ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โภชนบำบัดสู้โรคเบาหวาน หลัก 9 ข้อ เพื่อการกินที่ดีต่อสุขภาพ

โภชนบำบัดสู้โรคเบาหวาน หลัก 9 ข้อ เพื่อการกินที่ดีต่อสุขภาพ HealthServ.net
โภชนบำบัดสู้โรคเบาหวาน หลัก 9 ข้อ เพื่อการกินที่ดีต่อสุขภาพ ThumbMobile HealthServ.net

โภชนบำบัด คือ ความสมดุลของทุกองค์ประกอบของอาหารที่ร่างกายต้องรับและนำไปใช้ในชีวิต องค์ประกอบของอาหารเหล่านั้น ได้แก่ พลังงาน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน คอเลสเตอรอล เส้นใยอาหาร โซเดียม ทั้งหมดผสมผสานกลมกลืนกันในอาหารที่เราบริโภคในทุกวัน การกำหนดและเลือกรับประทานอย่างมีระบบ จะช่วยบรรเทาความรุนแรงและนำพาให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติมากขึ้น มีความสุขมากขึ้น

โรคเบาหวานเกิดจาก "ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลิน" ได้อย่างเพียงพอ หรือร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ  เป็นเหตุให้ ร่างกายไม่สามารถ "เผาผลาญคาร์โบไฮเดรต" ได้อย่างเหมาะสม  ทำให้ระดับ "น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น" 

ถ้าร่างกายผลิตอินซูลินไม่พอ หรืออินซูลินทำงานได้ไม่เต็มที่ น้ำตาลจะเข้าไปในเซลล์ไม่ได้ จึงส่งผลให้เลือดมีน้ำตาลสูง

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาด ซึ่งการใช้ยารักษาเพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้

โภชนบำบัด การควบคุมอาหาร การรู้จักเลือกกินอาหารที่เหมาะสม ในปริมาณที่ถูกสัดส่วน เป็นอีกหนึ่งในวิะีการรักษาโรคเบาหวาน อย่างแน่นอน
 

กินอย่างไร ห่างไกลโรค 

จำง่ายๆ 4 คำ "เพียงพอ สมดุล หลากหลาย พอเหมาะ"
 

หลัก 9 ข้อ เพื่อการกินที่ดีต่อสุขภาพ

ข้อ 1. กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมูให้หลากหลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
ข้อ 2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ
ข้อ 3. กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ
ข้อ 4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้ง เป็นประจำ
ข้อ 5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
ข้อ 6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร
ข้อ 7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัด และเค็มจัด
ข้อ 8. กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
ข้อ 9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
 
 

ธงโภชนาการ 4 ชั้น 

จัดสรรให้เหมาะเพื่อสู้โรค 
 
ชั้นที่ 1 ข้าว-แป้ง กินปริมาณมากที่สุด ให้สารอาหารหลักคือ คาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งพลังงานหลัก 
 
ชั้นที่ 2 พืชผักผลไม้ กินปริมาณรองลงมา ให้วิตามิน แร่ธาตุและใยอาหาร
 
ชั้นที่ 3 เนื้อสัตว์ ถั่ว นม กินพอเหมาะ รับโปรตีนคุณภาพดี
 
ชั้นที่ 4 น้ำมัน น้ำตาล เกลือ กินแต่น้อยๆ เท่าที่จำเป็น
 
 
 
 

กินอย่างไรเมื่อเป็นโรคเบาหวาน

 
  • ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง
  • เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ-ไขมันปานกลาง เช่น เนื้ออกไก่ 
  • เนื้อหมูสันใน ปลาต่างๆ เด้าหู้ ไข่ไก่
  • หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ไขมันสูง เช่น หมูสามชั้น ขาหมู เบคอน แฮม ไส้กรอก
  • ผักผลไม้ แตงกวา มะกรูด มะนาว มะเขือ พริก ชะอม ใบมะกรูด ทานได้เลย
  • ผลไม้ หลากสี มะละกอ แตงโมง เมล่อน แอปเปิ้ล มะเฟือง กล้วย องุ่น ฯลฯ
  • น้ำตาล น้ำมัน เกลือ ควรหลีกเลี่ยงน้ำตาล เกลือ เครื่องปรุงต่างๆ หรือใช้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งพอ เลือกใช้สมุนไพรไทยเพิ่มรสชาติ ก็ช่วยได้ 
 

หลักโภชนบำบัด

ความสมดุลคือพลังบวก
 
พลังงาน : เพียงพอที่จะรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ถ้าอ้วนจะต้องลดน้ำหนัก
 
คาร์โบไฮเดรต  : ประมาณร้อยละ 55-60 ของพลังงานรวมเหมาะแก่ความต้องการแต่ละคน เลือกใช้อาหารคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน อาหารที่มีเส้นใยสูง อาจใช้น้ำตาลได้เล็กน้อยในกรณีควบคุมน้ำตาลในเลือดได้แล้ว
 
โปรตีน :  ประมาณร้อยละ 12-20 ของพลังงานรวม ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่นอนว่าควรเป็นเท่าไร ควรใช้โปรตีนคุณภาพสูง
 
ไขมัน :  ให้ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของพลังงานรวม โดยควรมีสัดส่วนของกรดไขมันชนิดต่างๆ ดังนี้
  • กรดไขมันอิ่มตัวต่ำกว่าร้อยละ 10
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายโมเลกุลต่ำกว่าร้อยละ 10
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวโมเลกุลเดียวคือส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 12-15

คอเลสเตอรอล  :  ต่ำกว่า 300 มก./วัน

เส้นใยอาหาร : สูงถึง 40 ก./วัน หรือประมาณ 25 ก./1000kcal

โซเดียม : ไม่เกิน 2400 มก./วัน หรือปรับตามภาวะของโรคที่เป็น

แอลกอฮอล์ : ดื่มได้บางโอกาส เพียง 1-2 คริงซ์ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ (1 ดริงซ์ เท่ากับ wine 4 oz, beer 12 oz เหล้า 1 1/2 oz)
 
 

ผลดีของการใช้อาหาร


1. รักษาน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ควรจะเป็นได้
2. ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้ระดับปกติมากที่สุดป้องกันภาวะ hyperglycemia และ hypoglycemia
3. ป้องกันหรือลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน
4. ป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด