ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2565) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2563

แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2565) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2563

 แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2565) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2563
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2565) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2563 (แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 2ฯ พ.ศ. 2563) และให้หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินงานด้านผู้สูงอายุนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป
                   สาระสำคัญของเรื่อง 
                   พม. รายงานว่า 
 

1. แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2564)

เป็นแผนแม่บทระยะยาวที่ใช้เป็นกรอบทิศทางในการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุของประเทศไทย เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุ (ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว ซึ่งจะมีผลต่อสภาพทางสังคม สภาวะเศรษฐกิจ และการจ้างงาน ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรทางสุขภาพและสังคมของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยแผนผู้สูงอายุแห่งชาติดังกล่าวได้ปรับปรุงมาแล้ว 1 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งต่อมา พม. (กรมกิจการผู้สูงอายุ) ได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2565) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2561 ซึ่งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) ในการประชุมครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563 มีมติเห็นชอบในหลักการด้วยแล้ว โดยมีความเห็นเพิ่มเติมให้มุ่งเน้นประเด็นสำคัญ เช่น ควรปรับปรุงดัชนีชี้วัดในภาพรวมให้สามารถวัดได้ง่าย ปรับปรุงดัชนีหลักประกันรายได้เพื่อวัยสูงอายุให้ครอบคลุมในมิติเรื่องความเพียงพอทางการเงิน เพิ่มดัชนีด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุในท้องถิ่น/ชุมชนทั้งด้านสุขภาพ สวัสดิการ และการเงิน เป็นต้น และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป 
 

2. ต่อมา พม. (กรมกิจการผู้สูงอายุ) ได้ปรับปรุงดัชนีชี้วัดแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 2

(พ.ศ. 2545 – 2565) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2561 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันตามมติสภาพัฒนาฯ และได้ปรับชื่อแผนเป็นแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 2ฯ พ.ศ. 2563 ซึ่งคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) ในการประชุมครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ได้เห็นชอบด้วยแล้ว 
 

3. แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 2ฯ พ.ศ. 2563

มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
3.1 วัตถุประสงค์ 
(1) เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่ามีศักดิ์ศรี พึ่งพาตนเองได้และมีหลักประกันที่มั่นคง  
(2) เพื่อสร้างจิตสำนึกให้สังคมไทยตระหนักถึงผู้สูงอายุในฐานะบุคคลที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวมและส่งเสริมให้คงคุณค่าไว้ให้นานที่สุด  
(3) เพื่อให้ประชากรทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมการ และมีการเตรียมความพร้อมเพื่อการเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ 
(4) เพื่อให้ประชาชน ครอบครัวและชุมชน ท้องถิ่น องค์กรภาครัฐและเอกชน ตระหนักและมีส่วนร่วมในภารกิจด้านผู้สูงอายุ 
(5) เพื่อให้มีกรอบและแนวทางการปฏิบัติงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุสำหรับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอันจะนำไปสู่การบูรณาการงานด้านผู้สูงอายุ  

3.2 แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 พ.ศ. 2563 ประกอบด้วย 5 ยุทธศาตร์ 18 มาตรการ และดัชนีรวม 60 ดัชนี สรุปได้ ดังนี้
Column name Column name
ยุทธศาสตร์และมาตรการที่สำคัญ ดัชนีที่สำคัญและค่าเป้าหมายในปี พ.ศ. 2565 เช่น
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ (3 มาตรการ)
(1) หลักประกันด้านรายได้เพื่อวัยสูงอายุ เช่น ขยายหลักประกันชราภาพให้ครอบคลุมถ้วนหน้า ส่งเสริมและสร้างวินัยการออมทุกช่วงวัย เป็นต้น - อัตราครอบคลุมการประกันยามชราภาพภาคสมัครใจกับภาคบังคับในประชากรอายุ 30 – 59 ปี ร้อยละ 80
- อัตราเงินออมภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- สัดส่วนของประชากรอายุ 25 – 59 ปี ที่มีการออมเพียงพอเพื่อวัยสูงอายุ ร้อยละ 60 (เพิ่มดัชนีตามมติสภาพัฒนาฯ)
(2) การให้การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น ส่งเสริมการเข้าถึงและพัฒนาการจัดบริการการศึกษาและการเรียนรู้ต่อเนื่อง รณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงความจำเป็นของการเตรียมเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุ เป็นต้น - สัดส่วนประชากรอายุ 18 – 59 ปี ที่มีความรู้ด้านวงจรชีวิต กระบวนการชรา และความรู้ดานการเตรียมการเพื่อวัยผู้สูงอายุ ร้อยละ 95
- มีรายวิชาเลือกหรือกิจกรรมดูแลสุขภาพและพฤติกรรมอนามัยเพื่อการเป็นผู้สูงอายุในอนาคตในสถานศึกษาในระบบ
(3) การปลูกจิตสำนึกให้คนในสังคมตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ เช่น ส่งเสริมให้ประชาชนทุกวัยเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลรับผิดชอบผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน รวมถึงส่งเสริมให้มีกิจกรรมสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับคนทุกวัย เป็นต้น สัดส่วนทัศนคติทางบวกต่อผู้สูงอายุในประชากรอายุ 18 – 59 ปี ร้อยละ 90
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ (6 มาตรการ)
(1) ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันการเจ็บป่วย และดูแลตนเองเบื้องต้น เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในรูปแบบที่หลากหลาย เป็นต้น - สัดส่วนประชากรสูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ร้อยละ 50
(2) ส่งเสริมการรวมกลุ่มและสร้างความเข้มแข็งขององค์กรผู้สูงอายุ เช่น ส่งเสริมการจัดตั้งและดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุและเครือข่าย เป็นต้น - สัดส่วนของชุมชนที่มีชมรมผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- สัดส่วนชมรมผู้สูงอายุที่มีการจัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอในรอบ 1 ปี (อย่างน้อย 1 ครั้ง ทุก 3 เดือน หรือ 4 ครั้งต่อปี)
- สัดส่วนของงบประมาณขององค์กรปกครองท้องถิ่น/กรุงเทพมหานคร/เมืองพัทยาที่ใช้สำหรับกิจกรรมด้านผู้สูงอายุหรือเพื่อผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
(3) ส่งเสริมด้านการทำงานและการหารายได้ของผู้สูงอายุ เช่น การทำงานทั้งเต็มเวลาและไม่เต็มเวลาทั้งในระบบและนอกระบบ ส่งเสริมการรวมกลุ่มในชุมชนเพื่อจัดทำกิจกรรมเสริมรายได้ โดยให้ผู้สูงอายุสามารถมีส่วนร่วม เป็นต้น - สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่พึงพอใจสถานะการเงินของตนเอง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90
- ร้อยละ 75 ของผู้สูงอายุมีความพร้อมด้านสุขภาพ ต้องการทำงานแต่ไม่มีงานทำ (เพิ่มดัชนีตามมติสภาพัฒนาฯ)
(4) สนับสนุนผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ เช่น ประกาศเกียรติคุณผู้สูงอายุที่เป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม ส่งเสริมให้เกิดคลังปัญญากลางของผู้สูงอายุเพื่อรวบรวมภูมิปัญญาในสังคม เป็นต้น - จำนวนองค์กรที่มีการประกาศเกียรติคุณผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
(5) ส่งเสริมสนับสนุนสื่อทุกประเภทให้มีรายการเพื่อผู้สูงอายุและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้และสามารถเข้าถึงข่าวสารและสื่อ เช่น ส่งเสริมการผลิต การเข้าถึงสื่อและการเผยแพร่ข่าวสารสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น - สัดส่วนของผู้สูงอายุที่ได้รับข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้สูงอายุผ่านสื่อในระยะ 1 เดือน ร้อยละ 80
- สัดส่วนของรายการที่ออกอากาศเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่ผ่านสื่อสาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
(6) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ให้ความรู้แก่ครอบครัวและผู้สูงอายุในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับความต้องการในวัยสูงอายุ กำหนดมาตรการแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อสร้าง/ปรับปรุงที่อยู่อาศัย และระบบสาธารณูปโภคสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น - สัดส่วนของผู้สูงอายุที่อาศัยในบ้านมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ (4 มาตรการ)
(1) คุ้มครองรายได้ เช่น ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุทุกคนได้รับสวัสดิการด้านรายได้พื้นฐานที่รัฐจัดให้ การจัดตั้งกองทุนในชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น - สัดส่วนของผู้สูงอายุที่ได้รับรายได้ที่รัฐจัดให้เป็นรายเดือน ร้อยละ 95
- สัดส่วนของชุมชนที่มีกองทุนที่มีวัตถุประสงค์ครอบคลุมกลุ่มผู้สูงอายุ ร้อยละ 60
(2) หลักประกันด้านสุขภาพ เช่น พัฒนาและส่งเสริมระบบประกันสุขภาพที่มีคุณภาพเพื่อผู้สูงอายุทุกคน ส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางสุขภาพและการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างทั่วถึง เป็นต้น - สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่ใช้ระบบประกันสุขภาพในการเจ็บป่วย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
- สัดส่วนของผู้สูงอายุที่ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีร้อยละ 90
(3) ด้านครอบครัว ผู้ดูแล และการคุ้มครอง เช่น ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้อยู่กับครอบครัวให้นานที่สุด ส่งเสริมสมาชิกในครอบครัวและผู้ดูแลให้มีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น - สัดส่วนประชากรสูงอายุที่อยู่กับครอบครัวมากกว่าร้อยละ 90
- สัดส่วนผู้ดูแลที่มีความรู้ในการดูแล (โภชนาการ การแก้ไขปัญหาเวลาเจ็บป่วยเฉียบพลัน) ต่อผู้ดูแลทั้งหมดของผู้สูงอายุที่ออกจากบ้านไม่ได้ ร้อยละ 95
(4) ระบบบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน เช่น ปรับปรุงบริการสาธารณะทุกระบบให้สามารถอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรทางศาสนา องค์กรเอกชน และองค์กรสาธารณะประโยชน์มีส่วนร่วมในการดูแลจัดสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุโดยกระบวนการประชาคม เป็นต้น - สัดส่วนของผู้สูงอายุที่พึงพอใจต่อระบบบริการสาธารณะทุกระบบ ร้อยละ 80
- สัดส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการจัดงบประมาณและ/หรือกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุร้อยละ 95
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุอย่างบูรณาการระดับชาติ และการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ (2 มาตรการ)
(1) การบริหารจัดการเพื่อการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุอย่างบูรณาการระดับชาติ เช่น เสริมสร้างความเข้มแข็ง กผส. ให้สามารถผลัดดันนโยบายและภารกิจที่สำคัญด้านผู้สูงอายุสู่การปฏิบัติ พัฒนาศักยภาพของเครือข่ายในระดับจังหวัดและท้องถิ่น เป็นต้น - ทุกหน่วยงานหลักด้านผู้สูงอายุรายงานความก้าวหน้าต่อที่ประชุม กผส. อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
- มีกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายในระดับจังหวัดและท้องถิ่นทุกจังหวัดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(2) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ เช่น สนับสนุนการผลิตหรือฝึกอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุอย่างเพียงพอและมีมาตรฐาน เป็นต้น - จำนวนของบุคลากรด้านผู้สูงอายุที่ได้รับการผลิตหรือฝึกอบรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการประมวล พัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ และการติดตามประเมินผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 (3 มาตรการ)
(1) สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุสำหรับการกำหนดนโยบายและการพัฒนาการบริการหรือการดำเนินการที่เป็นประโยชน์แก่ผู้สูงอายุ - จำนวนโครงการและ/หรืองบประมาณของการศึกษาวิจัยด้านผู้สูงอายุของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
(2) ดำเนินการให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุระยะที่ 2 ที่มีมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง - แผนผู้สูงอายุแห่งชาติได้รับการติดตาม และประเมินผลได้มาตรฐานอย่างน้อยทุก 5 ปี
(3) พัฒนาระบบข้อมูลทางด้านผู้สูงอายุให้ถูกต้องและทันสมัย โดยมีระบบฐานข้อมูลที่สำคัญด้านผู้สูงอายุที่ง่ายต่อการเข้าถึงและสืบค้น - มีฐานข้อมูลด้านผู้สูงอายุที่สำคัญทุกปีและมีการปรับปรุงฐานข้อมูลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ดัชนีรวมของยุทธศาสตร์
- อายุคาดหวัง* ที่ดูแลตนเองได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- สัดส่วนอายุคาดหวังที่ยังดูแลตนเองได้** ต่ออายุคาดหวังมีสัดส่วนไม่ลดลง
- ดัชนีวัดความสุขของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ดัชนีคุณภาพภาวะประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หมายเหตุ : *อายุคาดหวัง หมายถึง จำนวนเฉลี่ยของประชากรที่คาดหวังว่าจะมีชีวิตต่อไปได้ **อายุคาดหวังที่ยังดูแลตัวเองได้ หมายถึง จำนวนปีเฉลี่ยของประชากรที่คาดหวังว่าจะอยู่ในสถานที่ทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขลักษณะส่วนตัว ประกอบด้วย การรับประทานอาหาร การทำความสะอาดบนใบหน้า การเคลื่อนย้ายจากนอนมานั่ง การเข้าใช้ห้องสุขา การสวมใส่เสื้อผ้า และการอาบน้ำ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด