ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

แนวทางเวชปฏิบัติทางการแพทย์แผนไทยโรคเบาหวาน (Pre-DM)

แนวทางเวชปฏิบัติทางการแพทย์แผนไทยโรคเบาหวาน (Pre-DM) HealthServ.net
แนวทางเวชปฏิบัติทางการแพทย์แผนไทยโรคเบาหวาน (Pre-DM) ThumbMobile HealthServ.net

โรคเบาหวาน หมายถึง ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงซึ่งเกิดจากความบกพร่องของการหลั่งอินซูลิน หรือการออกฤทธิ์ของอินซูลิน หรือทั้งสองอย่าง

 

โรคเบาหวาน (Diabetes Millitus)

การแพทย์แผนปัจจุบัน
โรคเบาหวาน หมายถึง ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงซึ่งเกิดจากความบกพร่องของการหลั่งอินซูลิน หรือการออกฤทธิ์ของอินซูลิน หรือทั้งสองอย่าง โดยมีการตรวจพบระดับน้ำตาลในพลาสมาหลังอดอาหารนาน 8 ชั่วโมง (Fasting Plasma Glucose) มากกว่าหรือเท่ากับ 126 mg/dL อย่างน้อย 2 ครั้ง ในวันที่ต่างกัน หรือ
ระดับน้ำตาลในพลาสมาที่ไม่เจาะจงเวลามากกว่าหรือเท่ากับ 200 mg/dL ร่วมกับมีอาการสำคัญของโรคเบาหวาน เช่น ปัสสาวะบ่อยและมาก กระหายน้ำบ่อย น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ

การแพทย์แผนไทย
โรคเบาหวาน มาจากคำบาลี มธุเมโห อาพาโธ โดย
  • มธุแปลว่า หวาน น้ำหวาน น้ำผึ้ง
  • เมหะ หรือ เมโห แปลว่า น้ำมูตร น้ำปัสสาวะ
รวมแล้ว หมายถึง น้ำปัสสาวะหวาน หมายถึง อาการหรือโรคที่เสมหะ (น้ำ) กำเริบแล้วเกิดการคั่งค้างในร่างกาย จากการที่ปิตตะ (ไฟ) และวาตะ (ลม) หย่อนหรือพิการไป ส่งผลระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ระบบไหลเวียนเลือดท้างานผิดปกติ

อาการแสดงของโรค อธิบายตามหลักสาเหตุโดย แพทย์แผนไทย ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย หนักเนื้อตัวเกียจคร้าน ง่วงเหงาหาวนอน กำลังเสื่อมถอย ผิวพรรณซีดขาว ความรู้สึกหวานปาก มักหายใจตื้น


มูลเหตุของการเกิดโรค

1.อาหารและพฤติกรรมการรับประทาน ได้แก่
 - อาหารที่มีรสหวานและรสมัน
 - การรับประทานอาหารมากเกิน รับประทานอาหารไม่เหมาะกับอายุ/ธาตุเจ้าเรือน
 - การรับประมานอาหารย่อยยากเป็นประจ้า ต้องใช้ไฟย่อยอาหารมาก เช่น เนื้อสัตว์ ของมัน ทอด

2. อุปปาติกะ เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น จากโรคในเด็ก หรือโรคซางที่รักษาไม่หายแล้วกลายเป็น กษัย ทำให้อวัยวะและร่างกายเสื่อม

3. พฤติกรรมสุขภาพ ทำให้เกิดโรคและเพิ่มไฟกำเริบ ได้แก่ อดนอน อดน้ำ อดอาหาร กลั้นปัสสาวะ กลั้นอุจจาระ ทำงานหนัก เศร้าโศก โมโหโทโส อยู่ในอิริยาบถซ้้าๆ นานๆ ออกท่าทางผิด ดื่มสุรา

4. ผิดปกติแต่กำเนิด มีความพิการของไฟธาตุหรือธาตุดิน ที่เป็นที่ตั้งของไฟธาตุ
 


แนวทางการรักษาโรคเบาหวาน ตามหลักการแพทย์แผนไทย

วิธีการรักษา 3 วิธี ประกอบด้วย การใช้ยาสมุนไพร การทำหัตถการ และการปรับพฤติกรรมในการก่อโรคเพื่อปรับสมดุล ของ การทำงานของปิตตะ และเสมหะ ในร่างกาย เป็นหลัก

เป้าหมาย
1. เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยรายใหม่ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 150 มก/ดล
2. เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดภาวะลุกลามและกลายเป็นภาวะแทรกซ้อน

ตัวชี้วัด
1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ 40
2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดภาวะแทรกซ้อนไม่เกินร้อยละ 50

เกณฑ์การส่งต่อเข้ารับบริการแพทย์แผนไทย
1.ผู้รับบริการ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน(PreDM) หรือผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ที่มีอายุ 30-70 ปี
2.มีระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 150 mg/dl และ HBA1C 7-8

เกณฑ์ไม่รับเข้าบริการรักษา

• มีภาวะ Dibetic Ketosis/Ketoacidosis
• มีระดับความดันโลหิต SBP >160 หรือ DBP >100 มิลลิเมตรปรอท
• มีพยาธิสภาพที่ไตรุนแรง SCr >1.5 mg/dl หรือ GFR < 60 หรือ นิ่วในไต
• มีค่า อิเลคโตรไลต์ผิดปกติ Na K Ca
• อื่นๆ ที่แพทย์ลงความเห็นว่าจะมีอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วย
 

การตรวจประเมินทางการแพทย์แผนไทย

• การซักประวัติ และค้นหามูลเหตุการเกิดโรค
• การตรวจร่างกาย ทั่วไป และเฉพาะที่ เช่น ปัสสาวะ ชีพจร
 

การตรวจและประเมินภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน

• ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
• ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ระดับ FBS≤70 mg/dl และมีอาการแสดงภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
• ภาวะจอประสาทตาผิดปกติ
• โรคไตจากเบาหวาน
• โรคหัวใจและหลอดเลือด
• ปัญหาเท้า ชาเท้า แผลที่เท้า
 

แนวทางโปรแกรมการดูแลสุขภาพ ด้วยการแพทย์แผนไทย สำหรับ โรคเบาหวาน

Step 1. การปรับพฤติกรรม (Lifestyle modification) คำนวณธาตุเจ้าเรือน และ แนะนำอาหารตามธาตุเจ้าเรือน อธิบายกลไกการเกิดโรค การรักษาและการปรับพฤติกรรมก่อโรค สอนเนื้อหา 3อ3ส. ตามหลักการแพทย์แผนไทย ฝึกสมาธิบำบัด/ฤๅษีดัดตน/กดจุดสะท้อนเท้า ใช้เวลาไม่เกิน 30-60 นาที

Step 2. การล้างพิษ (Detoxification) เลือกใช้ยาสมุนไพรอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ธรณีสันฑฆาต มะขามแขก
ชุมเห็ดเทศ จ่ายยาไม่เกิน 3 วัน

Step 3. การปรับสมดุลเลือกใช้ยาสมุนไพร 1 รายการตามเหมาะสมธาตุ เช่น ตรีผลา/เบญจกูล ใช้ 5-7 วัน ให้ตรีผลา รับประทาน จนครบ 30 วัน/ติดต่อกัน 20 วัน หรือ ให้ยาสมุนไพร หรือยาต้ารับในการรักษาโรคเบาหวาน เป็นต้น

Step 4. การให้คำแนะนำและการใช้ยาหรืออาหารสมุนไพรปรับธาตุเพิ่มเติม อาการปิตตะเด่น เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ให้สมุนไพรรสขมเย็น เช่น มะระขี้นก ต้าลึงอาการวาตะเด่น เช่น ชา ปวดเมื่อย ให้สมุนไพรรสร้อน เช่น พริกไทยล่อน ขิงอาการทางเสมหะเด่น บวมที่เท้า ปัสสาวะมาก ให้สมุนไพรรสขมหรือขมร้อน เช่น ช้าพลู ใบเตย

Step 5. การติดตามประเมินและกำกับ
 นัดหมาย สอบถามทางโทรศัพท์ หรือ ออกเยี่ยมติดตามที่บ้าน (ติดตาม ทุก 4 สัปดาห์ ในผู้ป่วยแต่ละราย)


ข้อมูล ยาสมุนไพร


1.ยาธรณีสัณฑฆาต 
 
ข้อบ่งใช้
- แก้เถาดาน
- แก้ท้องผูก

ขนาดและวิธีรับประทาน 
- ชนิดผง ครั้งละ 500 มิลลิกรัม - 1 กรัม ละลายน้ำสุก วันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าหรือก่อนนอน
- ชนิด แคปซูล ครั้งละ 500 มิลลิกรัม - 1 กรัม วันละครั้ง ก่อนอาหารเช้าหรือก่อนนอน

ข้อห้ามและควรระวัง
- ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้มีไข้และเด็ก
- ระวังการใช้ร่วมกับยากลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่มและยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด
- ระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ
- ระวังการใช้ร่วมกับยา Phenytoin, Propanolol,Theophylline,Rifampicin
- ควรระวังในการใช้กับผู้สูงอายุ


2.ยามะขามแขก ระบาย

ข้อบ่งใช้
- แก้ท้องผูก

ขนาดและวิธีรับประทาน 
- ชนิดชง ครั้งละ 2 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120-200 มิลลิลิตร ก่อนนอน
- ชนิดแคปซูล ครั้งละ 800 มิลลิกรัม-1.2 กรัม ก่อนนอน

ข้อห้ามและควรระวัง
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินอาหารอุดกั้นหรือปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ


3.ยาชุมเห็ดเทศ ระบาย

 
ข้อบ่งใช้
- แก้ท้องผูก

ขนาดและวิธีรับประทาน 
- ชนิดชง ครั้งละ 3-6 กรัม ชงน้ำร้อน ประมาณ 120-200 มิลิลิตร วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
- ชนิดแคปซูล ครั้งละ 3-6 กรัม วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน

ข้อห้ามและควรระวัง
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินอาหารอุดกั้น หรือปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ
- ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกิน 7 วัน


4.ยาตรีผลา บำรุงธาตุ

ข้อบ่งใช้
- ปรับธาตุ

ขนาดและวิธีรับประทาน 
- ชนิดชง ครั้งละ 1-2 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120-200 มิลลิลิตร ทิ้งไว้ 3-5 นาที วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร
- ชนิดแคปซูล ยาเม็ด ครั้งละ 300-600 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร

ข้อห้ามและควรระวัง
- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยท้องเสียง่าย


5.ยาเบญจกูล บำรุงธาตุ

ข้อบ่งใช้
- ปรับธาตุ

ขนาดและวิธีรับประทาน 
- ชนิดชง ครั้งละ 1.5-2 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
- ชนิดแคปซูล ยาผง ยาเม็ด ครั้งละ 800 มิลลิกรัม-1 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

ข้อห้ามและควรระวัง
- ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้มีไข้ หรือเด็กเล็ก
- ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกิน 7 วัน


6.ยามะระขี้นก 

ข้อบ่งใช้
- บำรุงน้ำดี ลดน้ำตาลในเลือด

ขนาดและวิธีรับประทาน 
- ชนิดชง ครั้งละ 1-2 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120-200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร
- ชนิดแคปซูล ครั้งละ 500 มิลลิกรัม-1 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
- ผลสด ต้มรับประทานเป็นอาหาร ครั้งละ 6-14 กรัม

ข้อห้ามและควรระวัง
- ห้ามใช้ในเด็กหรือสตรีให้นมบุตร เนื่องจากมีรายงานทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมาก ทำให้มีอาการชักในเด็ก
- ควรระวังการใช้ร่วมกับ ยาลดน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทาน และอินซูลิน เนื่องจาก อาจเสริมฤทธิ์กัน
- ระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด