ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รู้จัก Davinci หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด รพ.ราชวิถี

รู้จัก Davinci หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด รพ.ราชวิถี Thumb HealthServ.net
รู้จัก Davinci หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด รพ.ราชวิถี ThumbMobile HealthServ.net

มารู้จักกับ Davinci หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเครื่องแรกของกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ และโรงพยาบาลราชวิถี ควบคุมปฏิบัติการโดย ผศ.(พิเศษ) นพ.ธเนศ ไทยดำรงค์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ งานศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลราชวิถี ไปดูกันว่าหุ่นยนต์ Davinci สุดล้ำเครื่องนี้มีองค์ประกอบและทำงานผ่าตัดอย่างไร


         " Davinci เป็นหุ่นยนต์เครื่องแรกของกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ และโรงพยาบาลราชวิถี "
         ผศ.(พิเศษ) นพ.ธเนศ ไทยดำรงค์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ กลุ่มงานศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี ผู้ปฏิบัติการควบคุมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด Davinci เครื่องนี้ ให้ข้อมูล
 
         
         หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด Davinci เครื่องนี้ เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในระดับสากล  มีข้อดีที่เป็นที่ยอมรับ คือ การผ่าตัดด้วยมือหุ่นยนต์ที่บังคับโดยศัลยแพทย์ มีความแม่นยำสูง  สามารถทำงานละเอียดอ่อนได้ดี  มือหุ่นยนต์สามารถเข้าถึงอวัยวะส่วนที่อ่อนไหว หรือพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก หรือพื้นที่ลึกและแคบได้  ตัวอย่างเช่น การผ่าตัดรักษาโรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก เนื่องจากต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่อยู่ในพื้นที่ลึกและแคบในอุ้งเชิงกราน  มือของศัลยแพทย์เข้าไปได้ลำบาก การมองเห็นไม่ชัดเจน 

          หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด Davinci  ที่มีแขนกลเคลื่อนไหวได้ 7 ทิศทาง พร้อมเทคโนโลยีภาพ 3 มิติ  คือเครื่องมือที่เข้ามาช่วยให้แพทย์ทำงานที่ละเอียดและอ่อนไหวเหล่านั้นได้อย่างแม่นยำ
 

        ข้อดีที่สำคัญที่สุดในการรักษา คือประโยชน์ที่เกิดกับผู้ป่วย  กล่าวคือ  การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ ทำการผ่าตัดผ่านช่องขนาดเล็ก หรือเรียกว่า วิธีผ่าตัดแผลเล็กบาดเจ็บน้อย (Minimally invasive Surgery)  ทำให้ผู้ป่วยไม่มีแผลใหญ่ ไม่บอบช้ำ ไม่กระทบกระเทือนมาก ภาวะแทรกซ้อนน้อย   ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ดี และเร็ว คุณภาพชีวิตที่ดีหลังการผ่าตัด  ระยะเวลาการพักฟื้นให้สั้นลง ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น



 


ศูนย์ผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ โรงพยาบาลราชวิถี

 
             โรงพยาบาลราชวิถีได้เปิดศูนย์ผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ปัจจุบันโรงพยาบาลราชวิถีได้ดำเนินการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ไปแล้วกว่า 664 ราย โดยเป็นการผ่าตัดต่อมลูกหมากด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด จำนวน 228 ราย การผ่าตัดตับ และตับอ่อนด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด จำนวน 151 ราย การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ร่วมกับการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองด้วยหุ่นยน์ช่วยผ่าตัด จำนวน 108 ราย การผ่าตัดเนื้องอกทางช่องปากด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด จำนวน 22 ราย การผ่าตัดปอดด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด จำนวน 17 ราย และอื่นๆ  


รู้จัก หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด Davinci โดยละเอียด

   หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด Davinci เครื่องแรกของกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์ ตั้งอยู่ที่ ศูนย์ผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ งานศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลราชวิถี  ควบคุมปฏิบัติการโดย ผศ.(พิเศษ) นพ.ธเนศ ไทยดำรงค์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ งานศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ 

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด Davinci มีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน


หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด Davinci มีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 Visual Cart เป็นส่วนการประมวลผล
ส่วนที่ 2 ส่วนแขนกลหุ่นยนต์ ทำหน้าที่คล้ายกับแขนของศัลยแพทย์ 
ส่วนที่ 3 ส่วน Console ส่วนที่ศัลยแพทย์ ควบคุมกลไกหุ่นยนต์ 

ส่วนที่ 1 Visual Cart


        รู้จักส่วนประกอบ หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด Davinci กันทีละส่วนเลย เริ่มจาก 

        ส่วนที่ 1 Visual Cart เป็นส่วนการประมวลผล ประกอบด้วยกล่องประมวลผลภาพต่างๆ เพื่อส่งต่อไปยังศัลยแพทย์ เพื่อดูแบบ Real time ขณะปฏิบัติการผ่าตัด  เครื่องจะมีจอภาพ เครื่องบันทึกภาพ เครื่องกระจายแก๊สที่เป่าเข้าไปในช่องท้อง  แหล่งพลังงานในการห้ามเลือด จี้ห้ามเลือดต่างๆ  และส่วนโปรเซสเซอร์ ของเครื่องที่ใช้ประมวลผลภาพ  


ส่วนที่ 2 ส่วนแขนกลหุ่นยนต์

 
      ส่วนที่ 2 ส่วนแขนกลหุ่นยนต์
ถือเป็นพระเอกของเครื่องนี้เลย  เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ผู้ป่วยมากที่สุด ทำหน้าที่คล้ายกับแขนของศัลยแพทย์ ประกอบด้วยแขนกล 4 แขน (เพิ่มแขนให้กับแพทย์ขึ้นมาอีก 2 แขน 4 มือ เลยทีเดียว)  และแขนนี้ยังทรงพลังกว่าแขนของมนุษย์ เพราะปกติเวลาแพทย์ผ่าตัดจะมีความเมื่อยล้าเกิดขึ้น  แขนหุ่นยนต์นี้จะไม่มีปัญหาเหล่านั้น ทำให้มีความเสถียร ทำให้การผ่าตัดแม่นยำขึ้น  


ส่วนที่ 3 Console


             ส่วนที่ 3 ส่วน Console ส่วนที่ศัลยแพทย์สื่อสาร ส่งสัญญาณ ควบคุมกลไกหุ่นยนต์ Davinci เชื่อมต่อกับคนไข้ ขณะปฏิบัติการผ่าตัด 
 
     เทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด Davinci เป็นเครื่องมือช่วยเสริมการผ่าตัด ที่แพทย์มีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว ช่วยให้แม่นยำขึ้น ผ่านอุปกรณ์ ที่มีประสิทธิภาพสูง ได้แก่ กล้องส่องตาเลนส์คู่ กำลังขยายสูง 30 เท่า ให้ภาพเป็น 3 มิติ มองผ่านแว่นตา เห็นภาพเหมือนจริงมากที่สุด   และ มือกลขนาดจิ๋ว ที่เคลื่อนไหวได้รอบทิศ เคลื่อนไหวในที่แคบได้ดี   มีระบบไฟส่องนำ เมื่อปฏิบัติการภายใน  


สาธิตวิธีการเย็บแผลด้วยแขนกล


     นพ.ธเนศ ได้สาธิตวิธีการเย็บแผลด้วยแขนกลขนาดจิ๋ว 3 แขน การควบคุมแขนและปลายแขน 7 ทิศทาง เสมือนมือคนจริงๆ  ลักษณะปลายแขนเป็นคีมเล็กๆ บางๆ  ทั้ง 3 แขนทำงานสอดประสานอย่างคล่องแคล่ว การพลิกแขนกลับไปมาตามสั่งอย่างเป็นธรรมชาติ แม้เป็นงานที่ละเอียดอ่อนที่ต้องควบคุมเข็มด้าย การวางน้ำหนักการเย็บ ให้เสมือนหนึ่งเป็นประสาทสัมผัสโดยมือแพทย์  นั่นคือการสอดประสานความชำนาญและประสบการณ์ของศัลยแพทย์เข้ากับเทคโนโลยีที่ละเอียดอ่อนได้อย่างลงตัว  และผลสำเร็จคือการรักษาคนไข้ในอวัยวะที่อ่อนไหวให้หายได้มาแล้วกว่า 600 ราย


 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด