ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เผยปี 62 บริการแพทย์ด้านการรักษาผู้มีบุตรยาก ทำเงินเข้าประเทศกว่า 4,500 ล้านบาท

เผยปี 62 บริการแพทย์ด้านการรักษาผู้มีบุตรยาก ทำเงินเข้าประเทศกว่า 4,500 ล้านบาท Thumb HealthServ.net
เผยปี 62 บริการแพทย์ด้านการรักษาผู้มีบุตรยาก ทำเงินเข้าประเทศกว่า 4,500 ล้านบาท ThumbMobile HealthServ.net

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เผยผลสำรวจปี พ.ศ.2562 ประเทศไทยโกยรายได้จากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์กว่า 4,500 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าพัฒนาสถานพยาบาลรักษาผู้มีบุตรยากทั้ง 102 แห่งทั่วประเทศ ตอบโจทย์คู่สมรส ลดปัญหาอัตราเกิดรองรับสังคมผู้สูงอายุ

 
 
          นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัจจุบัน หลายประเทศมีอัตราการเจริญพันธุ์หรือค่าเฉลี่ยการมีบุตรของผู้หญิงลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยพบว่าสถิติทางสาธารณสุขของอัตราเจริญพันธุ์รวม (Total Fertility Rate - TFR) ของประเทศไทยลดลง เหลือเพียง 1.5 และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ส่งผลให้ในอนาคตประเทศไทยจะประสบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานจากการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้คู่สมรสหลายคู่ต้องหันมาพึ่งพิงเทคโนโลยีทางการแพทย์


          ในจุดนี้ประเทศไทยถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์เป็นอันดับต้นๆของโลก โดยเฉพาะเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาตินั้น จากการสำรวจเชิงสถิติของกรม สบส.พบว่าในปี พ.ศ.2562 การให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 4,500 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมากรม สบส.เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 ก็ได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาศักยภาพสถานพยาบาลที่ให้บริการรักษาผู้มีบุตรยากอย่างต่อเนื่อง


          ขณะนี้มีสถานพยาบาลที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการให้บริการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ทั้งสิ้น 102 แห่ง มีอัตราความสำเร็จในการให้บริการตั้งครรภ์โดยเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 46  มีการให้บริการทำเด็กหลอดแก้วกว่า 20,000 รอบการรักษา การผสมเทียมกว่า 12,000 รอบการรักษา และอนุญาตให้ตั้งครรภ์แทน หรือที่เรียกกันว่าอุ้มบุญแล้วกว่า 400 ราย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นหลักฐานของความสำเร็จ และยืนยันให้เกิดความเชื่อมั่นแก่คู่สมรสว่าการรับบริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์จากสถานพยาบาลไทยจะช่วยให้คู่สมรสสามารถมีบุตรได้ตามที่หวัง ช่วยลดปัญหาอัตราเกิดที่ลดลงรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอนาคต
          ด้านทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส.กล่าวต่อว่า นอกจาก ความก้าวหน้าของวิทยาการแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันทางการแพทย์ของประเทศไทย ได้รับความเชื่อมั่นจากชาวไทยและชาวต่างประเทศ ก็คือการมีกฎหมาย “พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558” ควบคุม กำกับการใช้เทคโนโลยีฯ ให้มีความถูกต้อง เป็นไปตามมาตรฐาน มีการกำหนดสิทธิ์ และคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยเทคโนโลยีฯ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรฐานการบริการให้ดียิ่งขึ้น

          ในกรณีหากมีการกระทำผิด ก็จะมีบทลงโทษผู้กระทำผิดอย่างชัดเจน อาทิ หากผู้ใดรับจ้างอุ้มบุญ มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท ซื้อ-ขายอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อน มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นนายหน้าชี้ช่องทางให้มีการรับตั้งครรภ์แทน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ฯลฯ ซึ่งกรม สบส.อยู่ระหว่างทบทวนปรับแก้กฎหมาย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นำรายได้เข้าสู่ประเทศไปไทย และเพิ่มการเข้าถึงบริการในการรักษาผู้มีบุตรยากต่อไป
 

          ทั้งนี้  หากสถานพยาบาลสนใจขอรับรองมาตรฐาน หรือประชาชนสนใจสอบถามข้อมูล สามารถติดต่อได้ที่กลุ่มคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ หมายเลขโทรศัพท์ 02 193 7000 ต่อ 18418-18419 และสามารถตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการให้บริการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ได้จากเว็บไซต์กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ (https://mrd-hss.moph.go.th)


กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
8 ธันวาคม 2563
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด