ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคไวรัสมาร์บูร์ก มฤตยูร้ายระดับเดียวกับอีโบล่า

โรคไวรัสมาร์บูร์ก มฤตยูร้ายระดับเดียวกับอีโบล่า HealthServ.net
โรคไวรัสมาร์บูร์ก มฤตยูร้ายระดับเดียวกับอีโบล่า ThumbMobile HealthServ.net

โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บูร์ก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสมาร์บูร์ก (Marburgvirus) เป็นเชื้อไวรัสเฉพาะถิ่นที่พบในป่าแถบศูนย์สูตรของแอฟริกา จากการศึกษาพบว่าเชื้อนี้ มีสัตว์เป็นพาหะ พบในค้างคาวผลไม้อียิปต์ (Rousettus aegyptiacus) โรคไวรัสมาร์บวร์ค จัดเป็นกลุ่มโรคไข้เลือดชนิดหนึ่งจากไวรัส ชนิดเฉียบพลันรุนแรง มีอัตราการแพร่ระบาดสูงและเร็ว มีลักษณะคล้ายโรคไวรัสอีโบลา ผู้ป่วยจะมีอัตราป่วยตายสูงมาก

โรคไวรัสมาร์บูร์ก มฤตยูร้ายระดับเดียวกับอีโบล่า HealthServ
 
โรคไวรัสมาร์บวร์คมีบันทึกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1967 เมื่อเกิดการระบาดในเมืองมาร์บวร์คและแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนีตะวันตก และเมืองเบลเกรด ประเทศยูโกสลาเวีย เกิดจากแพทย์ในห้องปฏิบัติการ รับเชื้อจากลิงที่มีเชื้อจากประเทศยูกันดา โรคแพร่สู่บุคลากรแพทย์ด้วยกันโดยการสัมผัสเลือดผู้ป่วย ผลให้มีผู้เสียชีวิต 7 รายจากการระบาดครั้งนั้น 
 
เว็บไซต์สมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก ระบุว่า โรคไวรัสมาร์บวร์ค พบการระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 (1976) ในประเทศซูดาน 800 กิโลเมตรจากแซร์อีร์ (ปัจจุบัน เป็นประเทศคองโก) ตรวจพบเชื้อครั้งแรกในผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการชำแหละลิงชิมแปนซี ที่ไอวอรี่โค้ด ปี พ.ศ. 2547
 
ประเทศไทย ยังไม่มีข้อมูลการป่วยด้วยโรคนี้และโรคนี้ยังไม่อยู่ในระบบเฝ้าระวัง แต่มองกันว่า การท่องเที่ยวของประเทศไทย เป็นความเสี่ยงที่อาจมีนักท่องเที่ยวจากพื้นที่ระบาดของโรคเดินทางเข้ามาในประเทศได้ ดังนั้น อาจต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษสำหรับกลุ่มประชากรบางกลุ่ม
 
การพยากรณ์โรคไวรัสมาร์บวร์คนั้นยังไม่ชัดเจน ผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นมีทั้งฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว หรือมีโรคตาม เช่น อัณฑะอักเสบ ตับอักเสบ หรือม่านตาอักเสบ นอกจากนี้พบว่าไวรัสสามารถคงอยู่ในร่างกายผู้ป่วยที่หายดีและอาจก่อโรคในภายหลัง ทั้งยังสามารถติดต่อผ่านทางตัวอสุจิ
 
 
โรคไวรัสมาร์บูร์ก มฤตยูร้ายระดับเดียวกับอีโบล่า HealthServ
 
 
ระยะฟักตัวของโรค

โรคไวรัสมาร์บวร์ค ประมาณ 2 - 21 วัน  โดยเฉลี่ย 5–9 วัน 
 
 
อาการของโรคไวรัสมาร์บวร์ค 
 
ช่วงวันที่ 1–5 ไข้สูงทันทีทันใด  ปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง คอหอยอักเสบ ผื่นนูนแบน ปวดท้อง เยื่อตาอักเสบ อาการเจ็บคอ และมีผื่นนูนแดงตามตัว (maculopapular rash) 
 
ช่วงวันที่ 5–13 ผู้ป่วยจะมีภาวะสิ้นกำลัง หายใจลำบาก บวมน้ำ ไข้ออกผื่น จะมีอาการทางสมอง เช่น สมองอักเสบ สับสน เพ้อ ในช่วงปลาย ผู้ป่วยจะมีอาการตกเลือดซึ่งจะนำไปสู่ช่วงฟื้นตัวหรือทรุดหนัก
 
ช่วงวันที่ 13–21 อาการผู้ป่วยสามารถแบ่งเป็นสองประเภท 
หากฟื้นตัวผู้ป่วยจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ไฟโบรไมอัลเจีย ตับอักเสบ และอ่อนแรง 
หากผู้ป่วยที่ไม่ฟื้น จะมีอาการทรุดลง จะมีไข้ต่อเนื่อง ภาวะตื้อ โคม่า ชัก การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ และช็อก 
 
ผู้ป่วยมักเสียชีวิต 8–16 วันหลังเริ่มแสดงอาการ
 
ในรายที่รุนแรงหรือในบางรายที่เสียชีวิต อาการเลือดออกง่ายมักเกิดร่วมกับภาวะตับถูกทำลาย ไตวายอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง และช็อก โดยอวัยวะหลายระบบเสื่อมหน้าที่
 

การวินิจฉัยโรค

อาจใช้วิธี RT-PCR หรือการตรวจหาแอนติเจนโดยวิธี ELISA ในตัวอย่างเลือด นํ้าเหลือง หรือจากอวัยวะ การวินิจฉัยมักจะเป็นการตรวจผสมผสานระหว่างการตรวจหาแอนติเจนหรือ RNA ร่วมกับหาแอนติบอดี IgM หรือ IgG (การตรวจพบแอนติบอดี IgMแสดงให้เห็นว่าเพิ่งพบการติดเชื้อไม่นานมานี้)

การแยกเชื้อไวรัสโดยการเพาะเชื้อ หรือการเลี้ยงในหนูตะเภาต้องทำให้ในห้องทดลองที่มีการป้องกันอันตรายระดับสูงสุด (BSL-4) การตรวจด้วยวิธี ELISA จะใช้เพื่อตรวจหาความเฉพาะเจาะจงกับแอนติเจนชนิด IgM และ IgG ในนํ้าเหลือง (serum) ของผู้ป่วย บางครั้งอาจตรวจพบเชื้อได้จากการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนในชื้นเนื้อจากตับ ม้าม ผิวหนัง หรืออวัยวะอื่นๆ

การชันสูตรศพโดยการตรวจชื้นเนื้อ (Formalin-fi xed skin biopsy)หรือการผ่าศพพิสูจน์ด้วยการตรวจหาภูมิคุ้มกันหรือองค์ประกอบทางเคมีของเซลล์และเนื้อเยื่อสามารถทำได้การตรวจหาเชื้อด้วยวิธี IFA เพื่อหาแอนติบอดี มักทำให้แปลผลผิดพลาด โดยเฉพาะในการตรวจนํ้าเหลืองเพื่อดูการติดเชื้อในอดีต

เนื่องจากโรคนี้มีอันตรายต่อมนุษย์สูงมากดังนั้นการตรวจและศึกษาทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ กระทำได้เฉพาะในระบบป้องกันอันตรายที่อาจเกิดแกผู่ป้ ฏิบัติงาน รวมทั้งชุมชนในระดับสูงสุด (BSL ระดับ 4)


 
 
การรักษา 

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาจำเพาะ ในรายที่มีอาการรุนแรงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ให้สารนํ้าอย่างเพียงพอ
 

วัคซีนรักษา

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนรักษาโรคไวรัสมาร์บวร์ค ที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ 
 


ข้อมูล 

https://www.pidst.or.th/A236.html
https://th.wikipedia.org/wiki/โรคไวรัสมาร์บวร์ค
https://www.who.int/health-topics/marburg-virus-disease
 
โรคไวรัสมาร์บูร์ก มฤตยูร้ายระดับเดียวกับอีโบล่า HealthServ
โรคไวรัสมาร์บูร์ก มฤตยูร้ายระดับเดียวกับอีโบล่า HealthServ

ประเทศกานา พบผู้ติดเชื้อ ไวรัสมาร์บวร์ก 2 ราย เสียชีวิตทั้งคู่ [PPTV36] LINK

18 ก.ค. 65 กานายืนยันพบผู้ติดเชื้อ “ไวรัสมาร์บวร์ก (Marburg)” 2 รายแรกของประเทศ ซึ่งเป็นโรคติดต่อร้ายแรงในตระกูลเดียวกับไวรัสอีโบลา โดยระบุว่า ไม่นานมานี้ ผู้ป่วยทั้งสองเสียชีวิตในโรงพยาบาลในเขตอาชานติ ทางใต้ของประเทศ
 
ผลการตรวจหาไวรัสมาร์บวร์กของทั้งสองมาเป็นบวกเมื่อต้นเดือนนี้ และได้รับการยืนยันโดยห้องปฏิบัติการในเซเนกัลแล้วว่า เป็นไวรัสมาร์บวร์กจริง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในกานากล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ถึง 98 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการกักตัวเพื่อสังเกตอาการ
 
แพทย์ระบุว่า ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาไวรัสมาร์บวร์กโดยเฉพาะ แต่แพทย์บอกว่า การดื่มน้ำปริมาณมากและการรักษาตามอาการ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดของผู้ติดเชื้อได้
 
เจ้าหน้าที่เตือนประชาชนให้อยู่ห่างจากถ้ำและปรุงอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ทั้งหมดให้สุกก่อนบริโภค
 
องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ในแอฟริกา มีรายงานการระบาดของไวรัสมาร์บวร์กบ้างประปรายในแองโกลา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เคนยา แอฟริกาใต้ และยูกันดา โดยการระบาดที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของไวรัสมาร์บวร์กคือ คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 200 คนในแองโกลาในปี 2005
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด