ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สถาบันประสาทวิทยา

Prasat Neurological Institute

Logo Thumb preview

ที่อยู่/ติดต่อ
312 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไทเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ สถาบันประสาทวิทยา

content image1
สถาบันประสาทวิทยา PRASAT NEUROLOGICAL INSTITUTE

เป็นที่รู้จักในนามของ "โรงพยาบาลประสาท พญาไท" ก่อตั้งโดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสพ รัตนากร ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านประสาทวิทยาและจิตเวช รวมทั้งมีวิสัยทัศน์ อันล้ำลึกและยาวไกล ได้เล็งเห็นความสำคัญของโรคทางประสาท และความทุกข์ยากของผู้ป่วย ที่ยังไม่มีสถานพยาบาลเฉพาะทางสำหรับดูแลผู้ป่วยเหล่านั้น จึงได้ดำเนินการก่อตั้ง "โรงพยาบาลประสาท พญาไท" บนพื้นที่ 5 ไร่ ประกอบด้วยตึกอำนวยการ ตึกผู้ป่วยในขนาด 30 เตียง บ้านพักแพทย์ พยาบาลและพนักงานเท่านั้น ได้เปิดดำเนินการ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2500 ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะให้การบำบัดรักษาผู้ป่วย ที่ทุกข์ทรมานจากโรคระบบประสาท สมอง และสภาวะทางอารมณ์ ควบคู่กันไปกับการศึกษาค้นคว้าและวิจัย


บริการผู้ป่วยนอก
  • บริการตรวจวินิจฉัยพิเศษ
  • ขั้นตอนการให้บริการ
  • ตารางแพทย์ออกตรวจ
  • บริการพิเศษ
 
บริการผู้ป่วยใน
  • ข้อมูลหอผู้ป่วยต่างๆ
  • บริการห้องพิเศษ
  • ศูนย์ลดระยะรอผ่าตัด
แผนกที่ให้บริการ
  • แผนกทันตกรรม
  • แผนกเภสัชกรรม
  • แผนกรังสีวิทยา
  • แผนกโภชนาการ
  • แผนกประสาทศัลยศาสตร์
  • แผนกประสาทวิทยา
  • แผนกจิตเวช
  • แผนกวิสัญญีวิทยา
  • แผนกพยาธิวิทยา
  • แผนกจักษุประสาทวิทยา
  • แผนกกุมารประสาทวิทยา
  • แผนกอายุรกรรม
  • แผนกพยาธิกายวิภาค
  • แผนกเวชกรรมฟื้นฟู

Facebook สถาบันประสาทวิทยา

 
   เป็นที่รู้จักในนามของ “โรงพยาบาลประสาท พญาไท” ก่อตั้งโดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสพ รัตนากร ผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญทางด้านประสาทวิทยาและจิตเวช รวมทั้งมีวิสัยทัศน์ อันล้ำลึกและยาวไกล ได้เล็งเห็นความสำคัญ ของโรคทางระบบประสาท และความทุกข์ยากของผู้ป่วยที่ยังไม่มีสถานพยาบาลเฉพาะทางสำหรับดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ จึงได้ดำเนินการก่อตั้ง “โรงพยาบาลประสาท พญาไท” บนพื้นที่ 5 ไร่ ประกอบด้วยตึกอำนวยการ ตึกผู้ป่วยในขนาด 30 เตียง บ้านพักแพทย์ พยาบาลและพนักงานเท่านั้นได้เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2500 ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะให้การบำบัดรักษาผู้ป่วย ที่ทนทุกข์ทรมานจากโรคระบบประสาทสมองและสภาวะทางอารมณ์ควบคู่ ไปกับการศึกษาค้นคว้าและวิจัย
 
    จากหน่วยงานเล็กๆ เมื่อเริ่มก่อตั้ง ได้มีการวางแผนเตรียมโครงการขยายงานทุกด้านและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเริ่มจากการจัดหาสถานที่เพิ่มเติม หาทุนสนับสนุนจัดสร้างอาคารต่างๆ เพื่อรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ในการนี้โรงพยาบาลประสาทได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานทุนทรัพย์จำนวน 326,462.50 บาท สำหรับก่อสร้างตึกจักษุประสาทวิทยา และได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงศ์ มาที่โรงพยาบาลประสาท และโรงพยาบาลสาขาในส่วนภูมิภาคหลายครั้งเพื่อประกอบพิธีต่างๆ ดังนี้
 
 
    วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ “ตึกวิจัยประสาท”และเปิด ตึกศาลาบำบัดตึกศัลยกรรมประสาท และตึกคนไข้หญิง
 
    วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2505 : สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด “ห้องสมุดศรีสังวาลย์”
 
    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด“ตึกวิจัยประสาท”
 
    วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2517 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด “พระรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก” และ “ตึกสรีระบำบัด”
 
    วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2508 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วย พระราชโอรสพระราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด “โรงพยาบาลประสาทสงขลา” โรงพยาบาลสาขาแห่งแรก
 
    วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด“ตึกจักษุประสาทวิทยาและตึกกุมารประสาทวิทยา”
 
    วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2513 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด “โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่” โรงพยาบาลสาขาที่ 2
 
    วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด “ตึกประสาทศัลยศาสตร์”
 
    วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด “อาคารราชมงคล”
 
    วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2536 : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด “อาคารอำนวยการ”
 
    นอกจากนี้ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2545 สถาบันประสาทวิทยาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้พระราชทานพระราชานุญาตให้สถาบันประสาทวิทยา อัญเชิญอักษรพระนามาภิไธย มาจัดทำถ้วยรางวัล เพื่อมอบให้แก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขัน โบว์ลิ่งการกุศล ซึ่งจัดขึ้นเพื่อนำเงินไปช่วยเหลือผู้ป่วยอัมพาตอัมพฤกษ์ที่ยากไร้ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยดังกล่าว ซึ่งชาวสถาบันประสาทวิทยาทุกคนรู้สึกปลื้มปิติยินดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
 
    ในด้านของการพัฒนาบุคลากรและพัฒนาองค์ความรู้ สถาบันประสาทวิทยาได้รับความสนับสนุนจากบุคลากรทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนไม่น้อยอย่างต่อเนื่องมายาวนาน
 
    ใน พ.ศ. 2501 Prof.Graeme Robertson จากออสเตรเลียได้มาสอนที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 2 เดือน และ ได้เสนอปรับปรุงสถาบันเป็นสถาบันทางประสาทวิทยาที่เข้ามาตรฐาน พร้อมกับส่งเครื่องเอกซเรย์ และเครื่องมือ เครื่องใช้ในด้านประสาทรังสีมาให้
 
    ใน พ.ศ. 2503 Prof.Douglas Mc Alpine จาก Queen Square ได้มาสอนที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 2 เดือน และ ได้แนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาในด้านวิชาการ
 
    ใน พ.ศ.2505 Prof.RS. Allison จากไอซ์แลนด์ ได้มาประจำการสอนเช่นกัน ประมาณ 2 เดือน pic_history
 
    ใน พ.ศ.2508 Dr. John Stobo Prichard จากโตรอนโต แคนาดา ได้มาประจำอยู่ 3 เดือนและได้ตั้งแผนก กุมารประสาทวิทยา จัดโครงการแลกเปลี่ยนแพทย์ไทยกับแคนาดา โดยส่ง Dr. John Edmeads จากโตรอนโต มาเป็น ที่ปรึกษาสอนและดำเนินงานในด้านวิจัยอยู่ประมาณ 1 ปี จึงกลับและส่ง Dr. John Steele มาดำเนินงานต่ออีก 1 ปี
 
    ใน พ.ศ. 2509 Prof Sigvald Refsum จากนอร์เวย์ได้มาทำการสอนอยู่ที่โรงพยาบาล 2 เดือน และได้ให้ข้อเสนอแนะในการขยายงานในโรงพยาบาลประสาท สงขลาและโรงพยาบาลประสาท พญาไท เป็นผลให้ได้รับความร่วมมือระยะยาว ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลนอร์เวย์
 
    ใน พ.ศ.2509 Dr.Meod Lothar Hallmann จากฮัมบูร์ก, สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ได้มาประจำอยู่ที่โรงพยาบาลและได้สร้างห้องทดลองวิจัย และเริ่มการวิจัยในด้านชีวเคมีประสาท โดยเอื้อเฟื้อส่งพนักงานวิทยาศาสตร์จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมาร่วมด้วยอีก 2 คน
 
    นอกจากนี้ยังได้รับทุนส่งเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ทั้งแพทย์ พยาบาลและนักวิชาการไปศึกษาฝึกอบรมในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องซึ่งบุคลากรเหล่านี้ได้กลับมาทำให้สถาบันการแพทย์แห่งนี้ ได้รับการยอมรับในมาตรฐานการบริการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคระบบประสาทอย่างครบวงจรรวมทั้งเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และนิสิต นักศึกษาจากสถาบันต่างๆจนกระทั่งได้รับรองให้ใช้คำว่าสถาบันท้ายชื่อเป็น “โรงพยาบาลและสถาบันประสาทวิทยา”และจากการปรับปรุงระบบบริการกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2537 ได้มีพระราชโองการให้ออกพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ กำหนดให้โรงพยาบาลและสถาบันประสาทวิทยา มีฐานะเท่าระดับทอง เปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันประสาทวิทยา” สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
 
    “สถาบันประสาทวิทยา” เป็นสถาบันโรคเฉพาะทางระดับตติยภูมิ ( Tertiary Medical Care ) ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันได้ขยายพื้นที่เป็น 16 ไร่ 2 งาน มีอาคาร 13 หลัง เตียงผู้ป่วย 350 เตียง โดยยังคงมุ่งมั่นและรับผิดชอบตามปณิธาน
 
    สถาบันประสาทวิทยามีความมุ่งมั่นและความพร้อมที่จะพัฒนาสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อบริการบำบัดและรักษาประชาชนอย่างดียิ่งพร้อมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชน ตามเจตจำนงแน่วแน่ที่จะสนอง พระราชดำรัส องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ตึกวิจัยประสาท เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2504 ความว่า “เพื่ออำนวยประโยชน์ของประชาชนผู้เจ็บไข้ทางโรคประสาทนี้สืบไปชั่วกาลนาน”