ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คนไทยฆ่าตัวตายกันเยอะไหม - ดร.พนิต ภู่จินดา

คนไทยฆ่าตัวตายกันเยอะไหม - ดร.พนิต ภู่จินดา Thumb HealthServ.net
คนไทยฆ่าตัวตายกันเยอะไหม - ดร.พนิต ภู่จินดา ThumbMobile HealthServ.net

ดร.พนิต เขียนไว้เมื่อปี 2019 ก่อนเกิดโควิดระบาดทั่วโลกสำรวจตรวจสอบข้อมูลภาวะการฆ่าตัวตายของประชากรประเทศต่างๆ จากทั่วโลก แต่ละภูมิภาค เทียบกับไทย รวมถึงสาเหตุและผลเสียผลกระทบที่ตามมาจากภาวะการณ์นี้


คนไทยฆ่าตัวตายกันเยอะไหม

 
ในฐานะคนที่ใช้ชีวิตมามากแล้ว ก็เริ่มมองหาทางตายอย่างสงบ หาข้อมูลนู่นนี่ไปเรื่อย ก็ดันไปเจอการจัดอันดับประเทศที่มีการฆ่าตัวตายมาที่สุดในโลกในเว็บไซด์ขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization – WHO) ได้ความว่าในปี 2016 ใน 176 ประเทศทั่วโลกมีคนฆ่าตัวตายสำเร็จ 10.6 คนต่อประชากร 100,000 คน หรือประมาณ 800,00 คนต่อปี

ประมาณว่าทุก ๆ 40 วินาทีจะมีคนฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน

ถ้าแยกเป็นทวีป จะพบว่าทวีปยุโรปมีอัตราการเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายถึง 15.4 คนต่อประชากร 100,000 คน รองลงมาคือทวีปเอเชียใต้และตะวันออก 13.2 คนต่อประชากร 100,000 คน

โดยประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายสูง ๆ อยู่ในทวีปยุโรปตะวันออก ประเทศลิธัวเนียเป็นอันดับหนึ่งของโลกที่มีอัตราการเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายสูงถึง 3.19 คนต่อประชากร 100,000 คน อันดับสองคือรัสเซีย 31.0 คนต่อประชากร 100,000 คน ส่วนทวีปที่มีอัตราการเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายต่ำที่สุดคือทวีปตะวันออกกลาง 3.9 คนต่อประชากร 100,000 คน 
 

 

คนไทยฆ่าตัวตายกันเยอะไหม - ดร.พนิต ภู่จินดา HealthServ
 

การพยายามฆ่าตัวตายของคนไทย

หันมาดูประเทศไทยของเรา พบว่าเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายเป็นอันดับที่ 31 ของโลก 14.4 คนต่อประชากร 100,000 คน มากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน รองลงมาคือประเทศสิงคโปร์ 9.9 คนต่อประชากร 100,000 คน (อันดับที่ 61 ของโลก) และลาว 8.6 คนต่อประชากร 100,000 คน (อันดับที่ 78)

ส่วนประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายน้อยที่สุดในภูมิภาคอาเซียนคือประเทศฟิลิปปินส์ 3.2 คนต่อประชากร 100,000 คน (อันดับที่ 155)

แสดงว่าประเทศไทยมีอะไรบางอย่างที่ผลักดันให้ประชาชนตัดสินใจฆ่าตัวตายสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกันอย่างมีนัยสำคัญทีเดียวหละ เพราะองค์การอนามัยโลกบอกว่า 80% ของคนที่เสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายมาจากประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง

 
สืบค้นต่อไปก็พบว่ากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขได้แถลงไว้ในปี 2016 ว่ามีคนพยายามฆ่าตัวตายถึง 53,000 คน หรือ 6 คนต่อชั่วโมง และฆ่าตัวตายสำเร็จ 4,131 คน (6.35 คนต่อประชากร 100,000 คน ต่ำกว่าข้อมูลของ WHO ถึง 2.4 เท่า) เป็นชายมากกว่าหญิงถึง 4 เท่าตัว การฆ่าตัวตายทำให้ประเทศไทยสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงประมาณ 400 ล้านบาทต่อปี

สาเหตุการตัดสินใจ

สาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การตัดสินใจฆ่าตัวตาย 5 ประการ คือ
  • ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
  • สุรา
  • ยาเสพติด
  • สภาพทางสังคม
  • เศรษฐกิจ 
โดยที่ผู้ชายฆ่าตัวตายด้วยปัญหาทางจิต สุราและยาเสพติดเป็นหลัก ส่วนผู้หญิงมักจะฆ่าตัวตายด้วยเหตุด้านความสัมพันธ์ส่วนบุคคลและผิดหวังจากความรัก

 

วิเคราะห์สาเหตุและทางออก

จากต้นเหตุการฆ่าตัวตายทั้ง 5 ประการข้างต้น เห็นได้ว่าสาเหตุมาจากทั้งภาวะทางสังคมที่กดดัน ความคาดหวัง และแรงบีบคั้นทางเศรษฐกิจ ทำให้สังคมไทยลดความเป็นครอบครัวและชุมชนลงไปเรื่อยๆ ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้

ในอีกมุมหนึ่งก็แสดงถึงความอ่อนแอของหน่วยงานของรัฐในการจัดการปัญหายาเสพติดทำให้คนเหล่านั้นไม่สามารถควบคุมสติได้ ต้นทางของปัญหาเหล่านี้มีแต่จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะสังคมไทยกำลังเปลี่ยนจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยว มีคนโสดและคนที่อยู่คนเดียวมากขึ้น ค่าครองชีพและการแข่งขันทางเศรษฐกิจก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ยาเสพติดก็มาในรูปแบบใหม่ๆ เข้าถึงง่ายขึ้นและเปลี่ยนตัวเองหนีการติดตามจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจไปสู่ช่องทาง Social Network ต่างๆ

ดังนั้นการสร้างความเข้มแข็งจากภายในจิตใจของบุคคลให้สามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีสติจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้คนไทยยืนหยัดกับสภาวะการต่างๆ ต่อไปได้อย่างมั่นคง
 



เขียนไว้ก่อนโควิด 
ตอนนี้ตัวเลขคงเพิ่ม
โดยส่วนตัวคิดว่า ถ้าวันนึงหันไปมองรอบตัวแล้วไม่พบเหตุผลที่จะอยู่ต่อไป ก็คงไปดีกว่า จัดการนู่นนี่ให้เรียบร้อย แล้วหาวิธีสงบที่ไม่เดือดร้อนคนอื่นต้องมาตามล้างตามเช็ดน่าจะดีสุด

ดร.พนิต ภู่จินดา
11 มกราคม 65

***บทความนี้เผยแพร่บนเว็บไซต์ Rabbit Today เมื่อปี 2019***

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด