ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบบ่อย

โรคสะเก็ดเงินสาเหตุที่แน่ชัดยังไม่ทราบ แต่มีหลักฐานสนับสนุนว่าน่าจะเกิดจากความบกพร่องของระบบอิมมูน ร่วมกับความผิดปกติของสารพันธุกรรม กระตุ้นให้เซลล์ผิวหนัง เจริญเร็วกว่าปกติจากที่ใช้เวลา 28-30 วันในการเจริญเต็มที่และหลุดออกไป แต่ในผู้ป่วยสะเก็ดเงิน วงจรนี้จะลดลงเหลือเพียง 2-3 วัน ทำให้ผิวหนังมีการหนาตัวขึ้นและมีสะเก็ดจำนวนมาก

โรค สะเก็ดเงิน 
 
1. โรคสะเก็ดเงินคืออะไร
โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบบ่อย  มีชื่อภาษาอังกฤษว่า “Psoriasis” ลักษณะรอยโรคเป็นผื่นแดงนูนหนา  มีสะเก็ดสีขาว ลอกเป็นขุยจำนวนมาก  เป็น ๆ หาย ๆ
 

2. โรคสะเก็ดเงินติดต่อหรือไม่
โรคสะเก็ดเงินไม่ติดต่อ เนื่องจากไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา   ดังนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย  จึงไม่ต้องกังวลที่จะติดโรคนี้ 
 

3. ทำไมจึงเป็นโรคสะเก็ดเงิน
 ในปัจจุบัน สาเหตุที่แน่ชัดยังไม่ทราบ  แต่มีหลักฐานสนับสนุนว่าน่าจะเกิดจากความบกพร่องของระบบอิมมูน ร่วมกับความผิดปกติของสารพันธุกรรม กระตุ้นให้เซลล์ผิวหนัง เจริญเร็วกว่าปกติจากที่ใช้เวลา 28 – 30 วันในการเจริญเต็มที่และหลุดออกไป แต่ในผู้ป่วยสะเก็ดเงิน วงจรนี้จะลดลง
เหลือเพียง  2 – 3 วัน ทำให้ผิวหนังมีการหนาตัวขึ้นและมีสะเก็ดจำนวนมาก
 

4. โรคสะเก็ดเงินพบบ่อยแค่ไหน
  โรคสะเก็ดเงินพบประมาณร้อยละ  1 – 2 ของประชากรทั่วโลก   ผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้ใกล้เคียงกัน   ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเมื่อมีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาถึงอุบัติการณ์ และความชุกของโรคในประชากรทั่วไป    จากสถิติผู้ป่วยที่มาตรวจที่แผนกผิวหนังของโรงพยาบาลใหญ่ในกรุงเทพฯ พบได้ประมาณ 10 %
 

5. การวินิจฉัยโรคสะเก็ดเงิน ทำได้อย่างไร
  แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคสะเก็ดเงินจากการตรวจรอยโรคของผู้ป่วย  ไม่ต้องการการตรวจเลือด หรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ   ในกรณีย์พิเศษที่พบน้อยมากคือ รอยโรคมีลักษณะต่างไปจากรอยโรคมาตรฐาน   อาจต้องทำการตัดตัวอย่างผิวหนังไปตรวจทางพยาธิวิทยา
 

6. ผื่นสะเก็ดเงินมีกี่แบบ
  รอยโรคสะเก็ดเงินที่พบบ่อยที่สุดคือ  มากกว่า 80% ของผู้ป่วย   มีลักษณะเป็นผื่นแดงนูน หนา รูปร่างกลม   และมีสะเก็ดจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบผื่นผิวหนังได้อีกหลายลักษณะ  คือ
 
  •  ผื่นขนาดเล็กๆ เป็นตุ่มนูนแดง มีขุยกระจายทั่วไป   บริเวณลำตัวและแขนขา
  •  ผื่นเป็นตุ่มหนองตื้นบนรอยโรคสีแดง
  • ผื่นแดงอักเสบบริเวณซอกรักแร้ ซอกขา
  • ผื่นแดงลอกทั้งตัว
 

7. ผื่นสะเก็ดเงินพบบริเวณใดของร่างกายบ้าง
  ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ หนังศีรษะ  ผิวหนังที่มีการเสียดสี  แกะเกาเช่น  ศอก   เข่า  ลำตัว ก้นกบ   แต่ก็สามารถพบได้ทุกแห่งของร่างกาย ได้แก่   เล็บ   ฝ่ามือ   ฝ่าเท้า   อวัยวะเพศ  เป็นต้น การกระจายของผื่น มักจะเท่ากันทั้งสองข้างของร่างกาย
 

8. ใครมีโอกาสเป็นสะเก็ดเงินได้บ้าง
  การคาดการณ์ว่าจะเกิดสะเก็ดเงินหรือไม่  สามารถทำได้แม่นยำ   ผู้ป่วยสะเก็ดเงิน 1 ใน 3จะมีประวัติญาติเป็นสะเก็ดเงินด้วย   แต่การเกิดโรคไม่ขึ้นกับปัจจัยทางพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว
 

9. โรคสะเก็ดเงินจะกำเริบได้จากสาเหตุใดบ้าง
  สิ่งแวดล้อมที่มีหลักฐานว่ากระตุ้นโรคสะเก็ดเงิน ได้แก่  การเสียดสี  การกระทบกระแทกแกะเกา  บาดแผล  ปัจจัยทางจิตใจและสังคมเช่น  ความเครียด  การดื่มเหล้า  โรคติดเชื้อ  คออักเสบ
 สารเคมีบางอย่าง เช่น  ยาลดความดันชนิดต้านเบต้า  ยาจิตเวช เช่น  Lithium  ยาต้านมาเลเรีย เป็นต้น
 
 
10. โรคสะเก็ดเงินมีอาการอื่น นอกจากผื่นผิวหนังหรือไม่
  ข้ออักเสบจากโรคสะเก็ดเงินพบได้ประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ป่วย   และมักพบความผิดปกติของเล็บร่วมด้วย    อาการปวดข้อคล้ายโรคปวดข้อรูมาตอยด์    แต่อาการรุนแรงน้อยกว่า    ข้อและเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อ จะมีการอักเสบบวม   หากไม่ได้รับการักษาที่ถูกต้อง จะมีการทำลายของข้อ และ
 ทำให้ข้อผิดรูปถาวรได้   ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการปวดข้อ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
 
11.   การดำเนินโรค
  โรคสะเก็ดเงิน  เป็นโรคเรื้อรัง มีอาการเห่อและสงบสลับกันไป    ระยะเวลาโรคสงบอาจสั้นเป็นสัปดาห์ หรือยาวนานได้หลายปี    ส่วนใหญ่โรคจะสงบจากการได้รับการรักษาที่เหมาะสม และการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่กล่าวข้างต้น
 
12.   การรักษาโรคสะเก็ดเงิน
  การรักษาและดูแลตนเองอย่างถูกต้อง   โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างแพทย์ และ ผู้ป่วยจะสามารถควบคุมโรคให้สงบได้นาน   และทำให้ผู้ป่วย มีชีวิตในครอบครัว และสังคมอย่างมีความสุข   แม้ปัจจุบัน ยังไม่มีการรักษาใด ที่ทำให้โรคสะเก็ดเงินหายขาดได้ 
 
 
ขอบคุณบทความจาก แผนกผิวหนัง โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าฯ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด