สิทธิการรักษา
- สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- สิทธิข้าราชการ กรมบัญชีกลาง
- สิทธิประกันสังคม
รูปแบบการบำบัดรักษา [link]
1. บริการแบบผู้ป่วยนอก
บริการให้การบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติด ทุกชนิด สำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง สามารถรับยา และรับคำปรึกษา ในรูปแบบผู้ป่วยนอกที่สามารถเดินทางไป-กลับได้ รวมทั้งบริการตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ ให้บริการในเวลาราชการ คือ ตั้งแต่เวลา 08.30 -15.30 น.
ยาเสพติด (ยาบ้า, กัญชา, เฮโรอีน, ฝิ่น ฯลฯ) กลุ่มบำบัด 10 ครั้ง
ครั้งที่ 1 พบแพทย์ ทำข้อตกลงการเข้ารับการบำบัด
ครั้งที่ 2-9 พบนักบำบัดเพื่อทำกลุ่ม CBT, Matrix
ครั้งที่ 10-11 กิจกรรมครอบครัวบำบัด
ครั้งที่ 12 รับใบรับรองการรักษา (บางกรณีที่จำเป็นต้องใช้)
ยาเสพติด (ฝิ่น. เฮโรอีน) การใช้ยาเมทาโดนระยะยาวในการบำบัดรักษาร่วมกับกิจกรรมกลุ่มบำบัด
1-3 เดือนแรกเป็นช่วงปรับยา จะนัด 7 – 10 วัน
เดือนที่ 4 ขึ้นไป ระดับยาคงที่ จะเพิ่มวันนัดเป็น 14 วัน
เดือนที่ 6 ขึ้นไป พิจารณาส่งตัวรับการรักษาใกล้บ้าน
สารเสพติด (บุหรี่) มีน้ำยาอมอดบุหรี่ หมากฝรั่งอดบุหรี่ แผ่นแปะนิโคติน ยาช่วยลดนิโคติน)และการประเมินสภาพปอดด้วยเครื่องวัดระดับก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
หมายเหตุ
* ข้าราชการสามารถเบิกได้ตามสิทธิ
** ผู้ถือบัตรประกันชีวิต บัตรประกันสังคมไม่สามารถทำเบิกได้ (สำรองค่า
2. บริการแบบผู้ป่วยใน
สำหรับผู้ติดยาและสารเสพติดทุกชนิดที่มีอาการถอนพิษยารุนแรงหรือติดยามาเป็นระยะเวลานาน
1. ผู้ป่วยเสพติดสุรา ใช้ระยะเวลารักษาประมาณ 1 เดือน หรือขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์และความสมัครใจของผู้ป่วย
*สัปดาห์แรก-2 สัปดาห์ เป็นการรักษาเพื่อถอนพิษสุราจะมีการให้น้ำเกลือ และยา เป็นต้น
*สัปดาห์ที่ 3- 4 เป็นการฟื้นฟูสภาพร่างกายผู้ป่วยและการเข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัด จิตบำบัด
2. ผู้ป่วยเสพติดยาเสพติดชนิดอื่น (เฮโรอีน ฝิ่น ยาบ้า สารระเหย ยาอี ยาไอซ์ ฯลฯ ) *ผู้ป่วยระบบบังคับบำบัด ใช้ระยะเวลาการรักษา 4 เดือน หรือขึ้นอยู่กับดุลพินิจแพทย์และทีมสหวิชาชีพ
(บำบัดด้วยยา 72 ชั่วโมง, ฟื้นฟูสมรรถภาพ 118 วัน)
**ผู้ป่วยสมัครใจ สามารถกำหนดวันเพื่อบำบัดรักษาได้
3. ผู้ป่วยยาเสพติด ทุกชนิด ถ้าสมัครใจรักษา ใช้ระยะเวลารักษาอาการ ถอนพิษยา ประมาณ 2-4 สัปดาห์ หรือขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์และความสมัครใจของผู้ป่วย