ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

แนวทางการให้บริการผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

แนวทางการให้บริการผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ HealthServ.net
แนวทางการให้บริการผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ThumbMobile HealthServ.net

ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือ คนไทยทุกคนที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสิทธิประกันสังคมหรือสิทธิ สวัสดิการการรักษาของข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ สวัสดิการรักษา อย่างอื่นที่รัฐจัดให้

แนวทางการให้บริการผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ HealthServ
ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  (บัตรทอง) คือ คนไทยทุกคนที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสิทธิประกันสังคมหรือสิทธิ สวัสดิการการรักษาของข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ สวัสดิการรักษา อย่างอื่นที่รัฐจัดให้
 

แนวทางการให้บริการผู้ป่วยสิทธิบัตรทองโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
 

ผู้ปุวยนอก
 1. ผู้ป่วยยื่นบัตรประชาชนและบัตรนักศึกษาที่งานเวชระเบียนและสถิติ
 
 2.งานเวชระเบียนและสถิติ : ตรวจสอบสิทธิ websitehttp://ucsearch.nhso.go.thพร้อมออก
เอกสารสิทธิผู้ป่วย
 
 3.หน่วยตรวจ/ OPD : ตรวจสอบโรค/อาการเจ็บป่วยว่าครอบคลุมสิทธิบัตรทองหรือไม่ พร้อมกรอก
ข้อมูลชุดเอกสารสิทธิ ให้ผู้ป่วยนำไปยื่นที่งานรายได้
 
 4.งานรายได้ : ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาลและเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินจากสิทธิบัตรทอง
 
 
ผู้ป่วยใน
ให้ยื่นเอกสารตรวจสอบและออกเอกสารสิทธิบัตรทอง ที่งานเวชระเบียนและสถิติหรืองานการ
พยาบาลคัดกรองผู้ป่วยใน (Admission)
 
1.ตรวจสอบบัตรประชาชน บัตรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ยังไม่หมดอายุ (แสดงสถานภาพเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปัจจุบัน)ตรวจสอบสิทธิwebsitehttp://ucsearch.nhso.go.th
 
 2.ตรวจสอบโรคให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิการรักษา กรณีมีปัญหาเรื่องสิทธิบัตรทองไม่แน่ใจเกี่ยวกับโรคอาการเจ็บป่วย การผ่าตัดหรือหัตถการต่างๆให้ปรึกษาพยาบาลหน่วยประสานสิทธิ
 
 3.บันทึกข้อมูลในส่วนของสิทธิบัตรทองในเอกสารผู้ป่วยในเข้าหอผู้ป่วย พร้อมบันทึกสิทธิเข้าใน
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล
 

แนวทางการให้บริการผู้ป่วยบัตรทองกรณีประสบอันตราย (อุบัติเหตุ)/กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน

1.งานเวชระเบียนและสถิติ ตรวจสอบสิทธิที่ websiteที่ http://ucsearch.nhso.go.th และพิมพ์ใบ
ตรวจสอบสิทธิใส่แฟูมเวชระเบียน

2.หน่วยตรวจ/หอผู้ป่วยส่งแฟูมให้หน่วยประสานสิทธิการรักษา มรว.สุวพรรณ์เพื่อตรวจสอบและ
ออกสิทธิ

 3.หน่วยประสานสิทธิการรักษาการรักษา ดำเนินการดังนี้
ผู้ป่วยยื่นเอกสารตรวจสอบสิทธิ
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาสูติบัตร กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี หรือสำเนาบัตรประชาชน
  •  ตรวจสอบสิทธิที่ Website http://ucsearch.nhso.go.th
  • ประสานโรงพยาบาลต้นสังกัดเพื่อรับรองสิทธิรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วย สิทธิบัตรทองในจังหวัดปทุมธานีและรับบริการเป็นผู้ป่วยนอก
  • ตรวจสอบสิทธิ/คัดกรองโรค พร้อมออกเอกสารรับรองสิทธิ

 4.งานรายได้ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาล เรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินจากสิทธิบัตรทอง
กรณีผู้ป่วยที่ตรวจรักษาที่นอกเวลา และห้องฉุกเฉิน แพทย์ให้สิทธิฉุกเฉินและรับไว้เป็นผู้ป่วยใน ให้
ตรวจสอบสิทธิที่หน่วยประสานสิทธิการรักษานอกเวลา (เวลา 16.00 – 24.00 น.) และ เจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉิน
(เวลา 24.00 –7.00 น.) โดยให้ออกเอกสารสิทธิที่งานเวชระเบียนและสถิติอาคารกิตติวัฒนา

หมายเหตุ กรุณาส่งตรวจสอบสิทธิทันทีเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษา หรือภายในสองวันทำการหลังจากรับไว้ใน
โรงพยาบาล

 

แนวทางการให้บริการผู้ป่วยบัตรทองกรณีรับส่งต่อ

1. ผู้ป่วยยื่นเอกสารที่หน่วยประสานสิทธิการรักษา
- หนังสือส่งตัวรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล(ไม่ใช่หนังสือส่งต่ออาการ)พร้อมสำเนา 2 ชุด
- สำเนาบัตรประชาชน 2 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาสูติบัตร กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี หรือสำเนาบัตรประชาชน 2 ฉบับ
- บัตรนัด

2.หน่วยประสานสิทธิการรักษา ดำเนินการดังนี้
- ตรวจสอบสิทธิที่ websiteที่ http://ucsearch.nhso.go.th
- ตรวจสอบใบส่งตัว โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
- สถานบริการหลักจาก website ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพต้องสอดคล้องกับสถานพยาบาลส่งต่อที่ระบุมาในใบส่งตัว และจำเป็นต้องระบุถึงโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ
- โรคที่ระบุมาในใบส่งตัวต้องสอดคล้องกับแผนกและแพทย์เฉพาะทางที่ส่งตรวจ
- ระยะเวลาในการใช้ใบส่งตัวต้องครอบคลุมในวันที่มาตรวจ

 3.ออกเอกสารรับรองสิทธิ

4.หน่วยตรวจ/ OPD:ตรวจสอบโรค/อาการเจ็บป่วยว่าครอบคลุมสิทธิบัตรทองหรือไม่พร้อมกรอก
ข้อมูลในชุดเอกสารสิทธิ ให้ผู้ป่วยนำไปยื่นที่งานรายได้

 5.งานรายได้ : ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาลและเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินจากสิทธิบัตรทอง
 

แนวทางการให้บริการผู้ป่วยบัตรทองกรณีสิทธิพิเศษ (บุคคลผู้พิการ/ทหารผ่านศึกและบุคคลในครอบครัว)

 1. ผู้ป่วยยื่นเอกสารที่หน่วยประสานสิทธิการรักษา
- สำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาสูติบัตร กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี หรือสำเนาบัตรประชาชนฉบับ
- และบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล (บัตรผู้พิการหรือบัตรทหารผ่านศึก พร้อมสำเนา 1 ชุด
- บัตรนัด
- ผู้ป่วยสิทธิพิเศษในจังหวัดปทุมธานีต้องมีใบส่งตัว ยกเว้น สิทธิบัตรทองศูนย์การแพทย์คูคตและสหคลินิกรัตนเวช

2.หน่วยประสานสิทธิการรักษา ดำเนินการดังนี้
-  ตรวจสอบสิทธิที่ websiteที่ http://ucsearch.nhso.go.th

 3.ออกเอกสารรับรองสิทธิ

4.หน่วยตรวจ/ OPD:ตรวจสอบโรค/อาการเจ็บป่วยว่าครอบคลุมสิทธิบัตรทองหรือไม่พร้อมกรอกข้อมูลในชุดเอกสารสิทธิ ให้ผู้ป่วยนำไปยื่นที่งานรายได้
 
5.งานรายได้ : ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาลและเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินจากสิทธิบัตรทอง
 

แนวทางการให้บริการผู้ป่วยบัตรทองกรณีสิทธิว่าง

1. ผู้ป่วยยื่นเอกสารที่หน่วยประสานสิทธิการรักษา
-  สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน 2 ชุด
-  กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาสูติบัตรหรือสำเนาบัตรประชาชน 2 ชุด
-  คำร้องขึ้นทะเบียนบัตรทอง
-  บัตรนัด

2.หน่วยประสานสิทธิการรักษา ดำเนินการดังนี้
-  ตรวจสอบสิทธิที่ websiteที่ http://ucsearch.nhso.go.th
-  ลงทะเบียน หน่วยบริการ

3.ออกเอกสารรับรองสิทธิ

4.หน่วยตรวจ/ OPD:ตรวจสอบโรค/อาการเจ็บป่วยว่าครอบคลุมสิทธิบัตรทองหรือไม่พร้อมกรอกข้อมูลในชุดเอกสารสิทธิ ให้ผู้ป่วยนำไปยื่นที่งานรายได้

 5.งานรายได้ : ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาลและเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินจากสิทธิบัตรทอง

หมายเหตุ
- งานเวชระเบียนและสถิติ อาคาร ม.ร.ว.สุวพรรณ์ ออกสิทธิผู้ป่วยสิทธิบัตรทองนอกสังกัด : ศูนย์การแพทย์ ปฐมภูมิฯ, สหคลินิกรัตนเวช / บัตรทองในสังกัด : นักศึกษา มธ. กรณีมีปัญหาให้ส่งปรึกษาหน่วยประสานสิทธิการรักษา
 - หน่วยประสานสิทธิการรักษาตรวจสอบและออกสิทธิผู้ป่วยบัตรทองนอกสังกัดกรณีส่งต่อ กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินและบัตรทองในสังกัด รวมถึงกรณีมีปัญหาการตรวจสอบสิทธิ
 - งานเวชระเบียนและสถิติอาคารกิตติวัฒนา ออกสิทธิผู้ป่วยบัตรทองนอกสังกัด กรณี A/E และสิทธิบุคคลพิเศษนอกเวลาราชการ

การขอขึ้นทะเบียน/เปลี่ยนสถานบริการหลัก

1.การขึ้นทะเบียนบัตรทองกับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์สำหรับนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์

 1.1.โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ รับขึ้นทะเบียนบัตรทองเฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 1.2.เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียนบัตรทอง
 - แบบคำร้องขอขึ้นทะเบียนบัตรทอง
 - สำเนาบัตรประชาชนที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ชุด
 - สำเนาบัตรนักศึกษาที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ชุด

 1.3.ยื่นเอกสารการขึ้นทะเบียน ที่หน่วยประสานสิทธิการรักษาการรักษา (หน่วยบัตรทอง) อาคาร มรว.สุวพรรณ์ฯ ชั้น 1 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โทร 029269416- 7

 เมื่อจบการศึกษาหรือลาออกจากการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้นักศึกษาที่มีสิทธิบัตรทองกับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ไปขึ้นทะเบียนบัตรทองตามภูมิลำเนาของตนเองเนื่องจากนักศึกษาสิ้นสภาพการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว
 
2.การขึ้นทะเบียนบัตรทองสำหรับประชาชนทั่วไป

 2.1.ในพื้นที่ตามทะเบียนบ้าน ประชาชนสามารถขอมีบัตรทอง ได้ที่สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลในพื้นที่ที่ทะเบียนบ้านสังกัดอยู่ สำนักเขตแต่ละเขต(กรณีพื้นที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ) โดยนำ ภาคผนวก 6 หลักฐาน แบบคำร้องขอขึ้นทะเบียนบัตรทอง สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายและมีเลขบัตรประชาชน ซึ่งทางราชการออกให้ หรือสำเนาสูติบัตร(กรณีเด็ก อายุต่ำกว่า 15 ปี) สำเนาทะเบียนบ้าน

 2.2.ในพื้นที่ที่อยู่อาศัยไม่ตรงตามทะเบียนบ้าน ประชาชนสามารถขอมีบัตรทอง ได้ที่สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลใกล้บ้านที่มาพักอาศัย (สำนักเขตแต่ละเขต กรณีพื้นที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ)โดยนำหลักฐาน แบบคำร้องขอขึ้นทะเบียนบัตรทอง สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายและมีเลขบัตรประชาชน ซึ่งทางราชการออกให้ หรือสำเนาสูติบัตร(กรณีเด็ก อายุต่ำกว่า 15 ปี) สำเนาทะเบียนบ้าน และการรับรองของเจ้าของบ้าน โดยใช้สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายและมีเลขบัตรประชาชน ซึ่งทางราชการออกให้ พร้อมเอกสารสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านพร้อมลงนามรับรองหลักฐานและรับรองว่าผู้ขอขึ้นทะเบียน มีสิทธิพักอาศัยอยู่จริง หรือหลักฐานอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้าน ใบเสร็จค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ที่มีชื่อของผู้ขอขึ้นทะเบียน

 3.การขอเปลี่ยนหน่ายบริการ ประชาชนสามารถติดต่อขอเปลี่ยนหน่วยบริการได้ที่สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน หรือสำนักงานเขตของกรุงเทพฯ ในวันเวลาราชการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถขอเปลี่ยนหน่วยบริการได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปีงบประมาณ (ตุลาคมถึงกันยายน ของปีถัดไป)
 


ผู้มีสิทธิรับบริการ

 1.ผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
 2.ผู้มีสิทธิที่ยังไม่ลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำ(สิทธิว่าง เด็กแรกเกิด และผู้ที่เสียชีวิตก่อนการลงทะเบียน)
 3.ผู้ประกันตน (สิทธิประกันสังคม) ที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 3 เดือน รับบริการรักษา
 4.ผู้ประกันตน (สิทธิประกันสังคม) ที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 7 เดือน รับบริการคลอด


ขั้นตอนการเข้ารับบริการ และเงื่อนไขการเข้ารับบริการของผู้มีสิทธิ


 การเข้ารับบริการสาธารณสุขของผู้มีสิทธิ ต้องเป็นไปตามประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุขและผู้มีสิทธิต้องใช้สิทธิดังนี้
 
1.การเข้ารับบริการที่หน่วยบริการประจำ หรือเครือข่ายหน่วยบริการประจำ

 2.การเข้ารับบริการจากหน่วยบริการอื่น กรณีที่หน่วยบริการประจำส่งต่อ

 3.การรับบริการที่หน่วยบริการอื่น กรณีอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉินนอกหน่วยบริการประจำกรณี อุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินไม่จำกัดจำนวนครั้ง ผู้มีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่มีสิทธิย่อยเป็นทหารผ่านศึก คนพิการ ให้เข้ารับบริการที่หน่วยบริการประจำของตน หากจำเป็นต้องได้รับการรักษาเฉพาะทางต้องผ่านระบบส่งต่อ ยกเว้นกรณีที่ไม่สามารถกลับไปรับบริการที่หน่วยบริการประจำได้ สามารถเข้ารับบริการในหน่วยบริการของรัฐต่างจังหวัดได้ตามความจำเป็น

 4.ในบางกรณีผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการตามเงื่อนไขโครงการเฉพาะ เช่น โครงการโรคหลอดเลือดสมอง โครงการโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลือง โครงการโรคเลือดออกง่าย โครงการโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

 5.กรณีการเข้ารับบริการจากสถานบริการอื่น ผู้มีสิทธิสามารถเข้ารับบริการจากสถานบริการอื่น (สถานบริการเอกชน) ที่ไม่ได้เข้าร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ เฉพาะกรณีอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉิน โดยสถานบริการนั้นมีสิทธิขอรับค่าใช้จ่ายจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ตามอัตราที่กำหนด (EMCO)

 6.กรณีการเข้ารับบริการด้วยอุบัติเหตุจราจร ให้ผู้มีสิทธิใช้สิทธิตาม พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม จนครบวงเงินความคุ้มครองเบื้องต้น 30,000 บาท ก่อนทั้งในกรณีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
 

ความหมายของผู้มีสิทธิ

 ผู้มีสิทธิ หมายถึง บุคคลที่มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รวมถึงคนพิการ/ทหารผ่านศึกและสิทธิว่าง
 
 สิทธิว่าง หมายถึง คนไทยที่มีสิทธิตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 แต่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำตามมาตรา 6
 
 เด็กแรกเกิด หมายถึง เด็กแรกเกิดที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 28 วัน ณ วันที่เข้ารับบริการ
 
 ทหารผ่านศึก หมายถึง บุคคลที่มีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุข ตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 และได้รับสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรีให้ได้รับการรักษาพยาบาล จากโรงพยาบาลของรัฐบาลโดยไม่คิดมูลค่า โดยมีรหัสสิทธิย่อยที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตรวจสอบได้เป็นรหัส 66 (ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญราชการชายแดน),รหัส 67 (ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน),รหัส 75 (ทหารผ่านศึกชั้น 1-3 ที่มีบัตรทหารผ่านศึก รวมถึงผู้ได้รับพระราชทาน), และรหัส 80 (บุคคลในครอบครัวทหารผ่านศึกชั้น 1-3รวมถึงผู้ได้รับพระราชทานเหรียญสมรภูมิ
 
 คนพิการ หมายถึง คนพิการตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสภาพคนพิการ พ.ศ.2534 และคนพิการ ตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีรหัสสิทธิย่อยที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตรวจสอบได้เป็นรหัส 74 โดยสามารถตรวจสอบความเป็นผู้มีสิทธิของทหารผ่านศึกและคนพิการได้จาก www.nhso.go.th
 

วิธีการใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เมื่อเจ็บป่วยทั่วไป

 1.ต้องเข้ารับการรักษา ณ หน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนไว้

 2.แจ้งความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิทุกครั้ง พร้อมแสดง บัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายและมีเลขบัตรประชาชน ซึ่งทางราชการออกให้ สูติบัตรหรือทะเบียนบ้าน (กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี)
 
3.หากการรักษาพยาบาลครั้งนั้นเกินศักยภาพของหน่วยบริการประจำ หน่วยบริการนั้นจะพิจารณาส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพสูงกว่าตามภาวะความจำเป็นของโรค
 

วิธีการใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) กรณีส่งต่อ

 1.เข้ารับการรักษาตามที่หน่วยบริการอื่นส่งต่อมา โดยหน่วยบริการที่ส่งต่อจะต้องเป็นสถานบริการที่ระบุในบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) หรือสถานบริการที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น และใบส่งต่อยังไม่หมดอายุการใช้สิทธิ
 2.ต้องแจ้งความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิบัตรทองทุกครั้ง พร้อมแสดง ใบส่งต่อ บัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายและมีเลขบัตรประชาชน ซึ่งทางราชการออกให้ สูติบัตรหรือทะเบียนบ้าน (กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี)

 

วิธีการใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) กรณีได้รับอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉิน

 1.เข้ารับการรักษากับหน่วยบริการของรัฐ หรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุด
 
 2.แจ้งความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิทุกครั้ง พร้อมแสดงบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายและมีเลขบัตรประชาชน ซึ่งทางราชการออกให้ สูติบัตรหรือทะเบียนบ้าน (กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี)
 
 3.กรณีได้รับอุบัติเหตุจากรถ ต้องใช้สิทธิตามความคุ้มครองของ พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถก่อน พรบ.เบื้องต้น 30,000 บาท ส่วนเกินจึงใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ได้
 
 หมายเหตุ การวินิจฉัยว่าอาการแรกรับฉุกเฉินหรือไม่ ให้พิจารณาตามโรค หรือ อาการที่มีข้อบ่งชี้ประกอบด้วยโรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตตนเองและผู้อื่น โรคหรืออาการของโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเป็นการเร่งด่วน การผ่าตัดด่วน หากปล่อยทิ้งไว้จะเป็นอันตรายแก่ชีวิต โรคหรือลักษณะอาการของโรคตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยต้องพิจารณาสัญญาณชีพ อันได้แก่ ความดันโลหิต ชีพ
จร อาการของโรค การวินิจฉัย แนวทางการรักษา ความเร่งด่วน รวมทั้งการรับรู้ของผู้ป่วยที่มีต่ออาการป่วยด้วย
ทั้งนี้ไม่นับรวมการตรวจรักษาที่มีการนัดหมายล่วงหน้า (คู่มือการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ปีงบประมาณ 2558)
 

วิธีการใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) กรณีสิทธิพิเศษ

 กรณีสิทธิพิเศษสำหรับ บุคคลผู้พิการและทหารผ่านศึก ที่มีสิทธิตามระบบหลักประกันสุขภาพ จะได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลทุกกรณีจากหน่วยบริการในสังกัดของรัฐได้ โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งตามความจำเป็นทางการแพทย์ และก่อนเข้ารับบริการควรตรวจสอบความเป็นบุคคลสัญชาติไทยจากบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายและมีเลขบัตรประชาชน ซึ่งทางราชการออกให้ สูติบัตรหรือทะเบียนบ้าน (กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี) โดยเลขประชาชน 13 หลัก จาก web site ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพที่
http://ucsearch.nhso.go.thสถานบริการหลักต้องสอดคล้องกับสิทธิการรักษา
 
 หมายเหตุ กรณีสิทธิพิเศษที่มีหน่วยบริการประจำนอกจังหวัดปทุมธานี และศูนย์การแพทย์ปฐมภูมิฯ สามารถใช้สิทธิได้ตามความจำเป็นของแพทย์โดยไม่ต้องมีใบส่งต่อ ยกเว้น สิทธิพิเศษที่มีหน่วยบริการประจำในจังหวัดปทุมธานี เช่น โรงพยาบาลปทุมธานี โรงพยาบาลคลองหลวง โรงพยาบาลประชาธิปัตย์ โรงพยาบาลสามโคก โรงพยาบาลธัญบุรี โรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว โรงพยาบาลลำลูกกา และคลินิกเอกชน ต้องมีใบส่งต่อจากหน่วยบริการประจำ
 

การบริการทางการแพทย์ที่ใช้สิทธิบัตรทองได้

 1.การตรวจ การวินิจฉัย การรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษา ทั้งนี้รวมถึงการแพทย์ทางเลือกที่ผ่านการรับรองของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
 2.การคลอดบุตร
 3.ค่าอาหารและค่าห้องสามัญ
 4.การถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน การทำฟันปลอมฐานพลาสติก การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนมและการใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่
 5.ยาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ
 6.การจัดส่งต่อ
 

การบริการทางการแพทย์ที่ผู้มีสิทธิไม่ได้รับความคุ้มครอง (ต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง)

 กลุ่มบริการที่เกินความจำเป็นพื้นฐาน
 1.การรักษาภาวะมีบุตรยาก
 2.การผสมเทียม
 3.การกระทำใดๆเพื่อความสวยงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
 4.การตรวจวินิจฉัยและการรักษาใดๆที่เกินความจำเป็นและไม่มีข้อบ่งชี้ทางการพทย์
 5.การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง กลุ่มบริการที่มีงบประมาณจัดสรรเป็นการเฉพาะ
 6.การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดและสารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
 7.อุบัติเหตุการประสบภัยจากรถและผู้อยู่ในความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เฉพาะส่วนที่บริษัทหรือกองทุนตามกฎหมายนั้นต้องเป็นผู้จ่าย (30,000 บาท) หลังจากใช้สิทธิพรบ. ครบจึงจะสามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)ได้

 กลุ่มบริการอื่นๆ
 8.โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล ผู้ป่วยในเกินกว่า 180 วัน ยกเว้น กรณี
มีความจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องจากการแทรกซ้อน หรือมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
 

รายการบริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง

 1.การล้างไตผ่านทางช่องท้อง/ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กรณีผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน ที่มี ระยะเวลาในการรักษาไม่เกิน 60 วัน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ่ายชดเชยไม่เกิน 2,000 บาท/ครั้ง

 2.การให้ยารักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา (Cryptococcal Meningitis) สำหรับผู้ที่ติดเชื้อ HIV สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ่ายชดเชยดังนี้
 2.1.กรณีผู้ปุวนอก จ่ายตามจริงไม่เกิน 3,000 บาท/ครั้ง
 2.2.กรณีผู้ป่วยใน จ่ายเพิ่มเติมจากระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) โดยจ่ายตาม จริงไม่เกิน 15,000 บาท/ admission

 3.การรักษาโรคติดเชื้อไวรัสที่จอประสาทตา (Cytomegalovirus Retinitis) สำหรับผู้ติดเชื้อ HIV
3.1.ฉีดยา Ganciclovir เข้าที่น้ำวุ้นในลูกตา (Vitreous) ทุก 1 สัปดาห์ สำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติจ่ายชดเชยไม่เกินครั้งละ 250 บาท/ข้าง
 3.2.ฉีดยา Ganciclovir เข้าที่น้ำวุ้นในลูกตา (Vitreous) ทุก 2 สัปดาห์สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ่ายชดเชยไม่เกินครั้งละ 500 บาท/ข้าง

 4.การรักษาด้วยออกซิเจนความกดดันสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy) เฉพาะการรักษาโรคที่เกิดจากการดำน้ำ (Decompression sickness) เท่านั้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ่ายชดเชยตามจริง ไม่เกินชั่วโมงละ 12,000 บาท

 5.การรักษาด้วยเคมีบำบัด/หรือ รังสีรักษาในผู้ป่วยมะเร็งการรักษากรณีโรคมะเร็ง แบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้

 5.1.กรณีมีโปรโตคอลในการรักษา หน่วยบริการต้องรักษาตามโปรโตคอลที่กำหนด ได้แก่
มะเร็งเต้านม, มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งรังไข่, มะเร็งโพรงจมูก, มะเร็งปอด, มะเร็งหลอดอาหาร,มะเร็งลำไส้ใหญ่
และลำไส้ตรง,มะเร็งตับและท่อน้ำดี, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, มะเร็งต่อมลูกหมาก และโรคมะเร็งอื่นๆที่ สปสช.
ประกาศกำหนดโปรโตคอลในการรักษา

 หน่วยบริการต้องดำเนินการลงทะเบียนแจ้งโปรโตคอลการรักษามายัง สปสช. ในระบบอิเลคทรอนิกส์ที่กำหนด (Cancer Payment Registry) ทุกครั้ง ในกรณีดังต่อไปนี้
 - การรักษาผู้ป่วยรายใหม่
 - กรณีที่เปลี่ยนการรักษาด้วยโปรโตคอลใหม่
 - กรณีที่ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนหน่วยบริการ
 โดย Register number ที่ได้จากระบบ จะใช้ในการเบิกจ่ายประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
 
 หมายเหตุ การรักษามะเร็งตามโปรโตคอลนี้ สำหรับผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กรณีอายุไม่ถึง 15 ปี ให้สามารถรักษาแบบมะเร็งทั่วไปได้ ยกเว้น กรณีการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือมะเร็งอื่นๆที่มีการกำหนดโปรโตคอลการรักษาในผู้ที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 ปี

 5.2.กรณีโรคมะเร็งที่ไม่มีโปรโตคอลในการรักษา ได้แก่ โรคมะเร็งที่นอกเหนือจาก ข้อ 5.1 หน่วยบริการต้องลงทะเบียนผู้ป่วย (Cancer Payment Registry) เป็น การรักษาโรคมะเร็งทั่วไป ในระบบอิเลคทรอนิกส์ที่กำหนด โดยหน่วยบริการให้การรักษาผู้ป่วยตามแผนการรักษาของแพทย์

 6.การให้สารเมทาโดนระยะยาว (Methadone Maintenance Treatment : MMT) ในการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดในกลุ่มฝิ่นและอนุพันธ์ของฝิ่น (อาทิ เฮโรอีน) สปสช.จ่ายเป็นค่าสารเมทาโดนตามการจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 35 บาท/ครั้ง

 

บริการการจัดการโรคเฉพาะ

 1.กรณีการให้บริการรักษาเร่งด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Stroke fast track) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จ่ายชดเชยการให้บริการรักษาเร่งด่วนใน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน(Stroke fast track) ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด rt-PA และได้รับการตรวจ CT Brain ก่อนและหลังการฉีดยาละลายลิ่มเลือด และ/หรือมีการทำกายภาพบำบัดและ/หรือฟื้นฟูสมรรถภาพตาม
แนวเวชปฏิบัติที่กำหนด โดยค่ายาละลายลิ่มเลือด rt-PA และค่าฉีดยา สปสช.เหมาจ่ายรายละ 49,000 บาท

 2.กรณีการให้บริการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่มีการยกขึ้นของคลื่นไฟฟูาหัวใจส่วน ST (ST-elevated myocardial infarction fast track)  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จ่ายชดเชยการให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่มีการยกขึ้นของคลื่นไฟฟูาหัวใจส่วน ST (Acute ST-elevated myocardial infarction Fast Track) ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด Streptokinase และยาละลายลิ่มเลือดrt-PA ตามแนวเวชปฏิบัติที่กำหนดโดยค่ายาละลายลิ่มเลือด Streptokinase และค่าฉีดยา สปสช. เหมาจ่าย รายละ 10,000 บาท และค่ายาละลายลิ่มเลือดrt-PA และค่าฉีดยา สปสช. เหมาจ่าย รายละ 49,000 บาท

 3.กรณีการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) ที่บ้าน
 
 4.กรณีการให้บริการผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก (Cataract) และเลนส์แก้วตาเทียม
 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จ่ายชดเชยค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดต้อกระจกและค่าเลนส์แก้วตาเทียมให้กับผู้ป่วยเฉพาะกรณีที่แพทย์วินิจฉัยเป็นโรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ (Senile Cataract) โดย การผ่าตัดต้อกระจกในรายผู้ป่วยปกติที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สปสช.จ่ายชดเชยครอบคลุมค่าบริการผ่าตัดต้อกระจกในอัตราข้างละ 7,000 บาท การผ่าตัดต้อกระจกในรายผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนหรือมีภาวะทรกซ้อน สปสช.จ่ายชดเชยครอบคลุมค่าบริการผ่าตัดต้อกระจกและการดูแลภาวะแทรกซ้อน ในอัตราข้างละ 9,000 บาท
 
 การชดเชยค่าเลนส์แก้วตาเทียม
 - กรณีเลนส์แข็งพับไม่ได้ สปสช.จ่ายชดเชยในราคาไม่เกิน 700 บาทต่อเลนส์
 - กรณีเลนส์อ่อนพับได้ สปสช.จ่ายชดเชยในราคาไม่เกิน 2,800 บาทต่อเลนส์
 
 5.กรณีการให้บริการโครงการดูแลรักษาฟื้นฟูด้านบริการทันตกรรมจัดฟันและฝึกพูดในผู้ทีมีภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ (Cleft lip cleft palate)ผู้ป่วยต้องได้รับการลงทะเบียน ในโปรแกรม DMIS ระบบ on line ผ่านทาง www.nhso.go.thโดยใช้ Username & Password ตามที่กำหนด
 
 6.กรณีการให้บริการรักษาผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาด้วยวิธีเลเซอร์ (Laser Project Diabetic Retinopathy)  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จ่ายชดเชยค่าบริการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีเลเซอร์ในอัตรา "จ่ายค่าบริการเลเซอร์ในราคาที่หน่วยบริการเรียกเก็บ ครั้งละไม่เกิน 2,000 บาท รายละไม่เกิน 2 ครั้ง/ปี" โดยไม่จำกัดข้างของดวงตาที่รับบริการ
 
7.กรณีการให้บริการผู้ป่วย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ด้วยวิธีการปลูกถ่ายไขกระดูก โดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
 
 8.กรณีการให้บริการผู้ป่วยโรคหืดและผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
 
 9.กรณีการให้บริการผู้ป่วยโรคเลือดออกง่าย (Hemophilia)
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด