ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MoU ในสถานการณ์โควิด - แบ่งกลุ่มคนต่างด้าว 3 กลุ่ม 3 สี

การนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MoU ในสถานการณ์โควิด - แบ่งกลุ่มคนต่างด้าว 3 กลุ่ม 3 สี HealthServ.net

แบ่งกลุ่มคนต่างด้าวที่อนุญาตให้เข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศเป็น 3 กลุ่ม 3 สี ได้แก่ เขียว เหลือง แดง ตามจำนวนการฉีดวัคชีน (1 หรือ 2 เข็ม)

การนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MoU ในสถานการณ์โควิด - แบ่งกลุ่มคนต่างด้าว 3 กลุ่ม 3 สี ThumbMobile HealthServ.net
การนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MoU ในสถานการณ์โควิด - แบ่งกลุ่มคนต่างด้าว 3 กลุ่ม 3 สี HealthServ
13 กันยายน 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) ครั้งที่ 6/2564 เพื่อพิจารณาแนวทาง การนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MoU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด และขยายเวลาดำเนินการของศูนย์จัดเก็บข้อมูลแรงงานเมียนมาชั่วคราว(TDCC) โดยมี นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นางธิวัลรัตน์อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พล.ต.ต.นันทชาติ ศุภมงคล ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ร่วมประชุม


โดย นายสุชาติ เปิดเผยว่าด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยยังคงมีความรุนแรงและต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่กำกับดูแลกระทรวงแรงงาน จึงได้มอบหมายกระทรวงแรงงาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมการการปกครอง สาธารณสุข รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว พร้อม ๆ ไปกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่จำเป็น ต้องใช้แรงงานข้ามชาติอย่างเหมาะสม และสามารถดำเนินการควบคู่ไปกับความมั่นคงด้านสุขภาพของประชาชนได้

 
          “ที่ผ่านมากระทรวงแรงงานมีแนวทางในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในประเทศให้สามารถอยู่และทำงานได้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 และ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 อย่างไรก็ดี จากการสำรวจความต้องการแรงงานข้ามชาติจากนายจ้าง/สถานประกอบการ ยังพบว่าไม่เพียงพอกับความต้องการของนายจ้าง วันนี้ที่ประชุมจึงได้พิจารณาและเห็นชอบให้ แบ่งกลุ่มคนต่างด้าวที่อนุญาตให้เข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มสีเขียว
ที่ฉีดวัคชีนครบ 2 เข็ม เป็นระยะเวลา 1 เดือนขึ้นไป จะได้เข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศเป็นลำดับแรกโดยต้องแสดงวัคซีนพาสปอร์ตด้วย

กลุ่มสีเหลือง
ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม แต่ยังไม่ครบกำหนดระยะเวลา 1 เดือน 

กลุ่มสีแดง
ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็มหรือยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเลย


โดยให้นายจ้าง/สถานประกอบ รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ซึ่งประกอบด้วย
  • ค่าสถานที่กักกัน
  • ค่าตรวจหาเชื้อCOVID-19
  • ค่ารักษา (กรณีคนต่างด้าวติดเชื้อ COVID-19)


หากอยู่ในกิจการที่อยู่ในระบบประกันสังคม และเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33
หลังครบกำหนดระยะเวลากักตัวจะได้รับวัคซีนตามสิทธิผู้ประกันตน

กรณีไม่ได้เป็นผู้ประกันตนม.33
นายจ้างจะเป็นผู้จัดหาวัคซีนทางเลือกให้แก่คนต่างด้าว


ทั้งนี้ สถานที่กักกันของคนต่างด้าวต้องเป็นของรัฐหรือของเอกชนตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดให้การรับรอง และขยายระยะเวลาการดำเนินการของศูนย์ TDCC ณ จังหวัดสมุทรสาครต่อไปอีก 1 ปี เพื่อให้แรงงานเมียนมาสามารถทำเอกสารประจำตัว(Passport : PP) ไม่ต้องเดินทางกลับประเทศซึ่งช่วยลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 โดยสามารถเปิดทำการได้ทันทีหลังคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรสาครเห็นชอบ”  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว


การยื่นคำร้องและค่าธรรมเนียม

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวถึงแนวทางการดำเนินการ ว่า

1. นายจ้าง ยื่นแบบคำร้องขอนำคนต่างด้าว 

นายจ้าง/สถานประกอบการ ที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวตาม MoU ต้องยื่นแบบคำร้องขอนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัดหรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ทำงานของแรงงานต่างด้าว


2. ประเทศต้นทางจัดทำรายชื่อแรงงาน

จัดทำและส่งบัญชีรายชื่อคนงานต่างด้าวให้นายจ้างไทยพิจารณา


3. นายจ้าง ยื่นคำขออนุญาตทำงาน

นายจ้าง/สถานประกอบการยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน (2 ปี) จำนวน 1,900 บาท

แสดงหลักฐานการตรวจโควิด

เมื่อแรงงานต่างด้าวเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย มีเงื่อนไขต้องปฏิบัติ 

   • ต้องแสดงหลักฐานการตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR ระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง โดยคนต่างด้าวต้องเข้ารับการกักตัวก่อนเริ่มทำงาน และตรวจหาเชื้อโควิดโดยวิธี RT-PCR

   • หากผลตรวจโรคไม่ผ่าน ให้เข้ารับการรักษาโดยมีนายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย

   • ตรวจซ้ำเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการกักตัว   ต้องตรวจไม่พบเชื้อโควิด-19 หรือได้รับการรักษาจนหายแล้ว ขอรับใบอนุญาตทำงานได้ 

   • การขอรับใบอนุญาตทำงาน  ให้คนต่างด้าวแสดงหลักฐานใบรับรองแพทย์ เพื่อรับใบอนุญาตทำงานต่อไป

   • ได้สิทธิรับการฉีดวัคซีน  คนต่างด้าวที่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับการฉีดวัคซีนตามสิทธิผู้ประกันตน
 
 
          ทั้งนี้ หากนายจ้าง/สถานประกอบการ และคนต่างด้าว มีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 หรือที่ไลน์ @Service_Workpermit หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร.1694 ซึ่งมีการจัดล่ามในภาษากัมพูชา เมียนมา และอังกฤษ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และแนะนำวิธีการดำเนินการ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด