ประวัติโรงพยาบาลหนองจิก
วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2526 โดย นายอัฐพล เลขะกุล ได้บริจาคที่ดินทั้งหมด จำนวน 11 ไร่ 1 งาน 35.9 ตารางวา สร้างด้วยเงินงบประมาณพื้นที่ชนบทยากจน ปี 2526 เป็นเงิน 6,012,100.00 บาท ( หกล้านหนึ่งหมื่นสองพันหนึ่งร้อยบาทถ้วน ) เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2527 เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 เปิดบริการประชน เมื่อ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2528 และได้รับการจัดสรรเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2537 มีสายบังคับบัญชาขึ้นตรงกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี
รายนามผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองจิกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1. นายแพทย์สุวิทย์ อังคสุวรรณ์
2. นายแพทย์ธาตรี ชวนะรักษ์
3. นายแพทย์อัมพร จงเสรีจิตต์
4. นายแพทย์วัชรินทร์ ล่องพาณิชย์
5. แพทย์หญิงฉวีวรรณ ศีลวัฒนพันธ์
6. นายแพทย์กิตติ ตู้จินดา
7. นายแพทย์อนุชิต วังทอง พ.ศ. 2537 - ปัจจุบัน
ประวัติอำเภอหนองจิก
อำเภอหนองจิก เดิมเรียกว่า เมืองหนองจิก เป็นเมืองหนึ่งใน 7 หัวเมือง ตั้งอยู่บ้านหนองจิก ต่อมาได้ย้ายเมืองหนองจิกมาตั้งอยู่ในตำบลปัจจุบัน อาจเป็นเพราะข้าราชการชั้นผู้ใหญ่สมัยนั้น คงจะเห็นว่า ในสมัยนั้นการคมนาคมทางบกไม่สะดวกเช่นปัจจุบัน คงมีแต่การคมนาคมทางน้ำเพราะที่ตั้งที่ว่าการอำเภอปัจจุบันอยู่ใกล้ทะเล และมีลำคลองตุยงไหลผ่านออกสู่ทะเลได้ ซึ่งมีความสะดวกในการติดต่อไปมาค้าขายกับหัวเมืองอื่น ๆ จึงถือว่าเป็นที่ตั้งที่มีการคมนาคมสะดวก จึงได้ย้ายเมืองมาอยู่ในท้องที่ตำบลตุยง จัดตั้งเป็นอำเภอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2444 จนถึงปัจจุบัน
ขนาดและที่ตั้ง
อำเภอหนองจิก ตั้งเมื่อปี 2444 เป็นอำเภอชั้น 2 อยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1 ตำบลตุยง มีเนื้อที่ประมาณ 231 ตารางกิโลเมตร และมีอาณาเขตดังนี้คือ
ทิศเหนือ ติดต่อทะเลหลวง
ทิศใต้ ติดต่ออำเภอยะรัง อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอแม่ลาน ปัตตานี
ทิศตะวันออก ติดต่ออำเภอเมืองปัตตานี อำเภอยะรัง ปัตตานี
ทิศตะวันตก ติดต่ออำเภอโคกโพธิ์ ปัตตานี และอำเภอเทพา สงขลา
ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่อำเภอหนองจิก
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำปัตตานีเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงชีวิต และมีชายหาดยาวเลียบทะเลอ่าวไทย ซึ่งสภาพพื้นที่ของอำเภอหนองจิก โดยทั่วไป จะเป็นที่ราบ ร้อยละ 96.0 ภูเขา ร้อยละ 0.5 และพื้นน้ำ ร้อยละ 3.5
ประชากร
ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ประชากรของอำเภอหนองจิกทั้งหมด จากการสำรวจ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 มีจำนวนทั้งหมด 69,049 คน
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปจะมี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ฤดูร้อนจะเริ่มประมาณเดือนมีนาคม – กรกฎาคม และฤดูฝน ซึ่งจะเริ่มมีฝนตกชุกในเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ของแต่ละปี
การปกครอง
อำเภอหนองจิก แบ่งการปกครอง เป็น 12 ตำบล 75 หมู่บ้าน มีเทศบาล จำนวน 2 ตำบล มีองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 11 ตำบลและมีสภาตำบล จำนวน 1 ตำบล
ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 87 ของประชากรทั้งหมด และนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 13 ของประชากรทั้งหมด
การประกอบอาชีพ
ประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม การปศุสัตว์ และการประมงทั้งประเภทประมงชายฝั่ง (ประมงพื้นบ้าน) และอุตสาหกรรมการประมง รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องจากการประมง
การศึกษา
อำเภอหนองจิก มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 41 แห่ง และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 2 แห่ง ส่วนศาสนสถานของศาสนาต่าง ๆ มีดังนี้คือ มีวัด จำนวน 6 แห่ง มัสยิด จำนวน 74 แห่ง สุเหร่า จำนวน 36 แห่ง
การคมนาคม
อำเภอหนองจิก มีการคมนาคมติดต่อกับอำเภออื่นๆ และจังหวัดใกล้เคียงได้สะดวก โดยแบ่งการคมนาคม ดังนี้คือ
ทางบก มีทางหลวงแผ่นดินสายที่ 42 (ถนนเพชรเกษม ซึ่งเชื่อมกับจังหวัดสงขลาและนราธิวาส) ซึ่งผ่านมาจากอำเภอโคกโพธิ์ เข้าสู่ตัวจังหวัดปัตตานี ระยะทางห่างจากจังหวัดปัตตานี 8.7 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพ ฯ โดยทางรถไฟ ประมาณ 1,055 กิโลเมตร
ทางอากาศ มีสนามบินบ่อทอง ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก 1 แห่ง ห่างจากอำเภอหนองจิกประมาณ 6 กิโลเมตร ขนาดทางวิ่ง 40 x 1,400 เมตร แต่หยุดดำเนินการตั้งแต่ ปี 2538 เนื่องจากประชาชนนิยมใช้ท่าอากาศยานหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
สถานที่ท่องเที่ยว
อำเภอหนองจิก มีสถานที่ท่องเที่ยวทั้งประเภทการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ปูชนียสถาน ได้แก่ วัดมุจลินทวาปีวิหาร วังหนองจิกและหาดรัชดาภิเษก
ข้อมูลด้านสาธารณสุข
โรงพยาบาลขนาด 30 เตียง จำนวน 1 แห่ง
โรงพยาบาลสังกัดทหารบก จำนวน 1 แห่ง
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
สถานีอนามัย จำนวน 15 แห่ง
ความครอบคลุมด้านหลักประกันสุขภาพของประชาชน อำเภอหนองจิก
ประเภทการประกันสุขภาพ จำนวน(คน) ร้อยละ
WEL (มี ท.) 32434 46.97
UC (ไม่มี ท.) 30036 43.50
ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ 2037 2.95
บัตรประกันสังคม 3765 5.45
สิทธิอื่นๆ 456 0.66
รวมประชากรทั้งสิ้น 69049 100.00
ที่มา : ทะเบียนงานประกันสุขภาพ โรงพยาบาลหนองจิก (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563)