ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ไต - เครื่องกำจัดของเสียและรักษาสมดุลของร่างกาย

กำจัดของเสียออกจากร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งของเสียที่เกิดจากโปรตีน รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ รักษาสมดุล กรด-ด่าง สร้างฮอร์โมน ได้แก่ อิริโธรปัวอิติน, วิตามิน D

หน้าที่ของโรคไต 
  1. กำจัดของเสียออกจากร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งของเสียที่เกิดจากโปรตีน
  2. รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่
  3. รักษาสมดุล กรด-ด่าง  
  4. สร้างฮอร์โมน ได้แก่ อิริโธรปัวอิติน,วิตามิน D


โรคไตเรื้อรัง คือ   
 
ภาวะที่มีการทำงานของไตลดลงและ/หรือไตมีความเสียหาย ทำให้มีความผิดปกติของโครงสร้างไต มานานมากกว่า  3  เดือน
 
โรคไตเรื้อรัง มี 5 ระยะ ตั้งแต่ ระยะที่ 1 มีความผิดปกติของโครงสร้างแต่การทำงานของไตยังไม่ลดลง  จนถึงระยะที่ 5 คือ ไตวายเรื้อรัง จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต
 
 
ดัชนีบ่งชี้โรคไตเรื้อรัง  
  1. ภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ 
  2. ภาวะมีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ   

การประเมินระดับการทำงานของไต 

ทำได้โดยการตรวจเลือดหาระดับ ครีอาติน และนำมาคำนวณหาระดับ GFR ( Glomerular Filtration Rate ) 

 
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไตเรื้อรัง 

  1. ปัจจัยทำให้เสี่ยง เช่น อายุมาก มีประวัติโรคไตในครอบครัว   
  2. ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค/เป็นสาเหตุทำลายไต เช่น เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,โรคจากภูมิคุ้มกันตัวเอง,การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ,การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ,การได้รับสารพิษต่อไต
  3. ปัจจัยทำให้โรคลุกลามทำให้ไตมี่มีความผิดปกติเสี่อมหน้าที่มากขึ้น เช่น ภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ไม่ดี เบาหวานที่ควบคุมไม่ดี  การสูบบุหรี่

การตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรัง 

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มเพื่อที่จะรักษาโรคไตที่อาจสามารถหายขาดได้หรือป้องกันไม่ให้โรคไตนั้นเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว

ผู้ที่ควรตรวจคัดกรอง ได้แก่ ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น   

วิธีการตรวจได้แก่ ตรวจวัดความดันโลหิต,ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจเลือดหาค่าครีอะตินินและปัสสาวะ  และการทำอัลตร้าซาวนด์ของไตหากมีข้อบ่งชี้

 
แนวทางการดูแลรักษาเพื่อชะลอการเสื่อมของไต
  1. การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ได้แก่ การลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่น้ำหนักเกิน การหยุดสูบบุหรี่ งดอหารเค็ม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นต้น
  2. การควบคุมความดันโลหิตสูง ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม 
  3. การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม 
  4. การลดการมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะด้วยยา  
  5. การจำกัดอาหารโปรตีน   
  6. การลดระดับไขมันในเลือด  
  7. หลีกเลี่ยงสารหรือยาที่อาจมีผลเสียต่อไต โดยเฉพาะยากลุ่มแก้ปวด ข้อปวดกระดูก (NSAIDS)
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด