ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กำชับ รพ.เลี่ยงสั่งจ่ายยากลุ่มเอ็นเสด ให้ผู้ป่วยไข้เลือดออก เพราะเสี่ยงเสียชีวิต

กำชับ รพ.เลี่ยงสั่งจ่ายยากลุ่มเอ็นเสด ให้ผู้ป่วยไข้เลือดออก เพราะเสี่ยงเสียชีวิต HealthServ.net
กำชับ รพ.เลี่ยงสั่งจ่ายยากลุ่มเอ็นเสด ให้ผู้ป่วยไข้เลือดออก เพราะเสี่ยงเสียชีวิต ThumbMobile HealthServ.net

ปลัดสธ. กำชับหนักแน่น โรงพยาบาล "หลีกเลี่ยง" การสั่งจ่ายยา "กลุ่มเอ็นเสด (NSAID)" ในผู้ป่วยมีอาการไข้ ห่วงเพิ่มความเสี่ยงผู้ป่วยไข้เลือดออก เสียเลือดจนช็อกและเสียชีวิต สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ขณะนี้มีผู้ป่วยมากกว่า 4 หมื่นคน เสียชีวิต 40 กว่าคน เป็นกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปมากกว่าเด็กเล็ก โดยพบว่าผู้เสียชีวิตประมาณ 10% มีการกินยาแอสไพริน หรือยาลดไข้
แก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด เช่น ไอบูโพรเฟน เป็นต้น

27 กรกฎาคม 2566 ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังนำผู้บริหารและบุคลากรกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันทำกิจกรรม MOPH Big Cleaning Day ประจำปี 2566 ว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ขณะนี้มีผู้ป่วยมากกว่า 4 หมื่นคน เสียชีวิต 40 กว่าคน เป็นกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปมากกว่าเด็กเล็ก โดยพบว่าผู้เสียชีวิตประมาณ 10% มีการกินยาแอสไพริน หรือยาลดไข้
แก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด เช่น ไอบูโพรเฟน เป็นต้น ซึ่งทำให้เกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ เพิ่มความเสี่ยงให้เลือดออกง่ายจนช็อกและเสียชีวิต


        ดังนั้น หากมีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปวดจุกแน่นในท้อง ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของโรคไข้เลือดออกที่วินิจฉัยแยกจากโรคอื่นที่ได้ยาก เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ หรือโรคฉี่หนู ขอให้ระมัดระวังไม่ซื้อยาเหล่านี้มารับประทาน ทั้งนี้ ได้กำชับโรงพยาบาลและบุคลากรแล้วว่าหากผู้ป่วยมีไข้และยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ให้หลีกเลี่ยงการจ่ายยากลุ่มเอ็นเสด และหากอาการยังไม่ดีขึ้นขอให้กลับไปพบแพทย์อีกครั้ง
 
          นพ.โอภาสกล่าวต่อว่า สำหรับการประกาศพื้นที่ระบาดโรคไข้เลือดออกหรือโรคอื่นใด หากพื้นที่เห็นว่าการระบาดมากจนทรัพยากรในจังหวัดหรือพื้นที่นั้นไม่เพียงพอรับสถานการณ์ เช่น ขาดงบประมาณ ขาดยา ขาดบุคลากร หรือจำเป็นต้องใช้งบประมาณพิเศษ หรือต้องมีการบูรณาการพิเศษ ก็ให้เสนอเรื่องถึงอธิบดีกรมควบคุมโรคพิจารณา โดยใช้กลไกคณะกรรมการวิชาการออกประกาศ ซึ่งสามารถประกาศระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือทั้งจังหวัดก็ได้ เพื่อให้มีอำนาจในการดำเนินการควบคุมโรคมากขึ้น รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถใช้งบประมาณ ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ เนื่องจากโรคระบาดในคนถือเป็นสาธารณภัยรูปแบบหนึ่ง
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด