การปลูกถ่ายอวัยวะในปัจจุบัน เป็นวิธีการรักษาที่ช่วยต่อชีวิตใหม่ให้แก่ผู้ป่วยที่หมดหวังที่จะรักษาด้วย วิธีการอื่นๆ เพื่อให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ปัจจัยสำคัญที่สุดในการรักษานี้คือ การให้ได้มาซึ่งอวัยวะบริจาคจากผู้เสียชีวิตในประเทศไทย
แต่ละปีคาดคะเนว่ามีผู้เสียชีวิตที่อยู่ในเกณฑ์บริจาคอวัยวะได้เกือบ 2,000 คน แต่ในความเป็นจริงยังมีข้อจำกัดในการนำอวัยวะบริจาคจากผู้เสียชีวิตมาใช้ รักษาผู้ป่วยอยู่มาก
อุปสรรคที่สำคัญคือ การขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะภายหลังที่เสียชีวิตแล้ว ทั้งในวงการแพทย์และสาธารณชน การส่งตัวผู้ป่วยที่เสียชีวิตแล้วจากโรงพยาบาลนอกปริมณฑล กรุงเทพมหานคร รวมทั้งการประสานงานระหว่างสถาบันต่างๆ ทำให้อวัยวะที่ได้มาต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์
อุปสรรคดังกล่าว นอกจากเป็นสาเหตุให้เกิดการสูญเสียอวัยวะบริจาค อันเป็นทรัพยากรทางการแพทย์ที่สำคัญเป็นจำนวนมากแล้วยังเป็นการเปิดโอกาสให้ เกิดความเหลื่อมล้ำ ในการนำอวัยวะบริจาคไปใช้ในการรักษา ตลอดจนอาจนำไปสู่การซื้อขายอวัยวะในที่สุด
การก่อตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะ
สภากาชาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าเป็นการสมควรที่จะเข้า มาช่วยเหลือโดยเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการ เพราะเป็นองค์กรกลางการกุศล ได้รับความไว้วางใจจากสาธารณชนและวงการแพทย์ จึงได้เริ่มเสนอโครงการจัดตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะแห่งสภากาชาดไทย โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการจัดตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2531 และคณะกรรมการฯ นี้ได้มีการประชุมร่วมกับแพทย์จากสถาบันต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
หลังจากนั้นได้เสนอโครงการจัดตั้งศูนย์ฯ ต่อคณะกรรมการเจ้าหน้าที่ และได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2531 จากนั้นเสนอให้คณะกรรมการสภากาชาดไทยรับทราบเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2531
ต่อมาได้มีคำสั่งจัดตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะแห่งสภากาชาดไทย เป็นการภายในในสังกัดของสำนักงานกลาง เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2533 แต่เนื่องจากยังขาดสถานที่ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น
ในช่วงปี พ.ศ.2536 อันเป็นโอกาสครบรอบร้อยปีสภากาชาดไทย สภากาชาดไทยได้จัดตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะ และแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ฯ ขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2536 โดยมี พลตำรวจเอก เภา สารสิน เป็นประธานกรรมการ และในต้นปี พ.ศ. 2537 ได้จัดหาสถานที่ทำการของศูนย์ฯ และได้เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 [
เกี่ยวกับศูนย์ฯ]
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้มีการบริจาคอวัยวะให้มากเพียงพอต่อการปลูกถ่ายอวัยวะภายในประเทศ จัดสรรอวัยวะที่ได้รับบริจาคอย่างเป็นกลาง เสมอภาค โดยไม่มีการซื้อขายอวัยวะและให้ได้รับประโยชน์สูงสุดต่อการนำอวัยวะต่าง ๆ ไปใช้
วิสัยทัศน์ของศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย เป็นศูนย์บริการอวัยวะและเนื้อเยื่อระดับชาติ โดยเป็นองค์กรหลักที่มุ่งดำเนินการเพื่อให้มีการบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่ออย่างเพียงพอต่อการปลูกถ่ายอวัยวะภายในประเทศ มีการจัดสรรด้วยความเป็นธรรมและเป็นที่ยอมรับของวงการแพทย์และสังคม ภายใต้คุณภาพและการบริหารงานในระดับมาตรฐานสากล ตลอดจนมุ่งมั่นที่จะยกระดับสู่ความเป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชีย
พันธกิจ 1.) กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการบริการอวัยวะและเนื้อเยื่อของประเทศ ประสานงาน ร่วมมือกับเครือข่ายปลูกถ่ายอวัยวะในระดับภูมิภาคและระดับโลก 2.) ระดมการบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่ออย่างเพียงพอ ด้วยการให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจสำหรับประชาชน โดยส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีจิตสำนึกที่ดีต่อการบริจาคอวัยวะ และให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเครือข่ายการบริจาคอวัยวะทั่วประเทศ 3.) กำกับดูแลการบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อตามบทบาทที่กฎหมายและแพทยสภากำหนด เพื่อให้มีธรรมาภิบาล เป็นไปตามหลักวิชาการและหลักจริยธรรมสากล โดยไม่มีการซื้อขายอวัยวะเพื่อเป็นช่องทางทางการค้า และไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริจาค 4.) พัฒนาระบบการบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อให้มีการบริหารจัดการเอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำ โดยจัดสรรอวัยวะอย่างเป็นธรรม เสมอภาค โปร่งใส ตรวจสอบได้ และถูกต้องตามหลักวิชาการพร้อมให้การสนับสนุนกระบวนการบริจาค และปลูกถ่ายอวัยวะ รวมทั้งพัฒนาระบบเฝ้าระวังและติดตามผลการปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อ
โรงพยาบาลสมาชิก
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ มีโรงพยาบาลสมาชิก หลายระดับ และจำแนกตามประเภทอวัยวะที่สามารถเพื่อปลูกถ่ายได้ (ไต ตับ ตับอ่อน หัวใจ ปอด) ประเภทสมาชิก แบ่งเป็น
- โรงพยาบาลสมาชิกสามัญ หมายถึง โรงพยาบาลสมาชิกที่พร้อมทำการปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้บริจาคที่มีชีวิตและผู้บริจาคสมองตาย
- โรงพยาบาลสมาชิกวิสามัญ หมายถึง โรงพยาบาลสมาชิกที่พร้อมทำการปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้บริจาคที่มีชีวิต
- โรงพยาบาลสมาชิกสมทบ หมายถึง โรงพยาบาลที่สมัครเป็นสมาชิกศูนย์รับบริจาคอวัยวะ ซึ่งคณะกรรมการวิชาการศูนย์รับบริจาคอวัยวะพิจารณาแล้วเห็นว่า ยังมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน
- โรงพยาบาลสมาชิกสามัญฯ เพื่อปลูกถ่ายไต จำนวน 27 แห่ง (รพ.เอกชน 7 แห่ง)
- โรงพยาบาลสมาชิกสามัญฯ เพื่อปลูกถ่ายตับ จำนวน 10 แห่ง (รพ.เอกชน 4 แห่ง)
- โรงพยาบาลสมาชิกสามัญฯ เพื่อปลูกถ่ายหัวใจ หัวใจและปอด ปอด จำนวน 5 แห่ง (รพ.เอกชน 1 แห่ง)
- โรงพยาบาลสมาชิกสามัญฯ เพื่อปลูกถ่ายไตและตับ จำนวน 4 แห่ง (รพ.เอกชน 1 แห่ง)
- โรงพยาบาลสมาชิกสามัญฯ เพื่อปลูกถ่ายไตและตับอ่อน จำนวน 3 แห่ง
- โรงพยาบาลสมาชิกสามัญฯ เพื่อปลูกถ่ายตับอ่อน จำนวน 4 แห่ง
- โรงพยาบาลสมาชิกวิสามัญฯ เพื่อปลูกถ่ายไต จำนวน 3 แห่ง
- โรงพยาบาลสมาชิกสมทบฯ เพื่อปลูกถ่ายไต จำนวน 13 แห่ง (รพ.เอกชน 5 แห่ง)
สรุปรายงานการปฏิบัติงาน 2550-2566
ปี |
ผู้บริจาค/สะสม |
ผู้ป่วยรอ/สะสม
*จำนวนสะสมไม่ใช่จำนวนรวม แต่หักจำนวนผู้เสียชีวิตระหว่างรอ |
ผู้ได้รับการปลูกถ่าย |
แสดงความจำนงบริจาค |
2550 |
93
สะสม 932 |
811
สะสม 2,241 |
201 |
38,127 |
2551 |
81
สะสม 1,025 |
1,349
สะสม 2,392 |
201 |
36,740 |
2552 |
87
สะสม 1,106 |
659
สะสม 2,469 |
219 |
42,065 |
2553 |
87
สะสม 1,193 |
777
สะสม 2,717 |
215 |
41,232 |
2554 |
113
สะสม 1,280 |
970
สะสม 3,166 |
276 |
45,938 |
2555 |
136
สะสม 1,393 |
1,176
สะสม 3,156 |
334 |
47,182 |
2556 |
158
สะสม 1,529 |
1,231
สะสม 4,081 |
376 |
40,608 |
2557 |
188
สะสม 1,687 |
1,254
สะสม 4,431 |
432 |
38,571 |
2558 |
206
สะสม 1,875 |
1,405
สะสม 5,018 |
463 |
46,640 |
2559 |
220
สะสม 2,081 |
1,612
สะสม 5,581 |
512 |
55,881 |
2560 |
294
สะสม 2,375 |
1,471
สะสม 5,851 |
670 |
89,636 |
2561 |
261
สะสม 2,636 |
สะสม 6,401 |
585 |
100,014 |
2562 |
301
สะสม 2,937 |
สะสม 6,417 |
685 |
109,392 |
2563 |
315
สะสม 3,252 |
สะสม 5,735 |
697 (+12) |
126,400
สะสม 1,277,173 |
2564 |
190
สะสม 3,442 |
สะสม 5,817 |
429 (-268) |
135,619
สะสม 1,412,792 |
2565 |
303
สะสม 3,745 |
สะสม 6,279 (+1,273) |
677 (+248) |
105,743 (-29,876)
สะสม 1,518,535 |
2566 |
446
สะสม 4,191 |
สะสม 6,634 (+1,981) |
936 (+259) |
127,934 (+22,191)
สะสม 1,646,469 |
References
จำนวนผู้บริจาคอวัยวะ ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 – 31 มีนาคม 2567
จำนวนผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 – 31 มีนาคม 2567
จำนวนผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 – 31 มีนาคม 2567
เปรียบเทียบผู้รออวัยวะ ผู้บริจาค ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่าย ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 – 31 มีนาคม 2567
จำนวนผู้ลงทะเบียนรอรับอวัยวะ ณ 31 มีนาคม 2567