ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคหัวใจล้มเหลว สาเหตุ อาการและการรักษา

ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เพียงพอ หรืออาจหมายถึงภาวะที่หัวใจไม่สามารถคลายตัวหรือขยายตัวเพื่อรองรับเลือดได้ปกติ

โรคหัวใจล้มเหลว

โรคหัวใจล้มเหลวคืออะไร

คือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เพียงพอ หรืออาจหมายถึงภาวะที่หัวใจไม่สามารถคลายตัวหรือขยายตัวเพื่อรองรับเลือดได้ปกติ ทำให้เกิดความดันเลือดในช่องปอดมากขึ้น เกิดการคั่งของเลือดในปอด มากขึ้น ทำให้อาการเหนื่อยง่ายและอาจก่อให้เกิดอาการบวมของร่างกายได้


สาเหตุของหัวใจล้มเหลว

• โรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคความดันโลหิตสูง
• โรคหัวใจรูมาติกหรือลิ้นหัวใจพิการโรคหัวใจเป็นแต่กำเนิด
• โรคเยื่อหุ้มหัวใจบางชนิดโรคไตวาย
• โรคไทรอยด์เป็นพิษโรคโลหิตจาง
• การดื่มเหล้ามากภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ
• โรคติดเชื้อไวรัสแบคทีเรียหรือวัณโรคได้รับยาเคมีบำบัด หรือได้รับการฉายแสง
• โรคข้อบางชนิดได้รับสารพิษบางชนิด
• โรคการนอนหลับบางชนิด


ภาวะที่เป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้มีอาการของหัวใจล้มเหลวเป็นมากขึ้น ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล

• ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบอย่างเฉียบพลันความดันโลหิตสูง
• การติดเชื้อบางชนิด เช่นติดเชื้อที่ทางเดินหายใจภาวะที่หัวใจเต้นเร็วหรือช้าเกินไป
• ภาวะการณ์ได้รับน้ำ มากเกินความต้องการขาดการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
• การรับประทานอาหารเค็ม เกินไป ยา เช่นยาแก้ปวดบางชนิด ยากลุ่มสเตียรอยด์


อาการของโรคหัวใจล้มเหลว

อาการเหนื่อยง่ายอาจเป็นได้ในขณะพักหรือ เวลาออกแรง แน่นหน้าอกหายใจไม่ออกนอนราบไม่ได้เวลากลางคืนอาจต้องลุกขึ้นมาเหนื่อย หรือหายใจ หรือ ไอ ใจสั่น บวม ที่ขา หรือในช่องท้องจนทำให้ตับและม้ามโตได้ถ้าเป็นนานๆ อาจอ่อนเพลียไม่มีแรงผอมลงได้


อาการแสดงของโรคหัวใจล้มเหลว

แพทย์ ตรวจว่า ระดับหลอดเลือดดำที่คอสูงขึ้นชีพจรเต้นเร็วผิดจังหวะฟังปอดและหัวใจมีเสียงผิดปกติ คือ อาจได้ยินเสียง ที่เรียกว่าgallop S3 S4ขนาดหัวใจโตขึ้นมีบวมกดบุ๋มที่ขา หรือในช่องท้อง


การตรวจวินิจฉัย

• ซักประวัติ ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของ โรคหัวใจล้มเหลว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สูบบุหรี่ การดื่มเหล้า ภาวะไข้ที่เกิดจากการติดเชื้อบางอย่าง การกินอาหารเค็ม การซักประวัติ ที่เป็นอาการและภาวะกระตุ้นให้เกิด โรคหัวใจล้มเหลว ดังที่กล่าวข้างต้น
• การตรวจร่างกายโดยแพทย์ ตามที่กล่าวข้างต้น
• การตรวจพิเศษ

1) การตรวจเอกซ์เรย์ปอด ดูว่าเงาหัวใจ โตหรือไม่ และดูว่าปริมาณของสารน้ำหรือเลือด คั่งในช่องปอดหรือไม่
2) การตรวจกราฟหัวใจเพื่อดู ว่ามี การบ่งถึงหัวใจโต หรือสงสัยว่ามีโรคหลอดเลือด
หัวใจตีบหรือไม่ มีลักษณะที่บ่งว่าหัวใจโต มีหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดจังหวะหรือไม่
3) การตรวจด้วยเครื่องสะท้อนคลื่นเสียงหัวใจ (echocardiography)ดูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจว่ามีการบีบตัว หรือคลายตัวปกติหรือไม่ มีโรคลิ้นหัวใจพิการ รวมทั้งเยื่อหุ้มหัวใจว่าปกติหรือไม่
4) การเจาะเลือดเพื่อดู ระดับ ของเกลือแร่ บางชนิดในเลือด การทำงานของไตไทรอยด์หรือฮอร์โมน บางชนิด ปริมาณเม็ดเลือดแดง ระดับ ของBNPหรือNT pro BNP (brain Natriuretic Peptides)ซึ่งพบว่ามีประมาณเพิ่มสูงขึ้นในภาวะ หัวใจล้มเหลว สามารถใช้วินิจฉัย และใช้ติดตามการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้

การรักษา

(ที่กล่าวถึงนี้ส่วนใหญ่หมายถึง การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวได้ไม่ดีแบบเรื้อรัง)


1. การรักษาทั่วไป

1.1 การควบคุมรักษา ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเช่นการรักษาความดันโลหิตสูง เบาหวาน การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน หรือการผ่าตัดบายพาส การผ่าตัดลิ้นหัวใจ ในกรณีลิ้นหัวใจพิการ การควบคุมอัตราการเต้นหัวใจไม่ให้เต้นเร็วหรือช้า หรือผิดจังหวะการรักษาโรคไตไม่ให้เกิดภาวะบวมน้ำ เป็นต้น

1.2 การให้การศึกษาเพื่อให้ผู้ป่วยดูแลตนเองที่กลับบ้านไปแล้ว
     1.2.1 ควบคุมการดื่มน้ำไม่ควรเกิน1.5ลิตรต่อวัน
     1.2.2 อาหารเค็มจำกัดเกลือ ไม่เกิน2กรัมต่อวัน ( ประมาณครึ่งช้อนชา )
     1.2.3 การชั่งน้ำหนัก ทุกวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ2ครั้ง เพื่อ ดูว่ามีภาวะน้ำในร่างกายเกินหรือไม่ ถ้าหากน้ำหนักเกินมาก2กิโลกรัม ภายใน3วัน อาจพิจารณาปรับยาขับปัสสาวะเอง หรือมาพบแพทย์

1.2.4 การควบคุมน้ำหนัก ถ้าอ้วนเกินไปควรลดน้ำหนัก ตัวลง แต่ถ้าหากผอมเกินไปอาจหมายถึง การขาดสารอาหาร หรือ ภาวะหัวใจวายเป็นรุนแรงและเรื้อรังได้

1.2.5 การออกกำลังกาย โดยมีโปรแกรมการออกกำลังกายตามความเหมาะสม เป็นรายๆ ไป หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย เช่นการยกน้ำหนัก หรือการเล่นยกเวท

1.2.6 ระมัดระวังไม่ให้เป็นหวัดติดเชื้อง่าย

1.2.7 งดดื่มเหล้า และสูบบุหรี่

1.2.8 ควบคุมอาหารไขมัน

1.2.9 เพศสัมพันธ์ ถ้าขึ้นบันได1ชั้นโดยไม่เหนื่อย ก็อาจมีเพศสัมพันธ์ได้ปกติ

1.2.10 การพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ

1.2.11 การเดินทาง ควร ระมัดระวังไปสถานที่สูง อากาศเบาบาง อากาศที่ร้อนชื้นเกินไป


2. การรักษาโดยการใช้ยา

2.1 ยากลุ่มปัสสาวะ (Diuretics)
ใช้ในภาวะหัวใจล้มเหลวที่มี ภาวะคั่งของเลือดหรือน้ำในร่างกายรวมทั้งภาวะบวม มักใช้ในระยะแรกๆ ของภาวะหัวใจล้มเหลวโดยเฉียบพลัน แต่ควรระมัดระวังไม่ให้ยากลุ่มนี้มากเกินไปเพราะ อาจจะทำให้เกิดภาวะไตเสื่อมสมรรถภาพลง และระดับของโซเดียมและโปแตสเซี่ยมต่ำเกินไปได้

2.2 ยากลุ่ม ACE-I (Angiotensin Converting Enzyme Inhibitors)
ใช้ในภาวะหัวใจล้มเหลว ทุกคนของภาวะหัวใจล้มเหลว แต่มีข้อห้ามใช้บางอย่าง เช่น ภาวะไตวาย หรือมีอาการไอ หรือภาวะโปแตสเซี่ยมสูง ยา กลุ่มนี้สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้

2.3 ยากลุ่ม ARB (Angiotensin II Receptor Antagonists)
ใช้ในกรณีที่มีผลข้างเคียงของยากลุ่มACE-Iทำให้ไม่สามารถใช้ยา ACE-Iไม่ได้ หรือ อาจใช้ร่วมกับยาACE-Iไปเลยก็ได้ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป ข้อห้ามใช้คือ ภาวะไตวาย และภาวะโปแตสเซี่ยมสูง

2.4 ยากลุ่มต้าน เบต้า (beta blocker)
ใช้ในกรณี ที่ไม่มีภาวะคั่งของน้ำ ในภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน คือ ระยะที่ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแล้ว แต่การให้ต้องค่อยๆ เริ่มยาด้วยปริมาณน้อยๆ ก่อน แล้วค่อยเพิ่มปริมาณยาจนผู้ป่วยทนไหว ยากลุ่มนี้สามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาล และอัตราการเสียชีวิตได้

2.5 ยากลุ่ม aldosterone antagonists
ปกติเป็นยาขับปัสสาวะชนิดหนึ่ง แต่สามารถใช้เป็นยารักษาโรคหัวใจล้มเหลวระดับปานกลางถึงรุนแรงได้ อีกชนิดหนึ่ง ยากลุ่มนี้เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ใช้ร่วมกับยากลุ่มข้างต้นแล้วสามารถลดอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และอัตราการเสียชีวิตได้

2.6 ยากลุ่ม digitalis
เป็นยาที่ใช้มานาน ใช้ในกรณีที่ใช้ยาในกลุ่มที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังมีอาการอยู่สามารถลดอัตราการเต้นหัวใจผิดจังหวะบางประเภท ไม่ให้เต้นเร็วมากเกินไป สามารถลดอัตราการกลับเข้ามานอนรักษาตัวในโรงพยาบาลโดยเฉียบพลันได้

2.7 ยากลุ่ม hydralazine ร่วมกับยา nitrate
ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถใช้ ACE-I หรือ ARB ได้ อันเนื่องจากไตวาย

2.8 ยากลุ่มอื่นๆ ที่เป็นยาใหม่ หรือยา ที่ใช้ภาวะฉุกเฉินและเฉียบพลัน ไม่ได้นำมากล่าวในที่นี้




3. การรักษาโดยใช้เครื่องมือพิเศษ

3.1 การฝังเครื่องช็อคหัวใจ (Implantable Cardioverter-Defribrillators,ICD)
เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝังเข้าไปที่ตัวผู้ป่วยเพื่อทำการรักษา หัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งมักจะพบได้ในภาวะหัวใจล้มเหลวที่เป็นรุนแรง โดยเครื่องจะวินิจฉัยลักษณะการเต้นของหัวใจและทำการช็อคไปเองโดยอัตโนมัติ สามารถลดอัตราการเสียชีวิตโดยเฉียบพลันได้

3.2 การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจCRT ( Cardiac Resynchronization Therapy)
เป็นเครื่องที่ฝังเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวที่เป็นรุนแรง ที่มีลักษณะการนำไฟฟ้าผิดปกติ ทำให้การบีบตัวของ
หัวใจไม่สัมพันธ์กัน เพื่อทำให้มีการนำไฟฟ้าหัวใจที่ดีขึ้น เป็นผลทำให้หัวใจทำงานบีบตัวได้ดีขึ้นสามารถทำให้อาการผู้ป่วยดีขึ้นได้ ลดการนอนโรงพยาบาลและลดอัตราการเสียชีวิตได้ อุปกรณ์ชนิดนี้อาจมีการเสริม หน้าที่เป็นแบบ ช๊อคไฟฟ้าหัวใจได้ ตามข้อ3.1ด้วย เรียกว่าCRT-Defribrillator


4. การรักษาโดยการผ่าตัด คือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ (Cardiac Tranplantation)
ใช้ในกรณีที่ไม่มีทางรักษาโดยวิธีข้างต้น


ข้อเขียนโดย นพ.วรชาติ โมฬีฤกษ์ภูมิ
อายุรแพทย์โรคหัวใจ แพทย์ที่ปรึกษารพ.วิภาวดี

 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด