ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ไวรัส RSV มักระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว

ไวรัส RSV มักระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว HealthServ.net
ไวรัส RSV มักระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว ThumbMobile HealthServ.net

RSV (Respiratory Syncytial Virus) คือ เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคทางระบบทางเดินหายใจที่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคหลอดลมอักเสบ และ ปอดอักเสบ มักระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว หรือช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง RSV จะติดต่อกันแบบฝอยละอองจากสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลาย ผ่านการไอ จาม และการสัมผัสโดยตรง - พญ. อิศราณี วารีสุนทร กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ ศูนย์กุมารเวชกรรม (Super Kids Center) โรงพยาบาลเวชธานี

 เมื่อไหร่จะสงสัยว่าติดเชื้อ RSV

อาการเริ่มแรกเหมือนไข้หวัดทั่วไป คือ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล และจะหายได้ภายใน5-7 วัน เด็กบางคนมีอาการมากกว่าไข้หวัดธรรมดา คือ มีเสมหะปริมาณมาก ทำให้ไอเยอะและ น้ำมูกเหนียว ไอมากจนอาเจียน อาจมีหายใจเร็ว แรง หายใจลำบาก หรือหายใจแบบมีเสียงวี๊ด (Wheezing) ได้ในรายที่มีอาการหนัก


 
วิธีการรักษา

โดยหลักเป็นการดูแลทางเดินหายใจและการดูแลอาการทั่วไป
 
1.การรักษาแบบเฉพาะที่ เช่น การให้ออกซิเจน พ่นยาขยายหลอดลม พ่นน้ำเกลือเข้มข้นชนิดพิเศษ เพื่อช่วยระบายเสมหะ และลดภาวะหลอดลมหดเกร็งและเสียงวี๊ด(Wheezing) ในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี หรือมีโรคประจำตัส จะมีความเสี่ยงการเกิดภาวะปอดแฟบและการหายใจล้มเหลว อาจต้องให้การเคาะปอดและดูดเสมหะ
 
2.การประคับประคองอาการทั่วไป เช่น ให้สารน้ำทางเส้นเลือดดำ ให้ออกซิเจน ช่วยดูดเสมหะ
 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะตามมาหลังติด RSV 
 
แม้จะรักษาหายขาดแล้ว ก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก โดยเด็กบางส่วนอาจมีภาวะหลอดลมไวตามมา ทำให้หายใจเหนื่อยง่าย หลังการติดเชื้อทางเดินหายใจรวมถึงมีรายงานเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืดได้สูงขึ้นทั้งในเด็กที่มี และไม่มีความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ในครอบครัว
 
 
 
การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อRSV 
 
ในปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ดังนั้นจึงเน้นการป้องกัน โดยการเพิ่มภูมิต้านทานธรรมชาติ โดยให้เด็กกินนมแม่ หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปสถานที่แออัด หรือพาเด็กไปเยี่ยมผู้ป่วย มาตรการสำคัญในการป้องกันการระบาดของโรค คือ การหมั่นล้างมือให้สะอาด หรือใช้เจลแอลกอฮอลล์ล้างมือบ่อยๆ ทำความสะอาดของใช้ และของเล่นเด็ก หากสังสัยว่ามีการติดเชื้อ ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
 
 
พญ. อิศราณี วารีสุนทร
กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ

พฤศจิกายน 2020
 
ติดต่อสอบถามได้ที่
ศูนย์กุมารเวชกรรม (Super Kids Center) 
โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 3310, 3312, 3319
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด