ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เทคโนโลยีรถยนต์ขับขี่อัตโนมัติ - ยานยนต์สมัยใหม่ ตอนที่ 2

เทคโนโลยีรถยนต์ขับขี่อัตโนมัติ - ยานยนต์สมัยใหม่ ตอนที่ 2 Thumb HealthServ.net
เทคโนโลยีรถยนต์ขับขี่อัตโนมัติ - ยานยนต์สมัยใหม่ ตอนที่ 2 ThumbMobile HealthServ.net

ในตอนที่ 2 ของยานยนต์สมัยใหม่ (Next Generation Mobility) กล่าวถึง เทคโนโลยีรถยนต์ขับขี่อัตโนมัติ (Autonomous Vehicles) เทคโนโลยีที่ถือว่าเป็นที่สุดของยานยนต์และการขับขี่ในอนาคตอย่างแท้จริง

 
บทความในตอนแรกได้เสนอถึงแนวโน้มการพัฒนายานยนต์หรือรถยนต์สมัยใหม่มี 4 เรื่องหลัก ได้แก่ รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle) รถยนต์ขับขี่อัตโนมัติ (Autonomous Vehicles) รถยนต์เชื่อมต่อกับภายนอก (Connected Vehicle) และการแบ่งปันการใช้รถยนต์ (Car Sharing) รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ โดยในตอนที่สองนี้จะเสนอเรื่องเทคโนโลยีรถยนต์ขับขี่อัตโนมัติ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้ารถยนต์ขับขี่อัตโนมัติ
 
 
รถยนต์ขับขี่อัตโนมัติหรือรถยนต์ไร้คนขับเป็นสิ่งที่อยู่ในจินตนาการของมนุษย์มาสักระยะเวลาหนึ่ง มีตัวอย่างให้เห็นจากโฆษณาของรถยนต์ขับขี่อัตโนมัติในนิตยสาร Boy’s Life ในปีค.ศ. 1956 โดยส่วนใหญ่เราจะคุ้นเคยคำว่า Auto Pilot ซึ่งมีการใช้งานจริงในเทคโนโลยีอากาศยาน สำหรับรถยนต์นั้น เทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติถือว่าเป็นขั้นสูงสุดของระบบช่วยขับขี่ขั้นสูง หรือ Advanced Driver AssistanceSystem (ADAS) โดยสมาคมวิศวกรรมยานยนต์นานาชาติหรือ Society of Automotive Engineers (SAE International) ได้กำหนดมาตรฐานการขับขี่อัตโนมัติได้แก่ SAE Standard J3016 โดยเริ่มตั้งแต่ระดับ 0 สำหรับรถยนต์ไม่มีระบบอัตโนมัติ(No Automation) ซึ่งคนขับต้องทำ หน้าที่ทุกอย่างและไม่มีระบบช่วยเหลือและแบ่งระบบการขับขี่อัตโนมัติออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่
 
 
เทคโนโลยีรถยนต์ขับขี่อัตโนมัติ - ยานยนต์สมัยใหม่ ตอนที่ 2 HealthServ

ระดับที่ 1ระบบช่วยเหลือคนขับ (Driver Assistance)
สำหรับรถยนต์ที่มีระบบช่วยเหลือคนขับในการบังคับพวงมาลัยหรือการควบคุมความเร็วเช่น ระบบการเร่งความเร็วอัตโนมัติ(Automatic Cruise Control) ระบบการช่วยขับขี่อยู่ในช่องจราจรหรือการเปลี่ยนช่องจราจร (Lane Keep/Change Assist) เป็นต้น โดยคนขับยังต้องทำ หน้าที่ควบคุมรถยนต์เกือบทั้งหมด
 
ระดับที่ 2 ระบบอัตโนมัติบางส่วน (Partial Automation) 
สำหรับรถยนต์ที่มีระบบช่วยเหลือคนขับอย่างน้อยหนึ่งระบบหรือมากกว่าในการบังคับพวงมาลัยและการควบคุมความเร็ว เช่น ระบบการหยุดอัตโนมัติในกรณีฉุกเฉิน (Autonomous Emergency Braking) เป็นต้น โดยคนขับยังคงต้องทำ หน้าที่ควบคุมรถยนต์เกือบทั้งหมดบริษัทรถยนต์ส่วนใหญ่มีการติดตั้งและใช้งานจริงในระดับนี้
 
ระดับที่ 3 ระบบอัตโนมัติบนเงื่อนไข (Conditional Automation) 
สำหรับรถยนต์ที่เริ่มมีระบบอัตโนมัติที่สามารถตรวจสอบเส้นทางการขับขี่ เช่น ระบบการขับขี่อัตโนมัติบนทางหลวง (Highway pilot) หรือระบบการสั่งให้ไปจอดรถระยะไกล (Remote parking) ทั้งนี้คนขับยังคงต้องทำ หน้าที่อยู่หลังพวงมาลัย ปัจจุบันรถยนต์บางยี่ห้อติดตั้งระบบเพื่อรองรับในระดับ 3 นี้เช่น บริษัท Tesla เป็นต้น
 
ระดับที่ 4 ระบบอัตโนมัติขั้นสูง (High Automation)
สำหรับรถยนต์ที่มีระบบขับขี่อัตโนมัติโดยที่คนขับไม่ต้องทำหน้าที่ใดๆ เมื่อเข้าสู่ระบบการขับขี่อัตโนมัติแต่ยังทำได้ในบางกรณี เช่น ระบบขับขี่อัตโนมัติภายในเมือง (CityPilot) หรือระบบหาที่จอดรถได้เอง (Valet parking) ทั้งนี้มีหลาย บริษัทที่วางแผนที่พัฒนาให้มีระบบขับขี่อัตโนมัติภายในปีค.ศ. 2020
 
ระดับที่ 5 ระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ (Full Automation) 
สำหรับรถยนต์ที่สามารถขับขี่อัตโนมัติได้ในทุกกรณี(Auto Pilot) เป็นระดับสูงสุด ที่ไม่จำ เป็นต้องมีพวงมาลัยมาบังคับรถอีกต่อไป โดยหลายบริษัทมีแผนที่จะทำ ระบบนี้ให้ได้ภายในปีค.ศ. 2022 เป็นต้นไป โดยปัจจุบันมีหลายประเทศให้การยอมรับในระบบขับขี่อัตโนมัติ เช่น อังกฤษ เกาหลีใต้ และในหลายมลรัฐของสหรัฐอเมริกา โดยหลายประเทศอยู่ระหว่างการกำหนดมาตรฐานและข้อกำหนดความปลอดภัย รวมไปถึงการสนับสนุนทางกฎหมายให้มีการนำร่องการทดสอบบนถนนสาธารณะได้ ขอยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนของเรา ซึ่งมีการสนับสนุนนวัตกิจ (Startups) ที่สามารถวิจัยและพัฒนาระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบอย่างจริงจัง เช่น บริษัท NuTonomy ซึ่งมีการทดสอบรถยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อใช้เป็นรถแท็กซี่บริการไร้คนขับ อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ประเทศไทยของเรายังไม่ได้มีการยอมรับทางกฎหมายหรือการส่งเสริมอย่างจริงจังแต่อย่างใด 
 
 
โดยดร.ยศพงษ์ ลออนวล
นายกสมาคมยานยนต์ไทย
คอลัมน์ คุยกับนายก EVAT เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2561
http://www.evat.or.th/17075081/ev-articles

Photo: Daniel Lawrence Lu 
เทคโนโลยีรถยนต์ขับขี่อัตโนมัติ - ยานยนต์สมัยใหม่ ตอนที่ 2 HealthServ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด