ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคงูสวัดคืออะไร ทำไมผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้

โรคงูสวัดคืออะไร ทำไมผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้ HealthServ.net
โรคงูสวัดคืออะไร ทำไมผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้ ThumbMobile HealthServ.net

โรคงูสวัดเป็นโรคที่จะเกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปี โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคทางอายุรกรรมเรื้อรั้ง เช่น เบาหวาน ไตวายเรื้อรั้ง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคงูสวัดสูงกว่า ผู้สูงอายุสุขภาพดี

 


โรคงูสวัดคืออะไร?

 
โรคงูสวัดเป็นโรคของผื่นผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลล่า ซอสเตอร์ ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคสุกใส  โดยเมื่อหายจากโรคอีสุกอีใส เชื้อจะหลบซ่อนอยู่บริเวณปมประสาท และแฝงตัวอย่างสงบเป็นเวลานานหลายปีถึงสิบๆ ปี โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ


เชื้อไวรัสนี้จะแสดงอาการก่อให้เกิดโรคงูสวัดเมื่อภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ เช่น อายุมาก มีความเครียดสูง ทำงานหนัก พักผ่อนไม่พอ  เป็นมะเร็ง ใช้ยาต้านมะเร็งหรือยา กดภูมิคุ้มกัน เชื้อที่แฝงตัวอยู่นั้นก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวน และกระจายในปมประสาท ทำให้เส้นประสาทอักเสบ (เกิดอาการปวดตามแนวเส้นประสาท) เชื้อจะกระจายไปตามเส้นประสาทที่อักเสบ  และปล่อยเชื้อไวรัสออกมาที่ผิวหนัง เกิดเป็นตุ่มใสเรียงเป็นแนวยาวตามแนวเส้นประสาท ดังนั้นหากผู้ใดเคยเป็นโรคสุกใสมาแล้วก็จะพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคงูสวัด1
 
 
 

อาการของโรคงูสวัดเป็นอย่างไร?

 
ก่อนมีผื่นขึ้น 1-3 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแปลบๆ บริเวณเส้นประสาทที่เป็นงูสวัด อาจมีอาการคันและแสบ ร้อน (คล้ายถูกไฟไหม้) พบบริเวณชายโครง ใบหน้า แขน อาการปวด อาจทำให้คิดว่าเป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบ  บางรายปวดมาก จนคิดว่าเป็นอาการ โรคหัวใจขาดเลือด หรือมีนิ่วในไต ไส้ติ่งอักเสบได้ ถ้าปวดที่ใบหน้าข้างเดียว อาจทำให้คิดว่าเป็นไมเกรน หรือโรคทางสมองได้ บางรายอาจมีอาการไข้ ร่วมด้วย ส่วนมากมีผื่นขึ้นตรงบริเวณที่ปวดแล้วกลายเป็นตุ่มใสเรียงตามแนวผิวหนังที่เลี้ยง โดยเส้นประสาทที่อักเสบ ตุ่มน้ำมักทยอยขึ้นใน  4 วันแรก แล้วค่อยๆ แห้งตกสะเก็ดใน 7-10 วัน เมื่อตกสะเก็ดและหลุดออกไป  ผู้สูงอายุโดยส่วนใหญ่ จะมีอาการปวดตามแนวประสาทเรื้อรังยาวนานมากกว่า 3 – 12 เดือน หลังจากแผลหาย ร่วมด้วย5
 
 

อาการแทรกซ้อนของโรคงูสวัด?

 
ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยคือ

อาการปวดประสาทหลังเป็นงูสวัด (post herpetic neuralgia) โดยเฉลี่ยพบได้ประมาณร้อยละ 10-15 ของผู้ป่วยงูสวัด พบได้ประมาณร้อยละ 50 ที่ผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป และมากกว่าร้อยละ 70 ในผู้ป่วยอายุ 70 ปีขึ้นไป ยิ่งอายุมากยิ่งเป็นรุนแรงและนาน   

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่แรก หรือเกิดขึ้นภายหลังผื่นหายหมดแล้วก็ได้ มีลักษณะปวด ลึกๆ แบบปวดแสบปวดร้อนตลอดเวลา หรือปวดแบบแปลบๆ เสียวๆ (คล้ายถูกมีดแทง) เป็นพักๆ ก็ได้

มักปวดเวลาถูกสัมผัสเพียงเบาๆ ปวดมากตอนกลางคืนหรือเวลาอากาศเปลี่ยนแปลง

บางครั้งอาจรุนแรงมากจนทนไม่ได้

บางรายอาจปวดนานเป็นแรมปี โดยเฉพาะ อย่างยิ่งถ้าขึ้นที่บริเวณใบหน้า

ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้แก่การติดเชื้อ แบคทีเรียซ้ำเติม ติดเชื้อที่ตาทำให้เกิดตาอักเสบ เกิดแผลที่กระจกตา เป็นต้น1,2  ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่พบน้อย เช่น ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งทำให้เกิดการเสียชีวิตได้
 
 
 
 


ใครบ้างที่เสี่ยงต่องูสวัด?

 
ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปี โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคทางอายุรกรรมเรื้อรั้ง เช่น เบาหวาน ไตวายเรื้อรั้ง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคงูสวัดสูงกว่า ผู้สูงอายุสุขภาพดี
 
 
 

ทำไม ผู้สูงอายุ จึงเสี่ยงสูงต่อโรคงูสวัด


ผู้สูงอายุจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ลดลง และทำให้เชื้อไวรัสที่ซ่อนอยู่ในร่างกาย แสดงอาการและก่อให้เกิดโรคงูสวัดออกมา
 
 

ป้องกันโรคงูสวัดในผู้สูงอายุได้อย่างไร?

 
ปัจจุบันมีการใช้วัคซีนในการป้องกันโรคงูสวัดโดยมีข้อบ่งใช้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ซึ่งพบว่าวัคซีนสามารถลดอุบัติการณ์การเกิดโรคงูสวัดร้อยละ51.3 และป้องกันการเกิดอาการเจ็บแสบร้อนตามแนวเส้นประสาทในผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัดได้ร้อยละ66.5  วัคซีนชนิดนี้ มีใช้ในต่างประเทศมาแล้วประมาณ 10 ปี และมีผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดแล้วทั่วโลก มากกว่า 20 ล้านคน  โดยในปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดแล้ว โดย เริ่มใช้ เมื่อปลายปี  2557 ที่ผ่านมา

 

กล่าวโดยสรุป

 
คนที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคงูสวัดได้ทุกคน3  โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปี เพราะผู้สูงอายุจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ลดลง และทำให้เชื้อไวรัสที่ซ่อนอยู่ในร่างกาย แสดงอาการและก่อให้เกิดโรคงูสวัดออกมา
 
โรคงูสวัด...ภัยเงียบในผู้สูงอายุ“ปกป้อง คุณพ่อ&คุณแม่ ที่คุณรักได้แล้ววันนี้” หากท่านต้องการข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ใกล้บ้าน


 


เอกสารอ้างอิง
 
1. CDC Factsheet 2014
2. Ferri F F, Clinical advisor, 2016615-616, e2.
3. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผุ้ใหญ่และผู้สูงอายุ พ.ศ.2557
4. White RR, et al, Pharmacoeconomic, 2009; 27:781-92
5. Kost RG, et al. N Engl J Med 1996; 335(1):32-42.
                         

ด้วยความปรารถนาดี จากโรงพยาบาลวิภาวดี        
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด