ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส และวัคซีนพีซีวี PCV

ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส และวัคซีนพีซีวี PCV Thumb HealthServ.net
ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส และวัคซีนพีซีวี PCV ThumbMobile HealthServ.net

โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นโรคที่พบได้บ่อย ในทุกกลุ่มอายุ และมักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว มักทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ หูชั้นกลาง อักเสบ หลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและมีโอกาสเกิดโรคแบบรุนแรง ได้แก่ เด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้สูงอายุ และผู้ที่มี โรคประจำตัวหรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

 

ความรู้เรื่อง "โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส และวัคซีน PCV"


โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส มีสาเหตุจากการติดเชื้อ แบคทีเรียที่มีชื่อว่า Streptococcus pneumoniae (สเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี) เป็นโรคที่พบได้บ่อย ในทุกกลุ่มอายุ และมักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว การติดเชื้อส่วนใหญ่มักทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ หูชั้นกลาง อักเสบ หลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ โดยอาการจะเริ่มจาก มีไข้สูงคล้ายโรคติดเชื้อทั่วไป 2 - 3 วัน การติดเชื้อดังกล่าว อาจก่อให้เกิดโรครุนแรงและแพร่กระจายที่เรียกว่า Invasive Pneumococcal Disease หรือ IPD กลุ่มโรคนี้ ได้แก่ การติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และปอดอักเสบ ชนิดรุนแรง ซึ่งอาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ ผู้ที่มีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อและมีโอกาสเกิดโรคแบบรุนแรง ได้แก่ เด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้สูงอายุ และผู้ที่มี โรคประจำตัวหรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

 
ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส และวัคซีนพีซีวี PCV HealthServ
 
ความรุนแรงของโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสในเด็ก
 
คาดว่ามีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลกเสียชีวิตจากการติดเชื้อ นิวโมคอคคัสประมาณ 500,000 รายต่อปี ส่วนใหญ่มักเป็น เด็กในทวีปแอฟริกาและเอเชีย สำหรับประเทศไทยพบว่า ในพ.ศ. 2562 มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ติดเชื้อนิวโมคอคคัส จำนาน 1,228 รายต่อประชากรเด็กอายุต่ำกว่า5 ปี จำนวนหนึ่งแสนคน และในจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่ติดเชื้อ เสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 11

 
เชื้อนิวโมคอคคัส สามารถพบได้ทั่วไปในโพรงจมูก และลำคอของคนโดยที่ไม่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย แต่อาจทำให้ เกิดโรคได้ในคนที่มีร่างกายอ่อนแอหรือคนที่มีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ หรืออาจเกิดตามหลังการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ ส่วนบน โดยเชื้อแพร่กระจายไปยังผู้อื่นได้ จากการสัมผัส ละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ที่มาจากการไอหรือการจาม



การรักษาโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส ทำได้โดยการให้ ยาปฏิชีวนะในขนาดที่เหมาะสมกับโรคและอาการ แต่ปัจจุบัน เชื้อนิวโมคอคคัสสายพันธุ์ย่อยบางสายพันธุ์ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ทำให้การรักษามีความชับซ้อนมากขึ้น


การป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสในเด็กเล็ก สามารถทำได้โดยหลีกเลี่ยงการนำเด็กเข้าไปในที่ชุมชนหรือ สถานที่แออัด รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล หลึกเลี่ยง การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย และการให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ นิวโมคอคคัส





 

วัคซีนป้องกัน 2 ชนิด


การให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสในเด็ก ช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส ลดการแพร่ กระจายเชื้อนิวโมคอคคัสไปยังเด็กคนอื่น ๆ ได้ อีกทั้ง สามารถช่วยลดอุบัติการณ์การดื้อยาปฏิชีวนะต่อเชื้อ นิวโมคอคคัสได้อีกด้วย ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ นิวโมคอคคัสที่ขึ้นทะเบียนในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ
  • ชนิด PCV (Pneumococcal Conjugate Vaccine) เป็นวัคซีนป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัส ที่มีใช้ ในปัจจุบันมี 2 แบบ คือ วัคชีนชนิด 10 สายพันธุ์ (PCV10) ใช้ในเด็กเล็ก และ 13 สายพันธุ์ (PCV13) ใช้ได้ทั้งในเด็กเล็ก จนถึงผู้ใหญ่
  • ชนิด PPSV (Pneumococcal Polysaccharide Vaccine) ได้แก่ วัคชีนชนิด 23 สายพันธุ์ (PPSV23) เป็นวัคซีนป้องกันการเกิด PD ใช้ในเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือผู้ใหญ่ที่มี โรคประจำตัวที่มีความเสี่ยง



วัคซีน PCV เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ และมี ความปลอดภัยสูง แต่อาจพบอาการข้างเคียงหลังได้รับ วัคซีนได้ อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ เบื่ออาหาร งอแง ง่วงซีม ปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีด ไข้ ความอยากอาหารลดลง รู้สึกเจ็บ/กดเจ็บบริเวณที่ฉีดวัคนจนเคลื่อนไหวไม่สะดวก ท้องเสีย อาเจียน และผื่น ซึ่งอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่สามารถ หายได้เอง ดังนั้น หลังจากเด็กได้รับวัคซีน ผู้ปกครองควรให้ เด็กได้พักผ่อน และคอยดูแลอย่างใกล้ชิด รวมทั้งสังเกต อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้


ปัจจุบันวัคชีน PCV เป็นวัคซีนที่ใช้ในแผนงานสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรคของหลายประเทศ สำหรับประเทศไทยขณะนี้ ยังไม่ได้บรรจุไว้ในแผนงานฯ อย่างไรก็ตาม เพื่อลดการป่วย พิการ และเสียชีวิตจากโรคดังกล่าว จึงได้พิจารณาเริ่มให้วัคซีน PCV จำนวน 3 เข็ม ในเด็กอายุ 2 4 และ 12 เดือน ที่มารับบริการในสถานบริการของรัฐในจังหวัดนำร่อง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และในอนาคตอันใกล้จะขยายการ ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศต่อไป


ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค 

อ่านเพิ่มเติม การนำร่อง การให้บริการวัคซีน PCV (Pneumococcal Conjugate Vaccine) มาใช้ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด