยะเวลาตามแพทย์แผนไทย/แพทย์แผนปัจจุบันพิจารณา**
 
หมายเหตุ : กรณีแพทย์แผนไทย/แพทย์แผนปัจจุบันพิจารณาปรับขนาดยามากกว่าขนาดสูงสุดที่กำหนดต้องมีการติดตามและเฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเนื่องจากยังไม่มีข้อมูลการใช้ยาและความปลอดภัยขนาดที่สูงกว่ากำหนด
 

คำแนะนำเพิ่มเติม
 
- วิธีการหยดน้ำมันกัญชา ให้หยดใส่ช้อนก่อนรับประทาน เพื่อป้องกันการใช้ยาเกินขนาด
- หากมีอาการแพ้ยา เช่น มีผื่น ปากบวม ตาบวม หน้าบวม ให้หยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
- ให้ผู้ป่วยน้าขวดยามาทุกครั้ง เพื่อติดตามการใช้ยาตามแพทย์สั่ง
- สามารถจ่ายยาน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) ร่วมกับการใช้ยาประจำของผู้ป่วยได้ตามดุลพินิจของ แพทย์แผนไทย/แพทย์แผนไทยประยุกต์/แพทย์แผนปัจจุบันที่ดูแล ยกเว้น ยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟาริน
 

ข้อห้ามใช้
 
1) ผู้ที่มีประวัติแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสกัดกัญชา หรือส่วนประกอบใดๆในยานี้ (ผลิตภัณฑ์นี้มีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าว)
2) ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดขั นรุนแรง หรือไม่สามารถคุมอาการได้
3) ผู้ป่วยที่มีประวัติความผิดปกติทางจิตเวช
4) สตรีมีครรภ์หรือสตรีที่ให้นมบุตร
5) ผู้ที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟาริน
 

ข้อควรระวัง

ระวังการใช้ในกลุ่มผู้ป่วย ต่อไปนี้ 
*ยกเว้นในกรณีที่แพทย์พิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยได้รับประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง
1) ผู้ที่ท้างานขับขี่ยานพาหนะ หรือเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือท้างานที่เสี่ยงอันตราย เพราะยานี้อาจทำให้ง่วงซึม
2) บุคคลที่อายุต่ำกว่า 25 ปี
3) ผู้ป่วยโรคตับและไต (มีค่าเอนไซม์ตับที่ผิดปกติ สูงเกิน 3 เท่าของค่าบนปกติ, ค่าอัตราการกรองของไต (GFR) น้อยกว่า 60 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร)
4) ผู้ป่วยที่มีประวัติของการใช้สารเสพติด รวมถึงนิโคติน หรือเป็นผู้ดื่มสุราอย่างหนัก
5) ผู้ป่วยที่ใช้ยากล่อมประสาท หรือยาที่ออกฤทธิ์ทางจิตอื่นๆ หรือยาโรคประจำตัวเรื้อรังหลายชนิด
 

อาการไม่พึงประสงค์

ที่พบบ่อย คือ ง่วงนอน ปากแห้ง เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ทั้งนี ส่วนใหญ่ขึ้นกับการตอบสนองของแต่ละคน วิธีการใช้ยา ขนาดยาที่ใช้ (ดังนั นจึงแนะน้าให้เริ่มใช้ในขนาดที่ต่้าที่สุดก่อน)
 
 
แนวทางการจัดการเมื่อพบอาการไม่พึงประสงค์
 
1) ปรับลดยา เมื่อพบอาการ : มึนศีรษะ (dizziness) เสียสมดุล (loss of co-ordination) หัวใจเต้นช้า
(bradycardia) ความดันโลหิตผิดปรกติ (abnormal pressure)
2) หยุดใช้ทันที เมื่อพบอาการ : สับสน (disorientation) กระวนกระวาย (agitation) วิตกกังวล (anxiety)
ประสาทหลอน (hallucination) โรคจิต (psychosis)
 
 

 

ขั้นตอนการให้บริการ
 

1. จัดท้าทะเบียนผู้ป่วย/ยืนยันตัวตนที่จุดเวชระเบียน
 
2. ซักประวัติ วัดสัญญาณชีพ และให้ข้อมูลอาการป่วยแก่พยาบาลวิชาชีพที่จุดคัดกรอง เช่น ใบรับรองแพทย์หรือผลการวินิจฉัยโรคว่าเป็นโรคมะเร็ง หรือไมเกรน หรือพาร์กินสัน, ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 
 - หากไม่ผ่าน เข้ารับการรักษาในระบบบริการปกติ
 
3. ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการนอนไม่หลับ, ปวดเรื้อรัง และ/หรือเบื่ออาหาร
 - หากไม่ผ่าน เข้ารับการรักษาในระบบบริการปกติ
 
4. อธิบายการรักษาด้วยยาน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) ลงนามในใบยินยอมด้วยความสมัครใจ (Informed Consent Form)
 
5. จ่ายตำรับ น้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา)
 
6. หน่วยบริการบันทึกข้อมูลการให้บริการใน Health Data Center (HDC) และ REDCap ของ Chula-Data Management Center (Chula-DMC)
 
7. นัดติดตามอาการ/อาการไม่พึงประสงค์ทุก 1 เดือน (ช่วงปรับขนาดยานัดทุก 1 สัปดาห์)
 
8. เป็น ADR จากยา 
- หากไม่ใช่ รับยาน้ำมันกัญชา(ตำรับหมอเดชา) และนัดติดตามผลการรักษา
 
9. หยุดยา/ให้การรักษาด้วยวิธีอื่น
 
 
 
 
แนวทางการใช้ยาตำรับหมอเดชา (ยาบัญชี 3) โดย กรมการแพทย์แผนไทยฯ HealthServ
 

เกณฑ์การคัดกรองผู้ป่วยน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา)

 
กรณีนอนไม่หลับ
  •  ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง (ทุกชนิด) หรือไมเกรน หรือพาร์กินสัน
  • มีอาการนอนไม่หลับมากกว่า 1 เดือน
  • มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี คือ มีค่า Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI) มากกว่า 5 คะแนน
 
กรณีปวดเรื้อรัง
 
  •  ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเ ร็ง (ทุกชนิด) หรือ ไมเกรน หรือพาร์กินสัน
  • มีอาการปวดเรื้อรังมากกว่า 3 เดือน
  • มีอาการปวดไมเกรน โดยมีค่าคะแนน MIDAS ในระดับ 2-4 (เฉพาะกลุ่มผู้ป่วยไมเกรน)
 
กรณีเบื่ออาหาร
 
  •  ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง (ทุกชนิด) หรือไมเกรน หรือพาร์กินสัน
  • มีอาการเบื่ออาหารมากกว่า 1 เดือน
 
เกณฑ์ไม่รับผู้ป่วยเข้ารับการรักษา
 
  1. ผู้ที่มีประวัติแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสกัดกัญชา หรือส่วนประกอบใดๆในยานี (ผลิตภัณฑ์นี้ มีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าว)
  2. ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดขั นรุนแรง หรือไม่สามารถคุมอาการได้
  3. ผู้ป่วยที่มีประวัติความผิดปกติทางจิตเวช
  4. สตรีมีครรภ์หรือสตรีที่ให้นมบุตร
  5. ผู้ที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟาริน
  6. ผู้ป่วยได้รับน้ำมันกัญชา ชนิดอื่นร่วมด้วย
 
 
ข้อควรระวัง

ระวังการใช้ในกลุ่มผู้ป่วย ต่อไปนี นี้ 
*ยกเว้นในกรณีที่แพทย์พิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยได้รับประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง
 
  1. ผู้ที่ท้างานขับขี่ยานพาหนะ หรือเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือท้างานที่เสี่ยงอันตราย เพราะยานี อาจท้าให้ง่วงซึม
  2. บุคคลที่อายุต่ำกว่า 25 ปี
  3. ผู้ป่วยโรคตับและไต (มีค่าเอนไซม์ตับที่ผิดปกติ สูงเกิน 3 เท่าของค่าบนปกติ, มีค่าอัตราการกรองของไต (GFR) น้อยกว่า 60 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร)
  4. ผู้ป่วยที่มีประวัติของการใช้สารเสพติด รวมถึงนิโคติน หรือเป็นผู้ดื่มสุราอย่างหนัก
  5. ผู้ป่วยที่ใช้ยากล่อมประสาท หรือยาที่ออกฤทธิ์ทางจิตอื่นๆ หรือยาโรคประจำตัวเรื้อรังหลายชนิด
 
 
 

แนวทางการเก็บข้อมูลการใช้น้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา)
 

ข้อบ่งใช้ รหัสโรค หรืออาการ การเก็บข้อมูล
 
1. นอนไม่หลับ

U75.22 นอนไม่หลับ
 
1) แบบบันทึกและติดตามประวัติผู้ป่วย
ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
ส่วนที่ 2 แบบบันทึกข้อมูลที่ได้รับน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา)
2) แบบประเมินคุณภาพนอนหลับ (Pittsburgh Sleep Quality Index : PSQI)
3) แบบสอบถาม Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) ฉบับภาษาไทย
 
 
2. ปวดเรื้อรัง

U61.2 ลมปะกัง หรือลมตะกัง
U75.00 ปวดคอ
U75.01 ปวดหลัง
U75.02 ปวดบ่า หรือปวดไหล่
U75.03 ปวดแขน หรือปวดมือ
U75.04 ปวดเอว หรือปวดสะโพก
U75.05 ปวดขา หรือปวดเข่าหรือ ปวดเท้า
U75.07 ปวดทั่วร่างกาย
U75.08 ปวดตามร่างกายส่วนอื่นที่ระบุรายละเอียด
 
1) แบบบันทึกและติดตามประวัติผู้ป่วย
ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
ส่วนที่ 2 แบบบันทึกข้อมูลที่ได้รับน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา)
2) แบบสอบถาม Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) ฉบับภาษาไทย
3) แบบประเมิน Migraine Disability Assessment (MIDAS)
 
 
3. เบื่ออาหาร

U66.81 เบื่ออาหาร
 
1) แบบบันทึกและติดตามประวัติผู้ป่วย
ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
ส่วนที่ 2 แบบบันทึกข้อมูลที่ได้รับน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา)
2) แบบสอบถาม Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) ฉบับภาษาไทย
3) แบบสอบถาม Council of Nutrition Appetite Questionnaire (CNAQ)
 
 
 
 
ภาคผนวก 

1. แบบฟอร์ม informed consent form หนังสือแสดงเจตนายินยอมรับการรักษาด้วยกัญชา (Cannabis) ในคลินิกการแพทย์แผนไทย 
 
2. แบบบันทึกและติดตามประวัติผู้ป่วย
ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
ส่วนที่ 2 แบบบันทึกข้อมูลที่ได้รับน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา)
 
3. แบบฟอร์ม Case Report Form
- Edmonton Symptom Assessment System : ESAS แบบประเมินและติดตามอาการต่างๆในผู้ป่วยระยะสุดท้าย แบบสอบถามให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแล (ในกรณีที่ผู้ป่วยตอบเองไม่ได้) เป็นผู้ประเมินอาการต่างๆที่มี ณ เวลาที่ประเมิน 
- Pittsburgh Sleep Quality Index : PSQI แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ
- Migraine Disability Assessment : MIDAS แบบสอบถามประเมินความพิการไมเกรน
- Council of Nutrition Appetite Questionnaire : CNAQ
 
แบบติดตามความปลอดภัยในการใช้น้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) ผ่านระบบของศูนย์เฝ้าระวังความ
ปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Health Product Vigilance Center:HPVC)
 
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด