ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

Smart Hospital คืออะไร แล้วโรงพยาบาลจะดีกว่าเดิมและฉลาดกว่าเดิมอย่างไร

Smart Hospital คืออะไร แล้วโรงพยาบาลจะดีกว่าเดิมและฉลาดกว่าเดิมอย่างไร Thumb HealthServ.net
Smart Hospital คืออะไร แล้วโรงพยาบาลจะดีกว่าเดิมและฉลาดกว่าเดิมอย่างไร ThumbMobile HealthServ.net

Smart มันคืออะไรบางอย่างที่มีคุณสมบัติมากกว่าเดิม ดีกว่าเดิม ฉลาดกว่าเดิม รวมกับ Hospital โรงพยาบาลจะดีกว่าเดิมอย่างไร และโรงพยาบาลจะฉลาดกว่าเดิมอย่างไร

Smart Hospital คืออะไร แล้วโรงพยาบาลจะดีกว่าเดิมและฉลาดกว่าเดิมอย่างไร HealthServ

Smart hospital คืออะไร ผมว่าหลายๆคนก็ยังไม่เข้าใจ กระทรวงเองก็ยังไม่มีนิยามชัดเจน มีอยู่ครั้งนึงกระทรวงนัดประชุมเรื่อง smart hospital 1 วันเต็มๆ ยังไม่ได้นิยามคำว่า smart hospital เลย หลายๆโรงพยาบาลสับสน จนกระทั่งพัฒนาแบบหลงทางไปเลยก็มี


[นิยาม smart hospital ของสธ.]

  •  

ช่วงเวลานี้มักมีคำว่า smart มาใช้หลายๆ อย่างเช่น smart phone , smart card , smart tv , smart watch และอื่นๆอีกมากมาย คำว่า smart มันคืออะไรบางอย่างที่ขยายความจากสิ่งๆ นั้น สิ่งๆ นั้นมีคุณสมบัติมากกว่าเดิม ดีกว่าเดิม ฉลาดกว่าเดิม ประมาณนั้น แต่เมื่อรวมกับคำว่า hospital เลยงงไปใหญ่ว่าโรงพยาบาลจะมีคุณสมบัติที่มากกว่าเดิมอย่างไร โรงพยาบาลจะดีกว่าเดิมอย่างไร และโรงพยาบาลจะฉลาดกว่าเดิมอย่างไร
 
คำนิยามคำว่า smart hospital สำหรับผมคือ โรงพยาบาลที่มีบริการที่ดี คุณภาพมาตรฐาน รวดเร็ว มีการเงินที่มั่นคง สวย สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ
เลยเอาตัวอักษร “SMART”มาอธิบายรายละเอียดเพื่อให้จดจำได้ง่ายๆ ดังนี้
 
S : service ต้องมีservice หรือบริการที่ดี ทั้งในส่วนของ medical service และhotel service โรงพยาบาลจะให้บริการแบบเดิมๆไม่ได้อีกแล้ว ต้องลบภาพโรงพยาบาลรัฐบาลทิ้งไป ต้องให้บริการเทียบเคียงเอกชน บุคลากรทางการแพทย์ต้องเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อคนไข้ใหม่ ไม่ใช่ว่าเราจะจัดบริการแบบไหนก็ได้ คนไข้ต้องง้อต้องทำตามระบบเดิมๆของเรา มุมมองต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต้องเปลี่ยนไป ไม่ใช่อนาถา โรงพยาบาลสามารถให้บริการที่ดีกว่าเดิมถึงจะsmart
 
M : money การบริหารการเงินการคลังต้องดีเยี่ยม ไม่เกิดวิกฤติการเงิน ไม่ค้างค่ายา ค่าตอบแทน มีรายได้เพิ่ม มีกำไรที่จะพัฒนาโรงพยาบาลให้ดียิ่งๆขึ้นไป การเอาเทคโนโลยีมาใช้แบบไม่ถูกต้อง จะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้โรงพยาบาล ถ้ารายรับไม่เพียงพอ จะยิ่งทำให้โรงพยาบาลขาดสภาพคล่องได้ และถ้าจะให้ดี เมื่อเอาเทคโนโลยีมาใช้แล้วสามารถทำให้การเงินการคลังดีขึ้นoutcomeดี แบบนี้ถึงsmart
 
A : architecture สถาปัตยกรรม ต้องสวย สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ข้อนี้จำเป็นมากๆ แต่มักโดนละเลย เรามักให้ความสำคัญเรื่องinterior design เป็นอันดับสุดท้าย และเป็นงบแรกที่จะโดนตัด แต่ผมคิดว่าสิ่งนี้แหละที่สำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น คนไข้เข้ามารับบริการก็รู้สึกผ่อนคลาย มีความน่าเชื่อถือของสถานที่ ผมพบว่าพฤติกรรมของผู้ให้และผู้รับบริการเปลี่ยนไปเนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โรงพยาบาลไหนยังจัดการเรื่องนี้ไม่ได้ก็ยังไม่smartอยู่ดี
 
R : rapid บริการรวดเร็ว โรงพยาบาลรัฐบาลรอคิว3-4ชั่วโมงเป็นเรื่องปกติ?? ผมว่าไม่ปกติ มันเป็น pain point ของผู้มารับบริการเลยละ โรงพยาบาลต้องหาวิธีจัดการเรื่องเวลาให้ได้ ลดระยะเวลารอคอยแบบที่ผู้มารับบริการรู้สึกได้ พึงพอใจขึ้น เทคโนโลยีเอามาใช้เรื่องคิวได้บ้าง แต่ควรดูเวลารอคอยโดยรวมตั้งแต่เดินเข้าโรงพยาบาลจนกระทั่งกลับบ้าน บางทีเอาเทคโนโลยีมาใช้แต่เวลารอคอยรวมกลับไม่ลดลงเลย ถ้าเป็นแบบนี้โรงพยาบาลควรกลับไปทบทวนระบบว่ามีคอขวดที่ไหน และจัดการ หรือรื้อระบบเดิมๆออกให้หมด จัดการวาง flow ใหม่ สำหรับผมเองวิธีไหนก็ได้ที่ทำให้เวลารอคอยลดลงอย่างชัดเจน ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี แบบนี้ก็เรียก smart
T : technology แน่นอนsmartต้องมีเทคโนโลยี ที่ดี ที่เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาล มาแล้วทำให้การทำงานง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ไม่เพิ่มภาระให้กับผู้ให้และผู้รับบริการ เทคโนโลยีต้องใช้เงินลงทุนเยอะ และต้องบริหารเก่งจริงๆถึงจะเอาเทคโนโลยีมาลดต้นทุนของการให้บริการได้ เอาเทคโนโลยีมาใช้แล้วเกิด outcome ที่ดี เห็นเป็นรูปธรรม สำคัญคือ outcome ถ้าoutcome ดีก็ smart ถ้ายังไม่เกิดoutcomeที่ดีก็ยังไม่ใช่ smart hospital
 
ผมคิดว่าโรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ยเป็นโรงพยาบาลที่ใกล้เคียงคำว่า smart hospital มากที่สุดแล้ว. แล้วโรงพยาบาลของท่านละ พร้อมจะเป็น smart hospital แล้วหรือยัง

นพ.ประวัติ กิจธรรมกูลกิจ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ย
Smart Hospital คืออะไร แล้วโรงพยาบาลจะดีกว่าเดิมและฉลาดกว่าเดิมอย่างไร HealthServ




นิยาม Smart Hospital กระทรวงสาธารณสุข

Smart Hospital หมายถึง โรงพยาบาลภาครัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดบริการภายในโรงพยาบาล ลดขั้นตอนการปฏิบัติ และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการที่มีคุณภาพดี มีความปลอดภัย และทันสมัยอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
 
1) Smart Place/Infrastructure
 
          โรงพยาบาลมีการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ผ่านเกณฑ์การดำเนินงาน GREEN&CLEAN Hospital ของกรมอนามัย และจัดตกแต่งสถานที่ให้สวยงาม ดูมีความทันสมัย (Digital Look) ช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการ
 
2) Smart Tools
 
          โรงพยาบาลมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ให้มีความถูกต้องแม่นยำ สะดวกรวดเร็ว ลดความเสี่ยงความผิดพลาดต่างๆ ลดระยะเวลา เพิ่มความปลอดภัย และเพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการ อาทิ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์อัตโนมัติ ระบบบริหารจัดการคิว รูปแบบดิจิทัล รูปแบบออนไลน์
 
3) Smart Services
 
          โรงพยาบาลมีการบริหารจัดการกระบวนงานที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการพัฒนาองค์กรตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย และ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 เช่น การยกเลิกการเรียกรับสำเนาบัตรประชาชนและเอกสารอื่นที่ออกโดยราชการจากผู้รับบริการ  การจัดเก็บข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยด้วยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (EMR : Electronic Medical Records) การใช้ใบสั่งยาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  การลดระยะเวลารอคอยรับบริการ   การมีบริการนัดหมายแบบเหลื่อมเวลา หรือมีการจัดกลุ่มผู้รับบริการ ได้รับบริการตรงเวลาหรือแตกต่างเล็กน้อยอย่างเหมาะสม เป็นต้น
 
4) Smart Outcome
 
          โรงพยาบาลมีการบริหารจัดระบบงานให้มีความเชื่อมโยงกันได้อย่างอัตโนมัติ โดยนำระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) มาใช้ โดยเฉพาะระบบหลักของโรงพยาบาล (Core Business Process) เพื่อให้มีระบบสารสนเทศที่ตอบสนองต่อการบริหารจัดการได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันความเสี่ยงด้านการเงินการบัญชี การจัดซื้อจัดจ้าง ป้องกันปัญหาการขาดแคลนและความไม่สมดุลด้านทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรในระบบบริการ มีการบริหารจัดการ Unit Cost ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และเพื่อเพิ่มคุณภาพระบบบริการ จัดการระยะเวลารอคอยได้อย่างเหมาะสม
 
5) Smart Hospital
 
          โรงพยาบาลมีประสิทธิภาพในการจัดการ มี Unit Cost ในเกณฑ์ที่เหมาะสมสามารถเปรียบเทียบ (Benchmarking) กับหน่วยงานอื่นได้  มีการจัดการและป้องกันความเสี่ยง (Proactive Risk Management) ที่ดีในทุกมิติ เพื่อให้การบริการมีคุณภาพดีในทุกมิติ และมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์พลังงาน อย่างยั่งยืน

healthkpi.moph.go.th/
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด