ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลนคราภิบาล (โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร)

Nakarapibal Hospital

Logo

โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น โรงพยาบาลนคราภิบาล (ประกาศทางเพจเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2567) เป็นนามพระราชทานจากองค์สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก อันมีความหมายว่า โรงพยาบาลเพื่อการอภิบาลรักษาประจำกรุงเทพมหานคร

ที่อยู่/ติดต่อ
2 ซอย ลาดกระบัง 15 แขวง ลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520

✅ รับบัตรทอง
✅ รับประกันสังคม [คลินิกเครือข่าย]

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลนคราภิบาล (โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร)

โรงพยาบาลนคราภิบาล ชื่อใหม่ของโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร

โรงพยาบาลนคราภิบาล ชื่อใหม่ของโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร  โรงพยาบาลนคราภิบาล (โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร)
โรงพยาบาลนคราภิบาล ชื่อใหม่ของโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร  โรงพยาบาลนคราภิบาล (โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร)
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น โรงพยาบาลนคราภิบาล (ประกาศทางเพจเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2567) เป็นนามพระราชทานจากองค์สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก อันมีความหมายว่า โรงพยาบาลเพื่อการอภิบาลรักษาประจำกรุงเทพมหานคร

ตารางการออกตรวจของแพทย์ Link ↗

ตารางการออกตรวจของแพทย์  โรงพยาบาลนคราภิบาล (โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร)
ตารางการออกตรวจของแพทย์  โรงพยาบาลนคราภิบาล (โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร)
หมายเหตุ
ตารางการออกตรวจของแพทย์ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ 
กรุณาโทรมานัดล่วงหน้าที่ 02-326-9995 ,02-326-7711,
โทร.BFC พบแพทย์ใน 60 นาที 02-327-3049

อาคารบริการ โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร

อาคารบริการ โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลนคราภิบาล (โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร)
อาคารบริการ โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลนคราภิบาล (โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร)
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์ ได้ย้ายฝั่งมาให้บริการทางฝั่งเดียวกันทั้งหมดแล้ว
1. อาคารผู้ป่วยนอก/ใน และอุบัติเหตุฉุกเฉิน
   ชั้น 1 ประกอบด้วย งานผู้ป่วยนอก ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน ทำแผลฉีดยา ห้องคลอด ห้องผ่าตัด
   ชั้น 2 ประกอบด้วย หอผู้ป่วยชาย หอผู้ป่วยหญิง หอผู้ป่วยเด็ก มารดาและทารก ICU และห้องพิเศษ
2. ตึกทันตกรรม
   ชั้น 1 ประกอบด้วย งานผู้ป่วยนอก คลินิกเฉพาะทาง เช่น ฝากครรภ์ ฉีดวัคซีน เบาหวาน กระดูก สูตินรี หอบหืด รักษ์เพื่อน sti เป็นต้น
   ชั้น 2 ประกอบด้วย งานทันตกรรม
3. คลินิกPUI และ ARI  คลินิกโรคไข้หวัด และจุดคัดกรองโรคระบบทางเดินหายใจ 
4. อาคารอำนวยการ(ชั่วคราว)
   ชั้น 1 ประกอบด้วย คลินิกผู้สูงอายุ คลินิกจิตเวช คลินิกแพทย์แผนไทย คลินิกแพทย์แผนจีน คลินิกเลิกบุหรี่
   ชั้น 2 ประกอบด้วย ฝ่ายบริหารงานทั่วไป และฝ่ายงบประมาณการเงินและบัญชี
5.หอพักแพทย์
   ชั้น 1 ประกอบด้วย Day Care,ฝ่ายวิชาการและแผนงาน,กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพฯ
   ชั้น 2 ประกอบด้วย ห้องพักแพทย์ และสำนักงานฝ่ายการพยาบาล
6. หอพักพยาบาล

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

[ทั้งหมด]
โรงพยาบาลนคราภิบาล (โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร)
 
 
 เดิมอำเภอลาดกระบัง มีสถานีอนามัย ชั้น 2 สังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ริมคลองประเวศบุรีรมย์ ตำบลลาดกระบัง อำกอลาดกระบัง จังหวัดพระนคร

ปี พ.ศ. 2502 นางทองคำ กิมสุนจันทร์ ได้บริจาคที่ดินเพื่อสร้างอำเภอลาดกระบัง สถานีตำรวจ และสถานีอนามัยชั้น 2 (ซึ่งเป็นที่ตั้ง โรงพยาบาลในปัจจุบัน) ตั้งอยู่ที่ 190 /15 หมู่ 1 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงทพมหานคร สถานีอนามัยชั้น 2 จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็น สถานีอนามัยชั้น 1 ลาดกระบัง ซึ่งมีเตียงรับคนไข้ 10 เตียง โดยมีนายแพทย์ดุษฎี ไตรธรรม เป็นหัวหน้าสถานีอนามัย ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์การแพทย์และสถานีอนามัยลาดกระบัง
 
ปี พ.ศ. 2521 โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335/2515 ให้ศูนย์การแพทย์และสถานีอนามัยลาดกระบัง ซึ่งสังกัดกระทรวงสรารณสุข ไปขึ้นกับสำนักอนามัยกรุงทพมหานคร และเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์บริการสารารณสุข 45 ลาดกระบัง โดยมี นายแพทย์ประสงค์ เนียมประดิษฐ เป็นหัวหน้าศูนย์
 
ปี พ.ศ. 2529 กรุงเทพมหานคร ได้มีนโยบายที่จะขยายการให้บริการด้านการอนามัยและการรักษาพยาบาล แก่ประชาชนให้ครอบคลุมพื้นที่อย่างทั่วถึง เนื่องจากเขตลาดกระบังมีประชากรหนาแน่นขึ้น การคมนาคมไม่สะดวก เพราะเป็นเขตชานเมืองห่างไกลจากโรงพยาบาลในเขตชั้นใน คณะผู้บริหารกรุงทพมหานครได้ลงมติเห็นชอบให้ปรับปรุงศูนย์บริการสรรณสุข 45 ลดกระบัง เป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียงโดยใช้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลชุมชนลาดกระบัง
 
ปี พ.ศ. 2530 การก่อสร้างปรับปรุงโรงพยาบาลชุมชนลาดกระบังแล้วเสร็จและดำเนินการรับผู้ป่วย ในวันที่ 1 มีนาคม 2531
 
ปี พ.ศ. 2532 คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีมติเปลี่ยนชื่อเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 เนื่องจาก โรงพยาบาลลาดกระบัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสำนักอนามัย กรุงทพมหานคร มีชื่อซ้ำซ้อนกับโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ทั้งที่ตั้งของโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่งอยู่ใกล้เคียงกัน อาจทำให้เกิดความสับสนความคลาดเคลื่อนในการติดต่อประสานงาน และอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร (โดยมีมติที่ประชุม ก.ก. ครั้งที่ / 2532) ให้เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลลาดกระบัง เป็น โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2532
 
ปี พ.ศ. 2538 ผู้บริหารกรุงทพมหานคร มีความเห็นว่าโรงพยาบาลลาดกระบัง-กรุงเทพมหานคร เป็นโรงพยาบาลรัฐแห่งเดียวในเขตชานเมือง ที่มีไว้ให้บริการประชาชน ประกอบกับมีจำนวนผู้มาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น เกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลขนาด30 เตียง สมควรจะได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านกายภาพและศักยภาพ จึงมีมติให้โอนย้ายโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงทพมหานคร มาสังกัดสำนักการแพทย์เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2538 ตามมติคณะกรรมการกรุงเทพมหานคร(ก.ค.)
 
ปี พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ได้ขยายขีดความสามารถเป็นโรงพยาบาลประเภททั่วไประดับทุติยภูมิ ขนาด 60 เตียง ประกอบด้วย หอผู้ป่วยหญิง 30 เตียง, หอผู้ป่วยชาย 20 เตียง, ห้องพิเศษ 6 ห้อง และหออภิบาลผู้ป่วยหนัก 4 เตียง โดยมีอาคารให้บริการตั้งอยู่บนเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน
ประกอบด้วยอาคารต่างๆ ดังนี้
  • อาคารพยาบาล (2 ชั้น) 1 หลัง
  • อาคารอำนวยการ (3 ชั้น) 1 หลัง
  • อาคารส่งเสริมสุขภาพ (2 ชั้น) 1 หลัง
  • อาคารอเนกประสงค์ (4 ชั้น) 1 หลัง
และอยู่ระหว่างขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 200 เตียงในอนาคต

คลินิกเครือข่ายประกันสังคม โรงพยาบาลนคราภิบาล (โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร)