ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น เป็นไปได้ครึ่งปีหลัง ภายใต้ 3 เงื่อนไข - รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล

โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น เป็นไปได้ครึ่งปีหลัง ภายใต้ 3 เงื่อนไข - รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล HealthServ.net
โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น เป็นไปได้ครึ่งปีหลัง ภายใต้ 3 เงื่อนไข - รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล ThumbMobile HealthServ.net

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล และ สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 จากการที่จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อในประเทศไทย เริ่มเพิ่มมากกว่าวันละ 10,000 คน ว่าจะเป็นที่น่าวิตกกังวลหรือไม่ และโอกาสที่โรคโควิดจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นได้ในอนาคตได้หรือไม่

โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น เป็นไปได้ครึ่งปีหลัง ภายใต้ 3 เงื่อนไข - รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล HealthServ
 
ถาม : ตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อเกิน 10,000 คนต่อเนื่องสองวันแล้ว เป็นการสะท้อนอะไรได้บ้างคะ
 
จริงๆ มันก็เริ่มขึ้นมาประมาณ 1 สัปดาห์แล้ว ในภาคการแพทย์เอง จะมองตัวเลขรวมทั้งการตรวจแบบ RT-PCR และ ATK  ถ้ารวมทั้งสองแบบ ตัวเลขจะแตะ 15,000 เป็นไปตามที่คาดว่าหลังจากมาตการผ่อนคลายจะมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นตามมาแน่ 
 
แต่สิ่งที่ต้องจับตาใกล้ชิดคือยอด ผู้ป่วยหนัก ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรง จะเพิ่มขึ้นตามหรือปล่าว ซึ่งตอนนี้มีเพิ่มขึ้น แต่ไม่สูง เมื่อเทียบกับผู้ป่วยทั้งหมด


 
 
ถาม : ที่เราเห็นตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อสะสมในโรงพยาบาลก็มีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นด้วย จะเป็นการเพิ่มภาระให้กับโรงพยาบาลและบุคลากรทางด้านการแพทย์ทำงานหนักมากขึ้นหรือไม่คะ
 
ใช่ครับ  ตอนนี้จำนวนผู้ป่วยในระบบก็ราวๆ 90,000 คน (ยังไม่นับรวม ATK ท้ั้งหมด) ในจำนวนนี้ครึ่งอยู่ในรพ.สนาม HI/CI  อีกครึ่งหนึ่งราว 45,000 คน อยู่ในโรงพยาบาล ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่รุนแรงประมาน 550 คน ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ร้อยกว่าคน  เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ หลังจากที่เคยลงไปแล้วช่วงก่อนปีใหม่ 
 
 

ถาม : มีการรายงานจากทางกระทรวงสาธารณสุขบอกว่าภายในสัปดาห์นี้จะมีการเสนอที่ประชุมสบค. พิจารณาผ่อนคลายมาตรการคุมเข้ม โควิด-19 เท่าที่จะเป็นไปได้ มีมาตรการไหนที่จะเป็นไปได้ หรือจริงๆ แล้ว ในสถานการณ์ที่ตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นกว่านี้ ไม่ควรจะผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มโควิดคะ
 
จุดที่เป็น Hotspot ก็คือกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคน ทั้งในโรงเรียน โรงงาน ตลาด สถานที่รวมตัวของคน ถ้าจะผ่อนคลายก็จะผ่อนคลายในกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรวมตัวคนมากๆ ซึ่งก็ดูน่าจะน้อย เพราะร้านต่างๆ เราให้เปิดหมดแล้ว ส่วนกิจกรรมรวมตัวเช่น การแสดง กีฬา ได้เริ่มผ่อนคลายบ้างแล้ว หากจะผ่อนเพิ่มขึ้นก็ต้องเน้นหนัก
 
สังเกตว่าโอมิครอน ซึ่งต่างจากเดลต้า จะมีความสามารถในการแพร่เชื้อแบบละอองลอยระยะไกล เมื่อใดที่มีการรวมกลุ่มคน ปลดหน้ากากชั่วคราว 5-10 นาที เช่น ช่วงทานอาหารหรือสังสรรค์ ก็จะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย  ฉะนั้นหากจะผ่อนคลาย จะต้องเน้น เรื่องการใส่หน้ากากตลอดเวลา เว้นการทานอาหารช่วงสั้นๆ หลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มที่จะทำให้มีการปลดหน้ากาก ที่จะเป็นจุดอ่อนให้ติดเชื้อได้ 
 
 
 
โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น เป็นไปได้ครึ่งปีหลัง ภายใต้ 3 เงื่อนไข - รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล HealthServ
 

ถาม : อย่างนั้น สถานบริการผับบาร์ คาราโอเกะ คงยังไม่ถึงเวลาผ่อนคลาย ให้เปิดบริการปกติได้คะ
 
ตอนนี้คือให้กับสถานบริการที่ปรับมาเป็นร้านอาหาร มีการควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการ แทนการเปิดเป็นสถานบันเทิงเต็มรูปแบบเดิม คงยังไม่น่าเหมาะสมในช่วงนี้
 
 

ถาม : ณ วันนี้ ประชาชนเชื่อว่าไม่อยากจะกลับไปสู่มาตรการล็อคดาวน์ กลับไปปิดกิจการกิจกรรมกันอีกแล้ว เราจะเดินหน้าภายใต้สถานการณ์ตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นนับวันแบบนี้ได้อย่างไรคะ
 
ด้านการแพทย์มองไปยังสถานการณ์ข้างหน้า  จริงๆ ช่วงนี้ไม่ได้เน้นมองจำนวนผู้ป่วยรายใหม่มาก แต่จะเน้นจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ต้องเข้าโรงพยาบาล ซึ่งตอนนี้ขึ้นไปถึง 500 กว่าคน เป็น 60-70% ของเป้าที่ตั้งไว้ แต่หากขึ้นไปถึง 80% ก็จะต้องกลับมาพิจารณาทบทวนมาตรการผ่อนคลายแล้วว่า จะต้องเข้มงวดขึ้น เพราะหากปล่อยให้ขึ้นไปก็อาจทำให้ความตึงมือของภาคสาธารณสุข ซึ่งตอนนี้เรากลับไปทำงานดูแลผู้ป่วยโควิดเต็มร้อย บางที่เกินร้อยไปแล้ว การที่จะย้อนกลับมาดูผู้ป่วยโควิดจำนวนมากขึ้น ก็อาจจะเป็นภาระของภาคการแพทย์มากเกินไป 
 
 

ถาม : ก่อนหน้านี้มีการประเมินว่า ปลายกุมภาหรือปลายมีนา อย่างช้าที่สุด จะได้เห็นโควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่นได้ ถ้าสถานการณ์คนติดเชื้อเกินหลักหมื่นแบบนี้ไปเรื่อยๆ นั่นคือต้องยืดสถานการณ์ออกไปอีก ถูกต้องไหมคะ
 
ใช่ครับ จริงๆ ที่เราประเมินเราหวังว่าช่วง ปลายกุมภาหรือต้นมีนา เริ่มจะเห็นการลงจากพีค ตอนนี้ยังไม่ถึงพีคจริง ซึ่งอาจจะไปอยู่ช่วงกลางเดือนหรือปลายเดือนนี้ แล้วจะเริ่มลงช้าๆ แต่กว่าจะไปถึงจุดที่เราเรียกว่า จะเป็นโรคประจำถิ่นหรือโรคระบาดที่ควบคุมได้ คงใช้เวลา 2-3 เดือนเป็นอย่างน้อย ก็คาดว่าน่าจะเป็นครึ่งปีหลัง 
 
 

ถาม : ถ้าจะไปถึงจุดที่จะเป็นโรคประจำถิ่น ในครึ่งปีหลัง จะต้องเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขใดบ้างคะ 
 
หนึ่ง การระดมฉีดวัคซีน หมายถึงวัคซีนรุ่นเดิมที่มีอยู่ ทั้งเข็มพื้นฐานและเข็มกระตุ้น ให้ได้มาก  

สอง วัคซีนรุ่นใหม่ ที่อาจจะออกมาได้เร็วสุดแถวๆ เดือนพฤษภา-มิถุนา ออกมาทันเสริมภูมิคนที่ฉีดไปเมื่อต้นปี ที่ราวๆ 3 เดือนที่ภูมิเริ่มตกลง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ หรือกลุ่มเปราะบาง 

สาม ต้องไม่มีการกลายพันธุ์ของเชื้อที่ทำให้เกิดการระบาดวงกว้างและรุนแรงมากขึ้นจากโอมิครอนที่มีอยู่ในปัจจุบัน
 
 

ถาม : การที่เราจะบอกได้ว่าโอมิครอนที่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน จะกลายพันธุ์ไปมากกว่านี้ แล้วรุนแรงมากกว่านี้ไหม ต้องใช้เวลานานมากน้อยแค่ไหนคะ
 
อันนี้คงคงขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวเชื้อ เข้าใจว่าองค์การอนามัยโลก ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย กำลังจับตาสายพันธุ์ย่อยต่างๆ ว่ามีตัวไหนที่น่ากังวลเป็นพิเศษหรือปล่าว จากข้อมูลปัจจุบัน ยังไม่มีสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนอันใด ที่จะเป็นที่น่าหนักใจ แต่ยังคงประมาทไม่ได้อยู่ดี 
 
 
 
 


ถาม : เพราะฉะนั้นแล้วภายใต้สถานการณ์นี้ ที่บุคลากรทางด้านการแพทย์ประเมินว่ายังไม่ถึงจุดสูงสุด ถ้าไปแตะจุดสูงสุดจริงๆ ประเมินกันเอาไว้ว่าตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อรายวันเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณสักเท่าไหร่คะ
 
ตัวเลขตอนนี้ ที่รวม ATK แล้ว จะเป็น หมื่นห้ามาสองวันติดกัน ก็อาจจะถึงแตะๆ 20,000 ก็เป็นตัวเลขที่เราเคยคาดการณ์ไว้ก่อนปีใหม่แล้ว
 


ถาม :  ถ้าไปถึงสองหมื่นๆ จริง ก็จะไม่อยู่ในเส้นกราฟสีเขียวที่ทางศบค.เคยประเมินไว้ ถ้าอย่างนั้นต่อไปอีก 1-2 สัปดาห์ แล้วตัวเลขแตะที่ประเมินไว้จริง ภายใต้มาตรการที่เตรียมจะผ่อนคลายเพิ่มขึ้นมันควรจะเกิดขึ้นหรือคะ 
 
ก็คงน่าจะลำบาก สิ่งหนึ่งที่เราจับตาดูคือ Test and Go ที่เราเริ่มผ่อนคลายลงตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ จะเห็นผลตั้งแต่กลางเดือน (กุมภาพันธ์) ไป ทั้งจากคนที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ และจากคนในประเทศเอง ที่ต้องออกมารองรับภาคบริการตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่คาดการณ์กันได้ว่าน่าจะเพิ่มจำนวนผู้ป่วย ถ้าหากเพิ่มเยอะเกิน มีผู้ป่วยที่อาการหนัก เข้าโรงพยาบาล เยอะจนใกล้เคียง 80% คงต้องหารือกันหนัก ว่ามาตรการต่างๆ คงต้องทบทวนกัน
 
 

ถาม : สุดท้ายอยากให้คุณหมอฝากอะไรถึงประชาชน ว่าจะอยู่ภายใต้สถานการณ์นี้ได้อย่างไรให้ปลอดภัย 
 
ขอบคุณความร่วมมือของภาคประชาชนและภาคต่างๆ ที่ร่วมมือกันประคองสถานการณ์ของประเทศ หลังจากที่เราเริ่มผ่อนคลาย ก็ต้องยอมรับว่า สถานการณ์ก็ยังอยู่ในสภาพที่ควบคุมได้  แต่ก็จะเริ่มส่อแนวโน้มว่า ถ้ามีการเพิ่มจำนวนของคนต้องเข้าโรงพยาบาลจากโควิดมากขึ้น ก็อาจจะทำให้เราต้องกลับไปเข้มงวดในบางอย่างมากขึ้น แต่คงไม่กลับไปเหมือนการล็อคดาวน์ใหญ่
 
ประเทศไทยเอง คงไม่สามารถปล่อยให้ในเหมือนต่างประเทศ ให้มีคนติดเป็นหมื่นเป็นแสนเนื่องจากเขามีต้นทุนที่ดีกว่าเรา และเราคงใช้สถานการณ์เดินสายกลางแบบนี้ไป จนถึงจุดหนึ่งที่เรามีวัคซีนใหม่ จุดหนึ่งที่การติดเชื้อมีมากพอควรระดับหนึ่งแล้ว ก็จะทำให้สถานการณ์ค่อยๆ ดีขึ้นเองได้ครับ
 
 
TNN Thailand 6 กุมภาพันธ์ 2565
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด