ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

แนะนำการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่พบได้บ่อยลำดับต้นๆ คงหนีไม่พ้นแผลที่เท้า ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดขาในที่สุดเนื่องจากเส้นประสาทที่เท้าถูกทำลาย จึงมักไม่รู้สึกเจ็บปวดจากแผลที่เท้า เพราะเท้าชาไม่มีความรู้สึกเหมือนปกติ

ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่พบได้บ่อยลำดับต้นๆ คงหนีไม่พ้นแผลที่เท้า ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดขาในที่สุดเนื่องจากเส้นประสาทที่เท้าถูกทำลาย  จึงมักไม่รู้สึกเจ็บปวดจากแผลที่เท้า  เพราะเท้าชาไม่มีความรู้สึกเหมือนปกติ 
 
ปัจจัยที่นำไปสู่การตัดขาในผู้ป่วยเบาหวาน
- ภาวะการขาดเลือดไปเลี้ยงเท้า
- ความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลายไปยังบริเวณเท้า
- การติดเชื้อที่เท้า
- ภาวะการหายของแผลผิดปกติหรืออุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ทำให้เกิด- แผลที่เท้า แต่ไม่ได้รับการดูแลจากผู้ป่วย
- แนวทางการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังนี้
 
แนวทางการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังนี้
1. ระดับน้ำตาลในเลือด 
การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ดีหรือปกติจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวาน เช่น โรคไต ประสาทตาเสื่อม เส้นประสาทรับความรู้สึกเสื่อม และควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3-4 ครั้ง/ สัปดาห์ ประมาณ 1 ชั่วโมง อีกทั้งควรงดการสูบบุหรี่ เพราะจะไปทำลายเส้นเลือด

2. รองเท้า 
ควรเลือกใช้รองเท้าที่มีรูปทรงลักษณะเช่นเดียวกับเท้า รองเท้าจะต้องนิ่ม ด้านบนทำด้วยหนัง ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป จนเกิดการเสียดสีเป็นแผลหรือทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก รองเท้าที่สวมใส่ควรช่วยให้น้ำหนักตัวกระจายลงทั่ว ๆ เท้าไม่ลงที่จุดหนึ่งจุดใด
 
3. ดูแลรักษาเท้าอย่างดีทุกวัน 
ตรวจเท้าเป็นประจำทุกวันว่ามีอาการปวดบวม มีแผล รอยช้ำ ผิวเปลี่ยนสีหรือเม็ดพอง โดยตรวจทั่วทั้งฝ่าเท้า ส้นเท้า เมื่อพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ทันที มีรอยแตกย่นหรือไม่ ถ้ามีอาจเพราะเท้าขึ้นอยู่เสมอ ถ้าผิวแห้งอาจทำให้คัน มีการเกา เกิดรอยแตกติดเชื้อได้ง่าย ให้ทาครีมบาง ๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น โดยเว้นบริเวณซอกนิ้วเท้า เพื่อป้องกันการหมักหมม ซึ่งอาจทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย
 
4. เชื้อราที่เล็บ 
ผู้ป่วยเบาหวานมักเกิดเชื้อราที่เล็บได้ง่าย ดังนั้นควรตรวจดูสภาพเล็บอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเกิดเชื้อราขึ้นควรไปพบแพทย์หรือทำการรักษา
 
5. การล้างเท้า 
ควรล้างเท้าด้วยสบู่อ่อน ๆ ธรรมดา หลังจากนั้นใช้ผ้าซับเท้าและบริเวณซอกนิ้วเท้าให้แห้ง พร้อมทั้งสำรวจเท้า ฝ่าเท้าว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่

6. การตัดเล็บ 
ควรตัดเล็บเท้าอย่างสม่ำเสมอและตัดเป็นแนวตรงให้สั้นพอประมาณ โดยไม่ตัดเข้ามุมเล็บ ถ้ามีเล็บขบต้องปรึกษาแพทย์


60 หมู่ 6 ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี
ต.เสาธงหิน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140
เบอร์โทร 0-2594-0020-65
Call Center 1218
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด