ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ความต่างของ การอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ กับ การอนุญาตโฆษณา

ความต่างของ การอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ กับ การอนุญาตโฆษณา Thumb HealthServ.net
ความต่างของ การอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ กับ การอนุญาตโฆษณา ThumbMobile HealthServ.net

การอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ กับ การอนุญาตโฆษณา นั้นต่างกัน ง่ายๆ คือ สินค้าต้องขอ อย.เพราะเป็นเรื่องมาตรฐานเบื้องต้น สินค้าที่ไม่มี อย.ไม่ควรซื้อ ส่วนการโฆษณาขึ้นกับแต่ละสินค้าจะทำหรือไม่ก็แล้วแต่ ถ้าโฆษณาไม่ขออนุญาต จะผิดกฏหมาย

ความต่างของ การอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ กับ การอนุญาตโฆษณา HealthServ

การอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ


การอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีหน้าที่ในการควบคุม กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ สมุนไพร วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข และวัตถุเสพติด โดยคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของผู้บริโภค

       อย. จึงมุ่งเน้นในการพิจารณาคุณภาพมาตรฐาน และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพในแต่ละกลุ่ม แล้วนำมาเป็นข้อกำหนดหลักเกณฑ์การผลิต/นำเข้า ของแต่ละผลิตภัณฑ์สุขภาพให้เหมาะสมมากที่สุด ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามประเภทของผลิตภัณฑ์สุขภาพ


      โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงสูง กำหนดให้ผู้ผลิต/นำเข้าจะต้องมาขออนุญาตหรือขึ้นทะเบียน ส่วนที่ความเสี่ยงต่ำให้จดแจ้งผลิตภัณฑ์สุขภาพต่อเจ้าหน้าที่ก่อนผลิต/นำเข้า และจำหน่ายออกสู่ท้องตลาด

 
      ดังนั้น เครื่องหมาย อย. หรือเลขที่แจ้ง หรือเลขทะเบียนของผลิตภัณฑ์ จึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์ที่ให้ผู้บริโภค ทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการปฏิบัติตามกฎหมายในเบื้องต้นแล้ว เช่น มีมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นต้น

     แต่ไม่ได้หมายความรวมถึงได้รับอนุญาตโฆษณาแล้ว

      ซึ่งการมีเครื่องหมาย อย. อยู่บนฉลากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในการใช้เป็นเกณฑ์ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันได้ในระดับหนึ่ง โดยในกรณีที่ไม่พบเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่รับแจ้ง ในผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจได้ทันทีว่าไม่ควรซื้อ เพราะเสี่ยงต่อการได้รับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น
 

 

การอนุญาตโฆษณา


การอนุญาตโฆษณา นอกจากการอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพแล้ว อย. มีหน้าที่กำกับดูแลการโฆษณา การกล่าวอ้างสรรพคุณ คุณประโยชน์ ประสิทธิผล ของผลิตภัณฑ์สุขภาพการตรวจสอบการโฆษณาผ่านสื่อต่าง ๆ ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และอินเทอร์เน็ต เพื่อลดปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายที่อาจเกิดจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สื่อ และพิธีกรผู้ดำเนินรายการ โดยมีหลักเกณฑ์ของการอนุญาตโฆษณา ดังนี้
 
1. ผลิตภัณฑ์ประเภทยา อาหาร เครื่องมือแพทย์ ต้องได้รับอนุญาตจากเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภายในพื้นที่รับผิดชอบ ก่อนการโฆษณา
 
- ยา โฆษณายาแผนโบราณ/ยาแผนปัจจุบันที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ต้องแสดงเลขที่อนุญาตโฆษณา ฆท. xxx/xxxx 
 
- อาหาร โฆษณาคุณประโยชน์/คุณภาพ สรรพคุณอาหาร ต้องแสดงเลขที่อนุญาตโฆษณา ฆอ. xxx/xxxx
 
- เครื่องมือแพทย์ โฆษณาเพื่อประโยชน์ทางการค้า & ส่งเสริมการขาย แม้จะไม่ได้โฆษณาขายเครื่องมือแพทย์โดยตรง ก็ต้องได้รับความเห็นชอบจาก อย. ก่อน ต้องแสดงเลขที่อนุญาตโฆษณา ฆพ. xxx/xxxx
 

2. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และวัตถุอันตราย เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ต้องขออนุญาตโฆษณาแต่จะต้องอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งกำหนดไม่ให้โฆษณาโอ้อวด หลอกลวง เป็นเท็จ หรือทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ
 

3. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและระบบประสาท ยาเสพติดให้โทษ ยาอันตราย และยาควบคุมพิเศษ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ห้ามโฆษณาเพื่อการค้าต่อประชาชนทั่วไป


 
ดังนั้นผลิตภัณฑ์สุขภาพแต่ละประเภทที่มีเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่รับแจ้ง ไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้นผ่านการรับรองให้โฆษณาอย่างถูกต้องตามกฎหมายเสมอไปหรือจะโฆษณาแบบไหนก็ได้ ผู้บริโภคต้องหมั่นสังเกตและรู้ทันโฆษณา โดยตรวจสอบว่าโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่พบตามสื่อสาธารณะนั้นเป็นข้อมูลที่ได้รับอนุญาตด้านเนื้อหาและวิธีการโฆษณาอย่างถูกต้องหรือไม่ โดยสามารถสืบค้นได้จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ได้แก่ www.fda.moph.go.th เลือกหัวข้อ “สืบค้นข้อมูลใบอนุญาตโฆษณา” และคู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพภายใต้การกำกับดูแลของ อย. ทั้งนี้อาจพบโฆษณาด้วยข้อความ ภาพ หรือเสียง ที่สื่อให้เข้าใจอีกอย่างหนึ่งโดยไม่ตรงกับที่ได้รับอนุญาต แต่อ้างว่าได้รับการอนุญาตให้โฆษณาแล้วก็เป็นได้
ความต่างของ การอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ กับ การอนุญาตโฆษณา HealthServ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด