ประวัติโรงพยาบาลถลาง
24 มิถุนายน 2481 เปิดทำการเป็นสถานีอนามัยชั้นสอง โดยมี นายแจ่มเสียง พัฒน์ เป็นหัวหน้าสถานีอนามัยเป็นคนแรกและมีนางผดุงครรภ์ชั้น 2 (นส.สุธรรม บัวศรี)เป็นผู้ช่วย
ปี พ.ศ. 2491 นายเชย เพียรทองได้รับราชการเป็นหัวหน้าสถานีอนามัยต่อจากนายแจ่ม
ปี พ.ศ. 2501 บริษัทงานทวีพี่น้อง จำกัด โดยนายชัยสิน งานทวี ได้บริจาคที่ดินประมาณ 3 ไร่ เพื่อก่อสร้างสถานีอนามัยชั้น 1และได้เปิดดำเนินการเมื่อเดือน กันยายน 2502 ในระยะนั้นสถานีอนามัยประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง คือ อาคารที่ทำการอาคารบ้านพักแพทย์ และอาคารแฝดสำหรับเจ้าหน้าที่ พยาบาลและผดุงครรภ์ โดยมี นพ.ไพโรจน์ ละอองพานิช หัวหน้าสถานี อนามัยชั้น 1 ซึ่งเป็นแพทย์เป็นคนแรก
20 กรกฏาคม 2515 นพ.กล้าหาญ หลิมสิริภาพเป็นหัวหน้าสถานีอนามัยถลางแทน นพ.ไพโรจน์ ซึ่งลาออกจากรราชการ
กันยายน 2518 ได้รับการยกฐานะเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัยชนบทถลาง
มีนาคม 2521 ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลอำเภอถลาง
2521 - 2522 นพ.พัฒพงษ์ กุลยานนท์ เป็นผู้อำนวยการแทน นพ.กล้าหาญ ซึ่งย้ายไปเป็น สวบส.จังหวัดภูเก็ต
2522 - 2526 นพ.ชลิต พงษ์สมบูรณ์ เป็นผู้อำนวยการแทน นพ.พัฒพงษ์ ซึ่งย้ายไป รพ.วชิระภูเก็ต ในปีนี้เองได้มีการก่อสร้างอาคารศูนย์โภชนาการเด็ก และต่อมาในปี 2523 ได้สร้างอาคารผู้ป่วยในขนาด 6 X 12 เมตร ด้วยเงินกสช. และเงินบริจาคและเปิดรับผู้ป่วยในได้ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2525
ปี 2524 ได้ก่อสร้างโรงปั่นไฟฟ้า และปี 2525 ในโอกาสฉลอง สมโภชน์ กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ได้สร้างระบบประปาในโรงพยาบาล ด้วยเงินบำรุงและเปิดใช้ได้ในปี 2526
ปี 2525 โรงพยาบาลถลางได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลชุมชนถลาง
ปี 2526 - 2527 นพ.วิทยา มีสมรรถ ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการ แทน นพ.ชลิต ซึ่งลาออกไปเรียนต่อหลักสูตรโรคผิวหนัง
ปี 2527 โรงพยาบาลถลางได้รับอนุมัติให้ใช้ที่ราชพัสดุประมาณ 20 ไร่ มูลค่าหนึ่งล้านบาท ซึ่งเดิมเป็นที่โรงเรียนถลางพระนางสร้างใช้ ประโยชน์ ห่างจากที่ตั้ง โรงพยาบาล เดิมประมาณ 2 กม. โดยใช้งบประมาณห้าล้านสามแสนบาทและทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2529 โดยนายกาจ รักษ์มณี ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตในขณะนั้น
ปี 2527 - 2528 นส.เย็นจิตร ภิรมย์พร รักษาการแทนผู้อำนวการโรงพยาบาลถลาง (ว่างไม่มีแพทย์ประจำ)
พ.ค.2530 นพ.จิรชัย อมรไพโรจน์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลถลาง มีแพทย์ประจำคือ นพ.เฉลิมพล อัศวธีรางกูร การก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม 2530 และการก่อสร้างถนน และระบบไฟฟ้าได้เสร็จสิ้นประมาณเดือนพฤษภาคม 2530
18 พฤษภาคม 2530 ได้ขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ ไปยังโรงพยาบาลถลางแห่งใหม่
25 พฤษภาคม 2530 นพ.วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์ ได้ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลถลาง แทน นพ.จิรชัย ซึ่งลาออกไปศึกษาต่อด้านศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ โดยมี นพ.ประพันธ์ ริมดุสิต เป็นแพทย์ประจำ
ในปี 2530-2531 ได้มีการบริจาคเงินและสิ่งก่อสร้าง เช่น ถนนทางเข้าโรงพยาบาล,อาคารโรงเก็บรถ,สนามกีฬา อาคารโรงตากผ้า, เครื่องช่วยหายใจ,เครื่องซักผ้า,ตู้อบเด็ก ฯลฯ มูลค่าทั้งสิ้นหนึ่งล้านบาทเศษ และมีผู้มารับบริการในโรงพยาบาลถลางแห่งใหม่เพิ่มจำนวนมาก ขึ้นเรื่อย ๆ จนอัตราการครองเตียงสูงถึง 154 % ต่อมาในปีงบประมาณ 2533 ได้รับจัดสรรงบประมาณ 9,150,000 บาท ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน 30 เตียง โดยก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2535 และได้เริ่มเปิดดำเนินการให้บริการในอาคารผู้ป่วยนอกใหม่ได้ใน
กลางเดือน ธันวาคม 2535 และให้บริการผู้ป่วยในในปลายเดือนเดียวกันในการเปิดตึกผู้ป่วยได้มีการระดมทุนจากภาคเอกชนบริจาคสมทบเพื่อซื้อเครื่องมือแพทย์สมัยใหม่หลายรายการ เช่น ระบบท่อออกซิเจน,ห้องพิเศษติด แอร์และครุภัณฑ์ ใหมทั้งชุด, ม่านประจำเตียงผู้ป่วยเตียงฟลาว์เลอร์, เครื่องนึ่งออโตเคร็ป,เครื่องวัดความดัน และชีพจรอัตโนมัติ ฯลฯ เป็นจำ นวนเงินหนึ่งล้านบาทเศษ ทำให้การให้บริการอยู่ในระดับแนวหน้าของโรงพยาบาลชุมชนในปัจจุบัน
ปี2537 ได้มีเอกชนสนับสนุนครุภัณฑ์การแพทย์เพิ่มคือเครื่อง กระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีความ ทันสมัยสูงในวงเงิน 280,000 บาท และเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2537 ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท นพวงค์ก่อ-สร้าง จำกัดได้ บริจาคถนนราดยางแอสฟัลด์ มูลค่ากว่าสองล้านบาท และป้ายชื่อโรงพยาบาลหินอ่อน 57,000 บาท
ในปี 2540 ได้รับจัดสรรงบประมาณ 11,470,000 บาท ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน 60 เตียง โดยก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2541 ในเดือนตุลาคม 2541 จากการประสานงานของนายพีระศักดิ์ พูนเดช นายอำเภอถลาง นายสุเทพ เทพสกุล นายบัญญัติ จริยะเลอพงศ์ นายสรธรรมจินดา นายเสถียร งานภิญโญ นายสุรพล เลี่ยนอุดม สมาชิกสภาจังหวัดเขตอำเภอถลาง และนายบันลือ ตันติวิท นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตทั้งหมดให้การสนับสนุนโรงพยาบาลถลาง จึงได้รับงบ ประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เป็นจำนวนเงิน 4,337,554 บาทเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์และครุภัณฑ์ทางการแพทย์นอกจากนี้ยังได้รับเงินสนับสนุนจากภาคเอกชนใน