ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

แนวปฏิบัติ 10 ข้อ เมื่อจำเป็นต้องดูแลตัวเองอยู่ที่บ้าน หากป่วยจากโควิด - นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

แนวปฏิบัติ 10 ข้อ เมื่อจำเป็นต้องดูแลตัวเองอยู่ที่บ้าน หากป่วยจากโควิด - นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ HealthServ.net
แนวปฏิบัติ 10 ข้อ เมื่อจำเป็นต้องดูแลตัวเองอยู่ที่บ้าน หากป่วยจากโควิด - นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ThumbMobile HealthServ.net

แนวปฏิบัติ 10 ข้อ เมื่อจำเป็นต้องดูแลตัวเองอยู่ที่บ้าน หากป่วยจากโควิด - นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

แนวปฏิบัติ 10 ข้อ เมื่อจำเป็นต้องดูแลตัวเองอยู่ที่บ้าน หากป่วยจากโควิด - นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ HealthServ
การระบาดของโควิดระลอก 3 กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากจำนวนผู้ป่วยที่มากระดับ 5000 กว่ารายต่อวัน และจำนวนผู้เสียชีวิตที่ขึ้นมาในระดับสูง เพื่อเป็นการรับมือสถานการณ์ การดูแลตัวเองที่บ้าน หรือ Home Isolation เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นำออกมาใช้ เพื่อแบ่งเบาภาระของรพ.หลักและรพ.สนาม ที่เริ่มไม่พอเพียง และที่สำคัญคือลดภาระของบุคคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าทั้งหลายที่กำลังทำหน้าที่แสนหนักหน่วง เพื่อช่วยชีวิตคนไทยอยู่ในสถานพยาบาลต่างๆทั่วประเทศขณะนี้

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ได้เขียนบทความให้คำแนะนำ สำหรับผู้ป่วยที่พบว่าตนเองติดโควิดแล้ว แต่ หาทางเข้าโรงพยาบาลไม่ได้ จำเป็นต้องดูแลตัวเองอยู่ที่บ้าน เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม 10 ข้อ ดังนี้

1. วินิจฉัยตัวเองว่าเป็นโควิดหรือไม่

ถ้าท่านป่วยแล้วหาที่เจาะเลือดตรวจโควิดไม่ได้ ให้วินิจฉัยตัวเองว่าเป็นโควิดจากอาการต่อไปนี้ แล้วให้เริ่มกักตัวเองจนกว่าจะติดต่อหาที่เจาะเลือดได้ อาการที่ผมเขียนนี้เรียงตามลำดับความสำคัญ ยิ่งมีหลายอาการพร้อมกันยิ่งน่าสงสัย คือ
1) มีไข้
2) ไอ
3) หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก
4) เจ็บคอ
5) ปวดกล้ามเนื้อ
6) เปลี้ยล้าผิดสังเกต
7) ปวดหัว
8) จมูกไม่ได้กลิ่น
9) คัดจมูกน้ำมูกไหล
10) ท้องเสีย

2.กักตัว

ในการกักตัว ถ้านอนห้องเดียวกันที่ปิดประตูหน้าต่าง (แปลว่านอนห้องแอร์ด้วยกันนั่นแหละ) มีโอกาสติดโรคโควิดแบบ “ยกเล้า” ค่อนข้างแน่นอน ทั้งนี้เป็นผลวิจัยที่สรุปได้สองประเด็นคือ (1) การแพร่โรคในห้องปิดประตูหน้าต่าง มันแพร่ไปทั่วห้องได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้กัน อยู่ห่างคนละมุมห้องก็แพร่เชื้อสู่กันได้ กลไกว่ามันไปได้อย่างไรยังไม่ทราบ ทราบแต่ว่ามันไปได้ และ (2) การทดลองปล่อยเชื้อให้เกาะเม็ดอากาศ (aerosol) แล้วตามดู พบว่ามันลอยอ้อยอิ่งอยู่ในห้องได้นานถึง 3 ชั่วโมง หมายความว่าคนป่วยหายใจแรงๆหรือไอออกมาทีเดียว ในสามชั่วโมงต่อจากนั้นใครแหลมเข้าห้องมาล้วนมีสิทธิติดเชื้อ ดังนั้นถ้าท่านมีห้องนอนห้องเดียวซึ่งต้องนอนด้วยกันหลายคนโดยมีคนป่วยอยู่ด้วย ต้องเปิดประตูหน้าต่างให้โล่งโถงที่สุด

3.นอนห่มผ้าให้เหงื่อออก

ใครๆ ก็ชอบแนะนำให้กินยาลดไข้ แต่หมอสันต์แนะนำว่าถ้าผู้ป่วยทนได้ไม่ต้องกินยาลดไข้ แต่ให้นอนห่มผ้าจนเหงื่อแตก พอสร่างก็ค่อยลุกมาอาบน้ำหรือเช็ดตัวให้ เพราะเชื้อโควิดจะตายถ้าผู้ป่วยไข้สูง ยกเว้นเด็กเล็กนะ อย่าปล่อยให้เด็กไข้สูงเพราะอาจชักได้

4.ดื่มน้ำ/กินผลไม้ที่มีน้ำมากๆ

ต้องให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ ให้จุใจจนหมดความอยากดื่ม หรือให้กินผลไม้ที่มีน้ำมากๆ ตลอดวัน

5.อย่าเข้าในห้องที่ผู้ป่วยกักตัว

ทำช่องเล็กๆ ไว้สอดของหรือหาวิธีส่งของกินของใช้เข้าห้องผู้ป่วยโดยไม่ต้องโผล่หน้าเข้าไป เพราะห้องแอร์ตามบ้านทั่วไปเป็นห้องความดันบวก (positive pressure) เวลาเราเป็นแขกเปิดประตูจากข้างนอก อากาศในห้องจะประดังออกประตูมาปะทะหน้าเรา ทำให้ติดเชื้อจากคนในห้องได้ง่าย

6.แยกสัตว์เลี้ยง

ถ้าผู้ป่วยเลี้ยงสัตว์ ต้องแยกสัตว์เลี้ยงนั้นออกจากคนอื่นด้วย

7. มาตรการป้องกันตัวเคร่งครัด

หลักการสากล สวมหน้ากาก อยู่ห่าง ล้างมือ ฉีดวัคซีน ยังใช้ได้แม้อยู่ในบ้านของเราเอง

8.ใช้สิทธิเบิกบัตรทอง

ใช้สิทธิที่ท่านมี เพราะเมื่อป่วยเป็นโควิดท่านมีสิทธิ์เบิก (จากสปสช.) ค่าอาหารสามมื้อ เบิกเครื่องวัดไข้ เครื่องว้ดออกซิเจนปลายนิ้ว เบิกยา อย่างน้อยก็ยาแก้ไข้และฟ้าทะลายโจร หิ..หิ ความจริงยา Flavipiravia ก็เบิกมาที่บ้านได้นะ ถ้าหมอเขาเซ็นจ่ายให้
* อ่านเพิ่มเติม 

9.ภาวะใกล้ตาย

อาการต่อไปนี้บ่งบอกว่าใกล้จะตายแล้ว ต้องหาทางรายงานให้ อสม.หรือ จนท.สส. หรือแพทย์ ที่ติดต่อได้อย่างสุดชีวิต หากทางโทรศัพท์ไม่สำเร็จก็ต้องใช้พลนำสาสน์ คือ
1) ซีดจ๋องหนองหรือปากเขียว เล็บเขียว
2) เจ็บแน่นหน้าอก
3) หายใจไม่อิ่มหรือหายใจลำบากจนพูดไม่ได้
4) มึนงงสับสนเลอะเลือน
5) หมดสติ
6) พูดไม่ชัด
7) ชัก
8) ช็อก (หมายความว่าความดันเลือดตก เวียนหัว มือเท้าเย็น)

10. แยกตัว 14 วัน

การแยกตัวนับแค่ 14 วัน ถ้ารอด ก็คือรอด ถ้าไม่รอดก็คือ..ตาย
 
ผมคงช่วยแฟนบล็อกได้แค่นี้แหละครับ ที่เหลือนั้นตัวใครตัวมัน เอ๊ย..ไม่ใช่ บ้านใครบ้านมัน
 
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
2 กรกฎาคม 2564
รพ.สต.ถึงเวลาจะเป็นความจริงแล้ว
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด