ศูนย์บริการสาธารณสุข 39 ราษฎร์บูรณะ บริการผู้ถือบัตรหลักประกันสุขภาพ
ศูนย์บริการสาธารณสุข 39 ราษฎร์บูรณะ ศูนย์บริการสาธารณสุข 39 ราษฎร์บูรณะ เปิด-ปิด ตามวันและเวลาราชการ โทร. 02-4277949 บริการผู้ถือบัตรหลักประกันสุขภาพ
คลินิกตรวจรักษาโรค หรือคลินิกทันตกรรม สำหรับ บัตรที่ระบุชื่อสถานพยาบาล ดังนี้
1. ศูนย์บริการสาธารณสุข 39 ราษฎร์บูรณะ
ส่งต่อ - โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์
- โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
- โรงพยาบาลตากสิน
- วชิรพยาบาล
facebook
ศูนย์บริการสาธารณสุข 39 ราษฎร์บูรณะ ตารางบริการศูนย์บริการสาธารณสุข 39 ราษฎร์บูรณะ
ตรวจโรคทั่วไป
ตรวจโรคทั่วไป เวลาไห้บริการของ ศบส. 39 เปิดให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00 น. – 12.00 น. เวลา 16.00 น. – 20.00 น. (คลีนิคนอกเวลา) ตรวจรักษาโรคทั่วไปในระดับปฐมภูมิ และให้การพยาบาลเช่น ทำแผล ฉีดยา ตัดไหม พ่นยา เป็นต้น การให้บริการมีคังนี้
- คัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพในผู้รับบริการทุกกลุ่มวัย ผู้ประกอบอาหาร ผู้สมัครงาน
- ตรวจ วินิจฉัยปัญหาความรุนแรงของอาการป่วยในผู้ป่วยโรคทั่วไป โรคเรื้อรัง โรคระบาดตามฤดูกาล
- ให้การรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานแบบองค์รวมอย่างเวชศาสตร์ครอบครัว
- บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ นัดตรวจเจาะเลือดตามข้อบ่งชี้ของโรค
- ประสานส่งต่อโรงพยาบาล ตรวจ รักษา วินิจฉัยเพิ่มเติม กรณีอาการซับซ้อน ฉุกเฉิน
- ออกใบรับรองตรวจสุขภาพ สมัครงาน สมัครเรียน ออกใบพิการ
ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า เปิดให้บริการวันศุกร์
ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า เวลาให้บริการของ ศบส.39 เปิดให้บริการวัน ศุกร์ เวลา 13.00 น. – 16 .00 น. สอบถามโทร. 02-427-7949
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เรบีส์ ไวรัส (Rabies) ทำให้เกิดโรคได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น สุนัข แมว ลิง ชะนี กระรอก ค้างคาว และคน อาการของโรคจะส่งผลต่อระบบประสาทโดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลางและอาจทำให้เสียชีวิต ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มียาที่จะรักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้
ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ได้อย่างไร?
วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การวัคซีนพิษสุนัขบ้าไว้ล่วงหน้าสำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยง ก่อนสัมผัสโรคหรือถูกสัตว์กัด เชื้อไวรัสจะออกมากับน้ำลายสัตว์ที่ป่วยหรือมีเชื้อนี้ ผู้ป่วยมักได้รับเชื้อเนื่องจากถูกสัตว์ที่มีเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้ากัด เชื้อในน้ำลายสัตว์จะเข้าสู่บาดแผล นอกจากสัตว์กัดแล้วยังอาจได้รับเชื้อจากสัตว์ที่มีเชื้อนี้มาข่วน ซึ่งบนเล็บของสัตว์เหล่านี้มักเปื้อนน้ำลายสัตว์ที่อาจเลียเล็บตัวเอง
ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนป้องกัน
เมื่อถูกสัตว์กัด การฉีดวัคซีนกระตุ้นเพียง 1-2 เข็ม ร่างกายก็จะได้ภูมิต้านทานที่สูงพอจะป้องกันโรคอย่างได้ผลและไม่เสี่ยงต่อการแพ้วัคซีน หรือเจ็บปวดจากการฉีดวัคซีนรอบๆ แผล การฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้า จึงเป็นการเตรียมร่างกายให้พร้อมเพื่อต่อต้านโรคพิษสุนัขบ้า โดยฉีดเพียง 3 เข็มภายในระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งวัคซีนนี้สามารถฉีดได้ไม่จำกัดอายุ โดยเฉพาะเด็กที่มักเล่นกับสัตว์และมีโอกาสถูกสัตว์กัด หรือถูกเลียมือที่มีแผลหรือที่ปาก โดยไม่บอกให้ผู้ปกครองทราบ ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ามักมีประวัติถูกสัตว์กัดในช่วงหกเดือนที่ผ่านมาผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดศีรษะ มีอาการทางระบบประสาท มักมีอาการกลัวน้ำและกลัวลมร่วมด้วย โรคนี้ไม่มีทางรักษา ผู้ป่วยทุกรายจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา
คลินิคฝากครรภ์
คลินิคฝากครรภ์ ศบส. 39 เปิดให้บริการ วันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น. โทร. 02-427-7949 คลินิคเบาหวาน
คลินิคเบาหวาน ศบส.39 เปิดให้บริการวันอังคาร และ วันพฤหัสบดี ศุกร์ เวลา 8.00 น. – 12.00 น. การบริการ
- การประเมินอาการก่อนการเป็นเบาหวานและป้องกันอาการของโรคที่อาจเกิดขึ้น
- การตรวจรักษาผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน
- การประเมินและดูแลเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานเช่น โรคแทรกซ้อนทางตา, เท้า
- การให้คำปรึกษาด้านโภชนาการ พฤติกรรม และการดูแลสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวาน
- การให้คำปรึกษาด้านการใช้ยา การประเมินการใช้ยาและรวมถึงการป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น
- การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานสำหรับญาติของผู้ป่วยเบาหวาน
- การออกเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยเบาหวานเพื่อประเมินการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
- การตรวจรักษาและจัดการโรคทางด้านฮอร์โมนอื่นๆ
คลินิควัณโรค เปิดให้บริการวันศุกร์
คลินิควัณโรค เปิดให้บริการวันศุกร์ เวลา 08.00 น – 12.00 น. การให้บริการ
- ให้บริการตรวจเสมหะแก่ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรค
- ให้การดูแลรักษาวัณโรค
- เป็นศูนย์กลางเครือข่ายในการตรวจวินิจฉัยวัณโรค และส่งต่อผู้ป่วยวัณโรคไปรับยาใกลล้บ้าน
- ให้คำปรึกษาเรื่องโรควัณโรค
คลินิกทันตกรรม
คลินิกทันตกรรม ศูนย์บริการสาธารณสุข 39 ราษฎร์บูรณะ โทร. 0-24277949#105 งานบริการทันตกรรม อื่นๆ ที่ดำเนินการ
-งานเคลือบหลุมร่องฟันในโรงเรียน
-ฝึกแปรงฟันในโรงเรียน
-อบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำโรงเรียน
-เคลือบฟลูออไรด์วานิชในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
-สอนทันตสุขศึกษาในชุมชน
-คลินิกทันตกรรมเลิกบุหรี่
-ประกวดสุขภาพฟันผู้สูงอายุ
-ประกวดสุขภาพเด็กฟันดี
-ประกวดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
-โครงการคนกรุงเทพรักฟัน
-โครงการขูดหินปูนในหญิงตั้งครรภ์ฟรี
-กิจกรรมวันทันตสาธารณสุข
-สนับสนุนสื่อทันตสาธารณสุข
-ออกหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่
-เผยแพร่ความรู้ด้านทันตกรรม
คลินิกสุขภาพสตรี (Women’s Health Clinic)
คลินิกสุขภาพสตรี (Women’s Health Clinic) ศบส.39 เปิดให้บริการวันพุธ เวลา 13.00 น. – 12.00 น. ให้บริการดูแลสุภาพสตรีให้คำปรึกษา และตอบคำถาม ตั้งแต่การวินิจฉัย ตรวจรักษาทางด้านนรีเวช รวมถึงดูแลสตรีตั้งแต่เตรียมตัวเป็นคุณแม่ไปจนถึงหลังคลอด เพื่อสร้างความมั่นใจและคลายความกังวล ได้แก่
- สูติ-นรีเวชทั่วไป เช่น ภาวะผิดปกติของการมีประจำเดือน ปวดประจำเดือน ปวดท้องน้อย ตกขาว ฯลฯ
- รักษาผู้มีปัญหานรีเวช ด้วยการผ่าตัดเปิดผนังท้องและผ่าตัดผ่านกล้องรักษาโรคทางนรีเวช เช่น เนื้องอกอวัยวะสืบพันธุ์สตรี การขูดมดลูก
- คลินิกฮอร์โมนสตรี เช่น ฉีดยาคุมกำเนิด
- การป้องกันโรคด้วยวัคซีน เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
- แนะนำให้คำปรึกษาวางแผนครอบครัวตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงานและวางแผนการตั้งครรภ์
- ดูแลการฝากครรภ์ ให้คำปรึกษาการเตรียมตัวสำหรับการเป็นคุณแม่ รวมถึงการคุมกำเนิดวิธีต่างๆ หลังคลอดบุตร
- ตรวจเลือดคัดกรอง ความเสี่ยงภาวะดาวน์ซินโดรม เป็นต้น
การวางแผนครอบครัว
การวางแผนครอบครัว ศบส. 39 เปิดให้บริการวันพุธ เวลา 13.00 น. – 16.00 น.
การวางแผนครอบครัว (Family planning) คือการที่คู่สามีและภรรยามีการร่วมปรึกษาหารือกันวางแผนเกี่ยวกับความถี่หรือห่างของการมีบุตรของครอบครัวโดยอาจใช้วิธีทางธรรมชาติหรือมีการใช้ยาหรืออุปกรณ์ต่างๆเพื่อช่วยให้การวางแผนนั้นๆสำเร็จมากขึ้น
การให้บริการ
- ให้คำปรึกษาการวางแผนครอบครัว
- ให้บริการการคุมกำเนิด 3 วิธี คือ การฉีดยาคุม, การจ่ายยาคุมชนิดเม็ด และ การแจกถุงยางอนามัย
- ให้บริการการตรวจคัดกรองมะเร็งอวัยวะสืบพันธ์ุสตรีในระยะเริ่มต้น
- ให้บริการส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยทองอายุ 45 ปีขึ้นไป
คลินิควัยทอง
คลินิควัยทอง ศบส.39 เปิดให้บริการวันพุธ เวลา 13.00 น. – 16.00 น.
วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนในผู้หญิง จะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 45-55 ปี โดยเฉลี่ยอายุ 50 ปี เมื่อถึงวัยนี้ รังไข่จะหยุดทำงาน และไม่มีการตกไข่อีกต่อไป ทำให้ไม่มีประจำเดือนและไม่มีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงจากรังไข่อีก ทำให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจ ซึ่งผู้หญิงแต่ละคนจะมีอาการมากน้อยแตกต่างกันไป
อาการของวัยทอง
ไม่มีประจำเดือน หรือประจำเดือนมาน้อยวันและไม่สม่ำเสมอ ร้อนวูบวาบตามร่างกายโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย เหนื่อยง่าย ใจสั่นมีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน หนาวสั่นโดยไม่มีสาเหตุ มีปัญหาเรื่องการนอน นอนหลับยากหรือนอนไม่หลับ กระดูกจะบางและเปราะง่าย กระดูกจะหักเมื่อล้มหรือกระแทก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือปวดตามข้อและกระดูก ช่องคลอดแห้ง น้ำหล่อลื่นน้อยลง เจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้ ผิวหนังจะบางลง แห้งและเกิดเป็นแผลได้ง่าย มีอาการคันตามผิวหนัง และผิวหนังเกิดผื่นแพ้ง่าย เส้นผมจะหยาบแห้งและบางลง หลุดร่วงได้ง่าย ไม่ดกดำเป็นเงางาม มีอาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เร็ว เครียดง่าย หงุดหงิดโดยไม่มีสาเหตุ โกรธง่าย ใจน้อย ควบคุมอารมณ์ได้ยาก บางคนหลงลืมง่าย เวียนศีรษะ ซึมเศร้า
คลินิคสุขภาพดี
คลินิกสุขภาพดี (Well Baby Clinic) ศบส.39 เปิดให้บริการวันอังคารและวันพฤหัสบดี ศุกร์ เวลา 13.00 น. – 16.00 น.
คือการพบแพทย์ตามนัดในคลินิกสุขภาพเด็กดีเป็นระยะ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกรักเจริญเติบโตสมวัย พัฒนาการต่างๆก้าวหน้าไปอย่างเหมาะสม โดยมีการให้บริการที่หลากหลายตรงกับแต่ละช่วงวัย ได้แก่
1. ตรวจติดตามการเจริญเติบโต และพัฒนาการ
2. การรับวัคซีน
3. การตรวจคัดกรองโรค และความผิดปกติทางพัฒนาการ
4. การให้คำแนะนำในการเลี้ยงดู
5. การนัดตรวจสำหรับเด็กทั่วไป
เด็กแต่ละวัยมีพัฒนาการ การเจริญเติบโต ความต้องการการดูแล และปัญหาที่พบบ่อยในแต่ละช่วงอายุที่แตกต่างกัน การนัดตรวจจึงมีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ทารกจนถึงวัยรุ่น
นัดครั้งแรก 1-2 สัปดาห์หลังคลอด เนื่องจากทารกอาจมีตัวเหลือง หรือดูดนม จากนั้น กำหนดให้ตรงกับรับวัคซีนคือ 1 เดือน , 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 7-10 เดือน 1 ปี 1 ปีครึ่ง และ 2 ปี ซึ่ง 2 ปีแรกเป็นช่วงที่พบแพทย์บ่อยที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการเติบโตทางร่างกายและพัฒนาการอย่างรวดเร็ว หลัง 2 ปีไปแล้วจะมีนัดอย่างน้อยปีละครั้งไปจนถึงอายุ 15 ปี
การให้บริการพื้นฐาน
1. ซักประวัติ ตอบข้อสงสัยของคุณพ่อคุณแม่
2. การตรวจร่างกาย
3. ชั่งน้ำหนัก, วัดส่วนสูง, เส้นรอบศีรษะ, ประเมินภาวะโภชนาการจากค่าดัชนีมวลกาย และบันทึกค่าที่วัดได้ลงในกราฟ เพื่อประวัติอย่างต่อเนื่อง
4.ติดตามพัฒนาการ
5. รับวัคซีนตามกำหนด
6. ให้คำแนะนำในการเลี้ยงดู
คลินิคความดันโลหิตสูง
คลินิคความดันโลหิตสูง เวลาไห้บริการของ ศบส. 39 เปิดให้บริการวันจันทร์และวันพุธ เวลา 08.00 น – 12.00 น.
โรคความดันโลหิตสูงคือ ภาวะที่แรงดันในหลอดเลือดแดงมีค่าสูงเกินปกติ 140/90 มิลลิเมตรปรอท มีคนจำนวนมากอยู่กับโรคความดันโลหิตสูงโดยที่ไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะนี้ เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่ค่อยปรากฏอาการที่ชัดเจน แต่เมื่อปล่อยนานไปแรงดันเลือดจะไปทำลายผนังหลอดเลือดและอวัยวะที่สำคัญทั่วร่างกาย โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต
สาเหตุ ของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
การรับประทานอาหารที่ไม่ได้สัดส่วน หวาน มัน โดยเฉพาะอาหารที่มีเกลือ (โซเดียม) สูง กินผัก และผลไม้ (รสหวานน้อย) ไม่เพียงพอ มีส่วนที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ถึงร้อยละ 50 การขาดการออกกำลังกาย จะเกิดโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 20 ขณะที่ภาวะอ้วนสัมพันธ์กับการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 30 ยังมีรายงานว่าการดื่มแอลกอฮอล์เกิน การสูบบุหรี่ และการบริโภคไขมันก็มีส่วนเป็นเหตุให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควรงดบุหรี่
ภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัวและถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ ทำให้เกิดหัวใจโต และหัวใจวายได้ในที่สุด อาจเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตัน หรือแตก ทำให้เป็นอัมพาต หรือเสียชีวิตได้ ถ้าเป็นเรื้อรังอาจกลายเป็นโรคความจำเสื่อม สมาธิลดลง เลือดอาจไปเลี้ยงไตไม่พอ เนื่องจากหลอดเลือดเสื่อม ทำให้ไตวายเรื้อรัง และภาวะไตวายจะยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอีก หลอดเลือดแดงในตาจะเสื่อมลงอย่างช้าๆ อาจมีเลือดที่จอตา ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัวลงเรื่อยๆ จนตาบอดได้
การปฏิบัติตน เพื่อหลีกเลี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
เป็นที่แน่ชัดว่าการกินอาหารที่มีเกลือ (โซเดียม) สูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง จึงควรลดการกินเกลือ (โซเดียม) ลงเพิ่มการรับประทานผัก และผลไม้ (รสหวานน้อย)
มีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ กระฉับกระเฉง เริ่มต้นได้ตั้งแต่กิจกรรมเบาๆ ไปจนถึงกิจกรรมปานกลาง เช่น การทำสวน การเดิน และทำงานบ้านจำกัดการบริโภคสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลงให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม หรือไม่ดื่ม งดสูบบุหรี่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่
สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะโรคความดันโลหิตสูง สิ่งที่ควรปฎิบัติ คือ ต้องรับประทานยาสม่ำเสมอ โดยอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ซึ่งยาโรคความดันโลหิตสูงที่ส่งผลการรักษาโดยการลดความดันโลหิต มีผลป้องกันโรคแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจ และโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต