ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ยาดมไทย ประโยชน์ ความเสี่ยงแฝง ใช้ให้ถูกวิธี

ยาดมไทย ประโยชน์ ความเสี่ยงแฝง ใช้ให้ถูกวิธี Thumb HealthServ.net
ยาดมไทย ประโยชน์ ความเสี่ยงแฝง ใช้ให้ถูกวิธี ThumbMobile HealthServ.net

ยาดมไทยๆ ไปไกลทั่วโลกแล้วในทุกวันนี้ นักท่องเที่ยวเข้าไทยมากมายได้พบได้เห็นยาดมทุกที่ผนวกกับได้ลองใช้บ้าง มีการนำเสนอผ่านสื่อในโอกาสต่างๆมากมาย เช่น แข่งกีฬา กิจกรรม เทศกาล หรือช่องยูทูป ฯลฯ ทำให้ยาดมไทยๆสูตรเมนทอลที่เราคุ้นเคยกลายเป็นสินค้าไวรัลระดับโลกไปโดยปริยาย



           ยาดม จัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน สำหรับใช้ภายนอก เพื่อบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ คัดจมูก สูดดมเพื่อเพิ่มความสดชื่น 

           ยาดมที่มีจำหน่ายโดยทั่วไป  มีส่วนประกอบ คือ เมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันหอมระเหยและอื่นๆ เช่นน้ำมันสะระแหน่ น้ำมันเขียว น้ำมันกานพลู หรือน้ำมันยูคาลิปตัส และยังมีน้ำมันระเหยยากช่วยในการละลาย เช่น น้ำมันงา น้ำมันแร่ หรืออาจมีสารสกัดจากสมุนไพรบ้าง 

           องค์ประกอบหลักของเมนทอลหรือเรียกว่าเกล็ดสะระแหน่ การบูรและพิมเสน รวมถึงน้ำมันหอมระเหย นี้เอง ที่ทำให้เกิดความรู้สึกเย็น ซ่า ในโพรงจมูก  ทำให้รู้สึกสดชื่น ตื่นตัวได้




องค์ประกอบหลักยาดม

         องค์ประกอบหลักของยาดม ประกอบด้วย เมนทอล การบูร พิมเสนน้ำ และน้ำมันหอมระเหย
        
  • เมนทอล (เกล็ดสะระแหน่) มีกลิ่นหอมเย็น มีประโยชน์ในการขับลม มักใช้แต่งกลิ่นและรสยา มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่อย่างอ่อนๆ ลดการบวมของหลอดเลือดที่จมูก และลดอาการปวด สารนี้เมื่อสัมผัสกับผิวหนังทำให้รู้สึกเย็น แต่ในความเข้มข้นสูงและใช้ติดต่อกัน สารนี้อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณทางเดินหายใจ เมื่อสูดดม และอาจทำให้เกิดปอดอักเสบ
  • การบูร (Camphor) ปัจจุบันเป็นสารสังเคราะห์ มีกลิ่นหอมเย็นฉุน การบูรถูกดูดซึมทางผิวหนังได้ดี และรู้สึกเย็นเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง มีฤทธิ์เป็นยาชาและต้านจุลินทรีย์อย่างอ่อนๆ (เช่นเดียวกับเมนทอล) ใช้ทาเฉพาะที่แก้เคล็ดบวม ขัดยอก แพลง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย และโรคผิวหนัง  นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง 
  • พิมเสน ปัจจุบันเป็นสารสังเคราะห์ ลักษณะเกล็ดแบน มีกลิ่นหอมเย็น มีฤทธิ์กระตุ้นและสงบระบบประสาทส่วนกลาง  ประโยชน์ทางยา ใช้สูดดมแก้ลมวิงเวียน ทาภายนอกแก้เคล็ดขัดยอก





ความเสี่ยงแฝงของ "ยาดม" 


          การใช้ยาดม ไม่ได้มีความเสี่ยงรุนแรง ต่อสุขภาพร่างกายผู้ใช้  หากแต่ควรพิจารณาคำแนะนำ และคำนึงถึงความเสี่ยง ที่จะเกิดจากการใช้ ยาดม ซึ่งมีดังนี้
  • การสูดดมสารเหล่านี้บ่อยๆ อาจทำให้เยื่อเมือกบุทางเดินจมูก ที่สัมผัสกับกลิ่นที่เข้มข้น เกิดการระคายเคืองได้ 
  • ยาดมที่มีเมนทอลความเข้มข้นสูงและใช้ติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณทางเดินหายใจ เมื่อสูดดม และอาจทำให้เกิดปอดอักเสบ
  • หากเป็นโรคเกี่ยวกับโพรงจมูก เช่น ผู้ป่วยโรคโพรงจมูกอักเสบ ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบ และผู้ป่วยที่ติดเชื้อในโพรงจมูก ควรหลีกเลี่ยง เพราะหากสูดดมยาที่เข้มข้นมากๆ อาจทำให้ระคายเคืองมากขึ้น 
  • ยาดมนั้น มีฤทธิ์เพียงช่วยลดอาการได้ชั่วคราวเท่านั้น (อาการ เช่น วิงเวียน ตาลาย หน้ามืด)  ถ้าหากผู้ใช้มีอาการมาก หรือยังเป็นต่อเนื่อง หรือรุนแรงขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์
  • ไม่ควรใช้ยาดมของผู้อื่น ควรใช้เฉพาะของตัวเองเท่านั้น เพราะทำให้เสี่ยงกับการสัมผัสเชื้อปนเปื้อนได้
  • การใช้ ควรสูดดมใกล้ๆ แต่ต้องไม่สัมผัสโดยตรง
  • ไม่ควรให้หลอดยาค้าง (ยัดไว้) ในจมูก เหตุเพราะสารทุกตัวที่ประกอบกันเป็นยาดม ทำให้ระคายเคืองได้เมื่อสัมผัส 
  • ควรเก็บยาในอุณหภูมิห้อง พ้นจากแสงแดด 
  • อ่านวิธีใช้บนฉลากผลิตภัณฑ์ ก่อนใช้ยาดม
  • ดูวันหมดอายุยาเสมอ หากพ้นระยะก็ไม่ควรใช้ต่อ
  • เก็บให้ห่างจากมือเด็ก 
  • เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี ไม่ควรใช้
  • สตรีตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาดม
  • หากใช้ยาดมในรูปแบบของเหลวหรือยาหม่อง ให้ใช้สำลีหรือผ้าเช็ดหน้าแทน
  • หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์พ่นจมูกหากเคยมีอาการผิดปกติของโพรงจมูกมาก่อน เพราะอาจทำให้ระคายเคืองมากขึ้น
  • ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาดม เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคหอบหืด และผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบ
  • อาจเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ยาดมได้ เช่น หากยาดมกระเด็นเข้าตา จะทำให้ดวงตาเกิดการระคายเคืองได้ หรือหากยาดมกระเด็นเข้าปาก จะทำให้ลิ้น และช่องปากเกิดความแสบร้อนได้

การเสพติดยาดม
    สำหรับผู้ที่สูดดมยาดมเป็นประจำแล้ว หากวันไหนไม่ได้สูดดมยาดม แล้วมีอาการอยากสูดยาดม นั่นแสดงถึงความเสี่ยงที่จะเป็นผู้เสพติดยาดม 

 
ข้อมูลจาก อย.  คณะเภสัชฯ มหิดล  สำนักอนามัย กทม.  รพ.เพชรเวช  รพ.วิภาวดี  รพ.พญาไท
 

[Infographic] ดมยาดมบ่อยๆ ...อันตรายหรือไม่

ดมยาดมบ่อยๆ ...อันตรายหรือไม่ ข่าวสารด้านยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด