ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

SLS vs SLES คืออะไร และความสำคัญต่อความปลอดภัยในเครื่องสำอาง

SLS vs SLES คืออะไร และความสำคัญต่อความปลอดภัยในเครื่องสำอาง HealthServ.net

SLS และ SLES เป็นสารเคมีที่สกัดจากน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาลม์ (Palm Kernel Oil) หรือแอลกอฮอล์ (จากการกลั่นน้ำมันปิโตเลี่ยม) และผ่านกระบวนแยกและเติมสารต่างๆ ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนี้มีคุณสมบัติที่คล้ายกันคือ ทำให้เกิดฟอง ขจัดน้ำมันออกจากผิวหนัง เส้นผม หรือฟัน เราจะพบสารเคมีเหล่านี้ ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาถูพื้น น้ำยาล้างรถ รวมไปจนถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กทั่วไป เช่น แชมพูสระผม สบู่อาบน้ำ น้ำยาซักผ้า

SLS vs SLES คืออะไร และความสำคัญต่อความปลอดภัยในเครื่องสำอาง ThumbMobile HealthServ.net



Sodium Lauryl Sulfate - SLS

ฟังก์ชันการทำงานหลักของสารนี้คือทำงานเป็นสารลดแรงตึงผิว (โดยทั่วไปเรามักพบสารลดแรงตึงผิวในผลิตภัณฑ์ซักล้าง เพราะจะทำให้น้ำมีความตึงผิวลดลง จึงสามารถแทรกซึมเข้าไปยังเนื้อผ้าหรือวัสดุที่ต้องการล้างได้ดีขึ้น) แต่สำหรับเครื่องสำอาง นิยมนำมาใช้เป็นสารเพิ่มความชุ่มชื้น (เพราะทำให้น้ำมีแรงตึงผิวลดลงจึงเข้าไปสัมผัสกับผิวหนังได้ดีขึ้น), ใช้เป็น Emulsifier (สารที่ทำให้น้ำกับน้ำมันเข้ากันได้ดี), หรือใช้เป็น ตัวทำละลาย

SLS เป็นสารทำความสะอาดที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองได้มากที่สุดตัวหนึ่ง ซึ่งมักพบได้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหลายชนิด ในความเป็นจริงแล้ว สารตัวนี้ถูกจัดให้เป็นสารมาตรฐานในการทดสอบระดับการระคายเคืองของผิวหนัง โดยในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ถ้าต้องการทราบว่าสารเคมีชนิดใด ก่อให้เกิความระคายเคืองต่อผิวหนัง ผู้ทดลองจะเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นโดยใช้สารนั้น เทียบกับการใช้สาร SLS (ในการทดสอบบนผิวหนังชนิดเดียวกัน) สาร SLS ปริมาณ 2% - 5% สามารถก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ในคนกลุ่มใหญ่

Sodium Laureth Sulfate (Sodium Lauryl Ether Sulfate) - SLES


SLES เป็นสารสกัดจากมะพร้าว ถูกใช้เป็นสารทำความสะอาด ซักล้างเป็นหลัก สารนี้ ได้รับการพิจารณาว่ามีความอ่อนโยนและมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ล้างหน้า อาบน้ำ หรือแชมพูสระผม) แม้ว่าชื่อจะคล้ายกัน แต่ SLS ต่างกับ SLES โดยสิ้นเชิง สาร SLES เป็นสารทำความสะอาดที่อ่อนโยนกว่าเนื่องจากเป็นสารประกอบที่เกิดจาก Fatty Alcohol หลายๆ ชนิด ความปลอดภัยของสาร SLES นี้ได้ถูกรีวิวโดยหลากหลายผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนี้





SLS และ SLES เป็นสารเคมีที่สกัดจากน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาลม์ (Palm Kernel Oil) หรือแอลกอฮอล์ (จากการกลั่นน้ำมันปิโตเลี่ยม) และผ่านกระบวนแยกและเติมสารต่างๆ ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนี้มีคุณสมบัติที่คล้ายกันคือ ทำให้เกิดฟอง ขจัดน้ำมันออกจากผิวหนัง เส้นผม หรือฟัน เราจะพบสารเคมีเหล่านี้ ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาถูพื้น น้ำยาล้างรถ รวมไปจนถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กทั่วไป เช่น แชมพูสระผม สบู่อาบน้ำ น้ำยาซักผ้า

ข้อแตกต่างระหว่างสาร SLS และ SLES คือ รายงานจาก Journal of The American College of Toxicology พบว่า สาร SLS แม้ใช้ในปริมาณความเข้มข้นต่ำก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารนี้ในผลิตภัณฑ์ และระยะเวลาที่ผลิตภัณฑ์สัมผัสร่างกาย ซึ่งมักจะทำให้เกิดความระคายเคืองมาก โดยเฉพาะเมื่อเข้าตา หรือเมื่อใช้กับผิวหนังที่บอบบางจะเกิดการระคายเคืองเป็นผื่นแดง หรือลุกลามรุนแรงได้

ในขณะที่ สาร SLES พบว่าทำให้เกิดอาการระคายเคืองน้อยกว่ามาก เพราะมีกระบวนการผลิตที่ดีและซับซ้อนกว่ามาก สารชนิดนี้จึงนิยมนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมากกว่า โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก

ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่าสารทั้งสองชนิดนี้ก่อมะเร็งได้ แต่ก็ยังไม่มีรายงายวิจัยชิ้นใดระบุว่าสามารถก่อมะเร็งในผู้ใช้ นอกเสียจากว่าสารทั้งสองชนิดนี้จะได้รับการปนเปื้อนมากัน 1.4 Dioxane ที่เป็นสารก่อมะเร็งในขั้นตอนการผลิต ผลิตภัณฑ์ต่างๆ แต่ปัจจุบันกระบวนการผลิตสารทำความสะอาดสามารถกำจัดสิ่งปนเปื้อนนี้ได้ด้วยการใช้ระบบสูญญากาศ จึงมั่นใจได้ว่าจะไม่มีสารก่อมะเร็งอย่างแน่นอน

เมื่อติดตามข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สารในผลิตภัณฑ์เด็ก ยังพบสาร Triclosan, สาร Polyethylene, สาร Synthetic Polymers, สาร Paraben นำมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิต ผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอนุญาตให้ใช้สารเหล่านี้เป็นวัตถุกันเสียที่ความเข้มข้นไม่เกิน 0.3% ซึ่งถือว่ามีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคตามมาตรฐานสากล จึงขอให้คุณพ่อคุณแม่มั่นใจในการใช้ผลิตภัณฑ์เด็ก อย่าได้ตื่นตระหนกกลัวตามที่เป็นข่าว

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังห่วงว่าแล้วจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวลูกอย่างไรดีให้ปลอดภัย
เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ

1. หากไม่อยากให้ลูกได้รับสารทั้ง 2 ชนิดนนี้เลยควรอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า “Sodium Lauryl Sulfate Free”
2. ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กส่วนใหญ่ยังมีส่วนผสมเคมีทั้ง 2 ชนิดนี้อยู่ หากคุณพ่อคุณแม่ต้องซื้อมาใช้ควรเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของ SLES จะดีที่สุด
3. ไม่ควรอาบน้ำหรือสระผมให้ลูกนานๆ เพื่อให้ผิวของลูกสัมผัสกับสารเคมีน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และใช้น้ำสะอาดล้างทำความสะอาดฟองและความลื่นออกจากผิวให้หมด เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างที่ผิว
4. ควรใช้ผ้าขนหนูนุ่มๆ ซับน้ำออกจากตัวลูกเบาๆ แทนการเช็ดถูแบบรูดผิว จะช่วยให้ผิวไม่ถลอกหรือระคายเคือง


Source

 

 

///////////////////////////

คำชี้แจงจากอย.

ความปลอดภัยของสาร SLS ( Sodium Lauryl Sulfate) ในเครื่องสำอาง


ขณะนี้มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสาร SLS ( Sodium Lauryl Sulfate) ว่าเป็น สารก่อมะเร็ง ในต่างประเทศได้ยกเลิกการใช้ไปแล้ว แต่ในประเทศไทยยังมีการนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง โดยเฉพาะสบู่เหลว ซึ่งใช้กันทุกเพศทุกวัย อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้สืบค้นและติดตามข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย ของสารที่ใช้ในเครื่องสำอางมาโดยตลอด กรณีความปลอดภัยของสาร SLS ( Sodium Lauryl Sulfate) ในเครื่องสำอาง สรุปได้ ดังนี้

 
1. โซเดียม ลอริล ซัลเฟต 
หรือที่นิยมเรียกในชื่อย่อว่า เอสแอลเอส (Sodium Lauryl Sulfate :SLS) เป็นสารที่มีคุณสมบัติลดแรงตึงผิวของน้ำ ทำให้เกิดฟอง ช่วยให้สิ่งสกปรก คราบไขมันหลุดออกไปได้ง่ายขึ้น จึงเรียกง่ายๆ ว่าเป็น สารทำความสะอาด นิยมใช้ทั้งในวงการอุตสาหกรรมและเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์หลายประเภท เช่น เครื่องสำอาง น้ำยาล้างจาน (โดยใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพแตกต่างกัน ตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้) เครื่องสำอางที่นิยมผสมสารนี้ ได้แก่ เครื่องสำอางที่ใช้แล้วล้างออกด้วยน้ำ เช่น สบู่เหลว แชมพู ตลอดจนยาสีฟัน
 
2. จากการศึกษาวิจัยทั้งในสัตว์ทดลองและในคน 
พบว่า อันตรายของสารนี้ คือ ระคายเคืองต่อดวงตา และผิวหนัง โดยความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารนี้ในผลิตภัณฑ์ และระยะเวลาที่ผลิตภัณฑ์สัมผัสร่างกาย ซึ่งขณะ นี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่ชัดเจนสรุปว่าสาร SLS มีความเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดมะเร็งในคน
 
3. ข้อมูลความเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดมะเร็งจากสารกลุ่มนี้ 
อาจมาจากสิ่งปนเปื้อนที่เป็นสารก่อมะเร็ง คือ 1,4 Dioxane แต่ ปัจจุบันในกระบวนการผลิตสารทำความสะอาด สามารถกำจัดสิ่งปนเปื้อนนี้ได้ด้วยการใช้ระบบสูญญากาศ (ซึ่งไม่เป็นภาระเรื่องค่าใช้จ่ายมากนัก) อีกทั้งได้มีการศึกษาพบว่า โอกาสที่จะพบ 1,4 Dioxane ในเครื่องสำอางสำเร็จรูปมีน้อย จึงไม่ควรกังวลว่าสาร SLS ในเครื่องสำอางจะ ก่อให้เกิดมะเร็ง
 
 

 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด