ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า

โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า

  ไวรัสโรต้าคืออะไร ? (Rota  virus)     
 
         โรต้าเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่ติดต่อได้ง่าย เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงในเด็กและผู้ใหญ่ ไวรัสชนิดนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้มีอาการท้องเสียรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากการขาดน้ำและเกลือแร่ สุขอนามัยก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโรต้าได้ 
 
 
ติดเชื้อไวรัสโรต้าได้อย่างไร ?
 
         การติดเชื้อไวรัสชนิดนี้เกิดจากการรับประทานสิ่งที่มีไวรัสปนเปื้อนเข้าทางปาก ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อาหารและสิ่งของ โดยไวรัสชนิดนี้อาจติดอยู่ตามสิ่งของ หรือมือที่เปื้อนเชื้อไวรัสเข้าปาก ก็สามารถติดเชื้อได้ จากนั้นเชื้อไวรัสเดินทางไปตามระบบทางเดินอาหาร คือ กระเพาะอาหาร และลำไส้ ทำลายเยื่อบุผนังลำไส้ทำให้เกิดอาการอักเสบติดเชื้อขึ้น
 
 
เมื่อติดเชื้อไวรัสโรต้าแล้วจะแสดงอาการอย่างไร ?
 
           หลังได้รับเชื้อ 1-2 วัน  จะเริ่มอาเจียน มีไข้ (ไข้อาจสูงถึง 39 องศาเซลเซียส)และบางรายอาจเกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจ คือ มีน้ำมูกไหล ไอ คอแดง ร่วมด้วย ต่อมาจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำอาจมากถึง 10 - 20 ครั้งต่อวัน ส่วนใหญ่อาการจะหายไปภายใน 3 – 5 วัน ส่วนน้อยจะมีอาการท้องเสียยืดเยื้อเรื้อรังนาน 9 วันถึง 3 สัปดาห์ได้ หากอาการท้องเสียเกิดขึ้นเป็นเวลานานหรือมีอาการรุนแรงจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ที่สำคัญ ซึ่งจะขาดได้ในปริมาณที่มากกว่าการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆอีกหลายชนิด เป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากมีอาการรุนแรงควรรีบพามาพบแพทย์และจำเป็นต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลโดยด่วน
 
 
ทราบได้อย่างไรว่าอาการท้องเสียเกิดจากไวรัสโรต้า ?
 
         แพทย์วินิจฉัยโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า ได้จากประวัติ อาการและฤดูกาลที่เป็น ร่วมกับการตรวจพบเชื้อไวรัสโรต้าในอุจจาระ (Rotavirus Ag in Stool = positive)
 
 
ถ้าติดเชื้อไวรัสโรต้าแล้วควรได้รับการรักษาอย่างไร ?
 
          เนื่องจากไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้โดยตรง การรักษาเป็นการรักษาตามอาการ คือ ถ้าอาการไม่รุนแรงก็สามารถรับประทานยาที่บ้านได้ โดยดื่มน้ำเกลือแร่ชดเชยส่วนที่สูญเสียไปจากการถ่ายอุจจาระและอาเจียน รับประทานยาแก้อาเจียนถ้ามีอาเจียนบ่อย แต่หากมีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ตาโหล ซึมลง ตัวเย็น ไข้สูง ชัก หายใจหอบเหนื่อย ปัสสาวะออกน้อยหรืออาเจียนมากรับประทานไม่ได้ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลโดยด่วน
 
เราจะสามารถปกป้องจากเชื้อไวรัสโรต้าได้อย่างไร ?
 
           - วิธีป้องกันโรคอุจจาระร่วงเบื้องต้น คือ การรักษาสุขอนามัย การดูแลความสะอาดของอาหารน้ำดื่ม และล้างมืออย่างถูกต้อง
 
  - ต้องจัดให้มีอ่างล้างมือและส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมถึงการกำจัดอุจจาระให้ถูกต้องด้วย หากพบผู้ป่วยต้องรีบป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังคนอื่นแนะนำให้รีบไปพบแพทย์และหยุดรักษาตัวจนกว่าจะหายเป็นปกติ
 
สัญญาณเตือน ที่ไม่ควรปล่อยไว้ ควรพบแพทย์
 
· มีอาการอาเจียนมาก / ถ่ายมากผิดปกติ
· ซึม ไม่มีแรง มือเท้าเย็น
· ปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเลยเกิน 6 ชม.
· ปากแห้ง ตาโหล ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ในเด็กจะมีกระหม่อมบุ๋ม
 
 
 
ไวรัสโรต้า เป็นไวรัสที่มีความทนทานต่อภาวะแวดล้อมได้ดี ติดต่อได้ง่าย การรักษายังไม่มีวิธีที่รักษาจำเพาะ เป็นการรักษาทั่วไปตามอาการเท่านั้น การป้องกันด้วยการให้วัคซีนชนิดรับประทานยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
 
 
นพ.ภูษิต วชิรกิติกุล อายุรแพทย์ระบบทางเดินอาหาร
ประจำโรงพยาบาลวิภาวดี
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด