ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ทำบอลลูนในกระเพาะอาหาร การลดน้ำหนักด้วยวิธีทางการแพทย์ที่ไม่ต้องผ่าตัด โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์

ทำบอลลูนในกระเพาะอาหาร การลดน้ำหนักด้วยวิธีทางการแพทย์ที่ไม่ต้องผ่าตัด โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์ HealthServ.net
ทำบอลลูนในกระเพาะอาหาร การลดน้ำหนักด้วยวิธีทางการแพทย์ที่ไม่ต้องผ่าตัด โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์ ThumbMobile HealthServ.net

การทำบอลลูนในกระเพาะอาหาร หรือ gastric balloon คือการใส่บอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหารด้วยการใช้เทคนิคการส่องกล้อง แล้วใส่น้ำเกลือเข้าไปในบอลลูนให้ขยายตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้กระเพาะรับอาหารได้น้อยลง ทำให้คนไข้รู้สึกอิ่มตลอดเวลา วิธีนี้จะใช้ในการรักษาคนไข้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ช่วยในการลดน้ำหนัก ซึ่งเหมาะกับลดน้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัมโดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และใช้ระยะเวลาในการใส่บอลลูนประมาณ 6-12 เดือน หรือในกรณีน้ำหนักลดลงจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว ก็สามารถเอาบอลลูนออกได้เลย (ไม่ได้ใส่ตลอดชีวิต)


การทำบอลลูนในกระเพาะอาหาร หรือ gastric balloon คือการใส่บอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหารด้วยการใช้เทคนิคการส่องกล้อง แล้วใส่น้ำเกลือเข้าไปในบอลลูนให้ขยายตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้กระเพาะรับอาหารได้น้อยลง ทำให้คนไข้รู้สึกอิ่มตลอดเวลา วิธีนี้จะใช้ในการรักษาคนไข้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ช่วยในการลดน้ำหนัก ซึ่งเหมาะกับลดน้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัมโดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และใช้ระยะเวลาในการใส่บอลลูนประมาณ 6-12 เดือน หรือในกรณีน้ำหนักลดลงจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว ก็สามารถเอาบอลลูนออกได้เลย (ไม่ได้ใส่ตลอดชีวิต)

 
การทำบอลลูนในกระเพาะอาหารเหมาะกับใคร?
คนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ค่า BMI เกิน 27 และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น การนอนกรน การหยุดหายใจขณะหลับ อาการปวดเข่า เข่าเสื่อม โรคเบาหวาน
 
 
ผู้ที่ไม่ควรทำบอลลูนในกระเพาะอาหาร คือใคร?
สตรีตั้งครรภ์หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์
มีความผิดปกติในหลอดอาหารทำให้ส่องกล้องลงไปไม่ได้ เช่น หลอดอาหารตีบตัน รั่ว ได้รับอุบัติเหตุกับหลอดอาหาร
มีความผิดปกติในกระเพาะ เป็นแผลในกระเพาะ ตกเลือดในกระเพาะ มีภาวะกรดไหลย้อนอย่างรุนแรง
มีภาวะอื่นๆ เช่น ภาวะเลือดออกง่าย เลือดแข็งตัวยาก แพ้ยางซิลิโคน หรือโรคประจำตัวรุนแรง เช่น โรคติดเชื้อในกระแสเลือด ปอดติดเชื้อ ติดเชื้อในช่องท้อง
ประโยชน์ของการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
สามารถลดอาการเสี่ยงจากโรคที่เกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกิน เช่น เบาหวาน ความดันสูง ข้อเข่าเสื่อม คอเลสเตอรอลในเลือดสูง
เมื่อน้ำหนักลดลง ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีรูปร่างที่ดีขึ้น มีความมั่นใจ ส่งผลให้สุขภาพจิตดีขึ้นด้วย
ขั้นตอนการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
ตรวจร่างกายเบื้องต้นว่าคนไข้พร้อมที่จะรับการรักษาหรือไม่
งดรับประทานอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง และงดน้ำอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนทำการใส่บอลลูน
ให้ยานอนหลับกับคนไข้ (*ไม่ใช้ยาสลบ)
ส่องกล้องลงไปทางหลอดอาหารจนถึงกระเพาะ แล้วนำบอลลูนลงไปในตำแหน่งที่เหมาะสม
ใส่น้ำเกลือเข้าไปในบอลลูนเพื่อให้ขยายกระเพาะ โดยปกติจะใส่น้ำเกลือประมาณ 350-500 CC
ผลข้างเคียงหลังใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
ในช่วง 1-3 วันแรก คนไข้อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ท้องอืด เบื่ออาหาร และรู้สึกอิ่มตลอดเวลา
รับประทานอาหารได้น้อยลง เพราะตัวบอลลูนช่วยให้ความอยากอาหารลดลง
ไม่ควรออกกำลังกายหนักๆ แต่สามารถออกกำลังกายแบบเบาๆ ได้
การปฏิบัติตัวหลังใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
แนะนำให้พบแพทย์ หลังเข้ารับการรักษา 1 สัปดาห์ เพื่อติดตามผลการรักษา และควรพบแพทย์ทุก 4-6 เดือน ในกรณีที่น้ำหนักยังไม่ลดเป็นที่พอใจ แพทย์สามารถแนะนำให้เพิ่มขนาดบอลลูนได้อีก 100-200 CC
บอลลูน สามารถเกิดการรั่วซึมได้ ดังนั้นจึงต้องคอยสังเกตสีของปัสสาวะอยู่เสมอ
ควบคุมอาหาร เพื่อให้การลดน้ำหนักได้ผลมากยิ่งขึ้น
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยให้น้ำหนักลดลงได้อย่างรวดเร็ว
การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร สามารถช่วยให้น้ำหนักลดลงได้ แต่ต้องมีการควบคุมการรับประทานอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การลดน้ำหนักมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
 
 
 
นพ.อุดมรัช โกวิททวิพัฒน์
แพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินอาหารและตับ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ
โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์
โทร. 0-2944-7111 ต่อ 2300
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด