ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนและการควบคุม

โรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนและการควบคุม HealthServ.net

เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ และ/หรือ เป็นความบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการผลิตอินซูลินของตับอ่อน หรือเกิดจากการผลิตอินซูลินได้ไม่มีประสิทธิภาพ เป็นผลทำให้ระดับในเลือดสูงขึ้นและทำให้เกิดการทำลายต่อระบบต่ำงๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะหลอดเลือดและระบบประสาท

โรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนและการควบคุม ThumbMobile HealthServ.net
โรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนและการควบคุม HealthServ
โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ  จากการที่ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหารไปใช้ได้ตามปกติ เนื่องจากมีความผิดปกติของระบบการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตที่เกิดจากร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายหรือเกิดจากการเสื่อมสภาพของตับอ่อน ความอ้วน โรคของระบบต่อมไร้ท่อหรือการได้รับยาต้านอินซูลิน พวกคอร์ติโคสเตอรอยด์ 

WHO ได้นิยาม โรคเบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์และ/หรือ เป็นความบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการผลิตอินซูลินของตับอ่อน หรือเกิดจากการผลิตอินซูลินได้ไม่มีประสิทธิภาพ เป็นผลทำให้ระดับในเลือดสูงขึ้นและทำให้เกิดการทำลายต่อระบบต่ำงๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะหลอดเลือดและระบบประสาท
 
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติในการทำหน้าที่ของอินซูลิน หรือจากความบกพร่องของตับ ทำให้เมตาบอริซึมของคาร์โบไฮเดรตผิดปกติ มีผลทำให้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจนเกินความสามารถที่ไตจะเก็บกักไว้
 
 

โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

ได้แก่
 
1. โรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (Insulin dependent diabetes) หรือโรคเบาหวานในเด็กผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดนี้เป็นผู้ที่ร่างกายขาดอินซูลิน โดยสิ้นเชิงเนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถสร้าง อินซูลินได้

2. โรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (Non – insulin dependent diabetes) มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป เพศหญิงเป็นมากกว่าเพศชาย มัก พบในคนที่อว้นมากกว่า นอกจากนี้กรรมพันธุ์ ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอย่างมาก อาการที่เกิดขึ้นมีได้ตั้งแต่ไม่แสดงอาการ แต่ตรวจพบ
โดยบังเอิญ หรือมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป จนถึงขั้นแสดงอาการรุนแรง
 
อาการสำคัญที่พบ
มีดังนี้
1. ปัสสาวะบ่อย
2. กระหายน้ำมาก
3. หิวบ่อย และรับประทานจุ
4. น้ำหนักตัวลดลง

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อน หมายถึง ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะของโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากระดับน้ำตาล
ในเลือดผิดปกติ เป็นสาเหตุหลักของความเจ็บป่วยซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้น สูญเสียอวัยวะหรือชีวิต 2 ใน 3
ของผู้ป่วยเบาหวานจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อน
จากโรคเบาหวานที่สำคัญ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานนอกจากทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถ
ในการทำงาน สูญเสียคุณภาพชีวิตยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษามากมาย


โรคเบาหวานทำให้เกิดการเสียชีวิตได้สูง และยังทำให้เกิดภาวะต่างๆ ที่สำคัญดังนี้
 
1. ภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน 
ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยจะพบว่า น้ำตาลในเลือดมักต่ำกว่า 70 mg/dl มักพบในผู้ที่กำลังรักษาโดยใช้อินซูลินหรือยาเม็ด ในขณะที่ได้รับยาปกติ ผู้ป่วยที่ออกกำลังกายมากผิดปกติหรือรับประทานอาหารไม่ได้ หรือได้รับยาบางชนิด ดื่มสุรามาก ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเย็น ชีพจรเบา เร็ว อ่อนเพลีย เหงื่อออกใจสั่น เป็นลม วิงเวียน มึนงง ตาพร่ามัว ถ้าไม่ได้รับน้ำตาลทดแทน จะมีระดับความรู้สึกตัวลดลงและหมดสติในที่สุด ภาวะน้ำตาลในเลือดและภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โดยไม่มีกรด
 
2. ภาวะแทรกซ้อนแบบเรื้อรัง 
ได้แก่ ระบบประสาท อาการที่พบคือ การชาปลายเท้าท้ังสองข้าง ปวดแสบปวดร้อน กล้ามเนื้ออ่อนแรง การสูญเสียการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ  ที่ต้องใช้ในการทำงานของต่อมเหงื่อผิดปกติ ท้องผูก ปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะหลังการถ่ายปัสสาวะ และมีความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ 
 
ภาวะแทรกซ้อนทางตา ทำให้ตาบอด เลนส์ตาขุ่นเป็นต้อกระจก ในบางรายอาจเป็นต้อหิน ตาพร่ามัว มองไม่เห็น
 
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดโรคของหลอดเลือด ได้แก่ความดันโลหิตสูงขึ้น หลอดเลือดหัวใจตีบตัน หลอดเลือดที่ไต และหลอดเลือดสมองผิดปกติ โดยผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า 
 
ภาวะแทรกซ้อนทางไต พบว่าผู้ป่วยมีอาการบวม ถ้ามีอาการที่รุนแรงจะเกิดการคั่ง ของเสีย ชักนำให้เกิดภาวะไตวายในที่สุด และมีผลตามมาคือ มีความดันโลหิตสูงขึ้นจากภาวะไตวาย
 
ระบบกระดูก พบว่า ในผู้ป่วยชนิดไม่พึ่งอินซูลิน จะมีการหดรั้งของข้อได้ 
 
ระบบภูมิคุ้มกันพบว่าเม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ไม่ได้ตามปกติ ความสามารถในการจับกินเชื้อโรคลดลง มีการติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้การถ่ายออกซิเจนของเม็ดเลือดแดงไปสู่เนื้อเยื่อลดลง จึงเกิดการขาดออกซิเจนได้ง่าย
 
 

เป้าหมายของการควบคุมโรคเบาหวาน

คือ การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยให้ใกล้เคียงกับระดับคนทั่วไป ซึ่งสามารถทำ ได้ 3 วิธีคือ
1. การควบคุมอาหาร
2. การออกกำลังกาย
3. การใช้ยา ซึ่งอาจเป็นยารับประทานหรือยาฉีด แล้วแต่อาการของผู้ป่วย
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด